Page 78 - kpiebook65022
P. 78

แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปมาก และหลายประเทศสามารถน าพลาสติกสะอาดกลับมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์
               ส าหรับอาหารและเครื่องดื่มได้แล้ว คณะกรรมการชุดนี้จะเข้าไปพิจารณาแก้ไขส่วนนี้ และในระดับประชาชน

               มีจังหวัดระยองที่ด าเนินกิจกรรมรับซื้อคัดแยกพลาสติกเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์],
               5 พฤษภาคม 2564)

                       อย่างไรก็ดี แม้ผู้วิจัยจะจ าแนกประเด็นความส าเร็จที่พบตามประเด็นทรัพยากร แต่จะเห็นได้ว่า
               ความส าเร็จในการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลมานั้นเกิดจากความรู้สึกไม่ยุติธรรมในการได้รับ
               จัดสรรประโยชน์และได้รับผลกระทบจากทรัพยากร จนเป็นที่มาให้เกิดการเคลื่อนไหว หลายกรณีจึงอาจ

               จัดแบ่งเข้ากับประเด็นด้านยุติธรรมสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

               4.3 สถานการณ์การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

                      ส่วนก่อนหน้านี้เป็นข้อค้นพบด้านวิวัฒนาการการเคลื่อนไหวด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมจ าแนกตาม
               ประเด็นสิ่งแวดล้อม กับการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาที่ประสบความส าเร็จ ซึ่งสะท้อนวิวัฒนาการการเมือง
               สิ่งแวดล้อมไทยในอดีต ในส่วนนี้จึงเป็นการน าเสนอให้เห็นสถานการณ์ในปัจจุบันที่พบว่าประเด็นสิ่งแวดล้อม

               บางเรื่องที่ยังคงอยู่เนื่องจากมีอุปสรรคทั้งในเชิงนโยบาย ตลอดจนบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ที่อาจท าให้บาง
               ภาคส่วนมีอิทธิพลในการตัดสินใจและเข้าร่วมในการด าเนินการทางนโยบายได้น้อย ซึ่งควรมีแนวทางแก้ไขที่
               เหมาะสม ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                      4.3.1 อุปสรรคที่ส่งผลให้การขับเคลื่อนไม่ประสบผลส าเร็จ

                      จากการสัมภาษณ์ พบว่า อุปสรรคที่ส่งผลให้การเมืองสิ่งแวดล้อมสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนไม่ประสบ
               ความส าเร็จในประเทศไทย เกิดจากอุปสรรคหลายประการ ทั้งในเชิงภาพรวม ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และ
               ภาควิชาการ ดังข้อค้นพบต่อไปนี้

                            4.3.1.1 อุปสรรคในภาพรวมทั้งประเทศ


                            ในภาพรวมของการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น พบอุปสรรคในภาพรวมทั้ง
               ประเทศ ได้แก่ มุมมองในการพัฒนา ระบบข้อมูลและองค์ความรู้ และการสร้างพื้นที่กลางร่วมกัน

                            ในส่วนของมุมมองในการพัฒนา พบว่า เป็นปัญหาทั้งในระดับนโยบายและระดับประชาชนเอง
               ที่ขาดมุมมองในการพัฒนาที่ไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน เน้นทุนนิยมเป็นหลัก ท าให้นโยบายหรือการด าเนินโครงการ
               ของรัฐบาล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชาชน ดังปรากฎให้เห็นบ่อยครั้ง หรือแม้เขียนไว้

               เป็นนโยบายก็ไม่อาจท าได้ส าเร็จ เพราะทุกภาคส่วนยังขาดความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างผู้ให้
               สัมภาษณ์กล่าวว่า กรณีการสร้างท่าเรือในสมัยของยุค คสช. ซึ่งมีแบบของท่าเรืออยู่แล้ว และไม่ได้ต้องการจะมี
               แค่ท่าเรือในเฟส 3 แต่ต้องการที่จะมีท่าเรือในเฟส 4 และ 5 ซึ่งแย่งพื้นที่ไปทั้งหมด (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5
               [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) ซึ่งในนโยบายหรือการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ไม่ได้มีการประเมินผล

               กระทบที่รอบด้าน เพราะค านึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การประเมินผล
               กระทบโครงการทางด้านเศรษฐกิจ อาจบอกว่าไม่มีปัญหาเมื่อมีโครงการนี้ เพราะท าให้คนมีงาน แต่คนที่เป็น
               ชาวประมงมาตลอดชีวิต เขามีความรู้ และภูมิใจในความเป็นชาวประมง แต่กลับต้องกลายมาเป็นพนักงาน
               รักษาความปลอดภัยในโครงการเหล่านั้น และต้องฟังค าสั่งเจ้านาย เปรียบเทียบให้เห็นว่าคุณค่าทางด้านจิตวิญญาณ

               ระหว่างการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย กับเป็นชาวประมงอะไรมันจะดีกว่ากัน การยึดมิติทางด้าน


                                                            65
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83