Page 89 - kpiebook65022
P. 89

รับผิดชอบอยู่มาก และยังขาดแคลนบุคลากร องค์ความรู้ในการด าเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องนั้น ๆ บางท้องถิ่น
               ยังไม่ร่วมมือเท่าที่ควร จึงท าให้การท างานระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกันเองยังไม่เชื่อมต่อ (ภาคเหนือ [สนทนา

               กลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)

                            หรือตัวอย่างกรณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ไม่อาจบูรณาการแก้ไขปัญหาในระดับ
               ท้องถิ่นได้ เพราะท้องถิ่นบางแห่งยังขาดศักยภาพ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า น้ าเสียและขยะที่องค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดการ ปัจจุบันประเทศไทยมี อปท.ประมาณ 7,000 แห่ง เป็น อปท.ที่มีระบบการ
               จัดการขยะมูลฝอยประมาณ 2,600 แห่ง แต่มีที่จัดการถูกต้องตามหลักวิชาการเพียงร้อยละ 15 ของทั้งหมด

               เท่านั้น อปท.ที่เหลือจึงไม่มีระบบจัดการ หรือไม่สามารถด าเนินการให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีน้ าเสีย
               ที่มีแต่จะขาดทุน และเราต้องใช้งบประมาณสูง อปท.ยิ่งไม่มีงบประมาณที่จะท า นอกจากนี้ ในกรณีการสร้าง
               โรงงานก าจัดขยะ อปท.หลายแห่งยังด าเนินการไม่ได้ เพราะมีขยะไม่พอที่จะป้อนเข้าโรงงาน ซึ่งต้องอาศัย
               ความร่วมมือจากหลาย อปท. เพื่อใช้โรงงานร่วมกัน เช่น ความต้องการของโรงงานขยะ 300 ตันต่อวัน อปท.

               ขนาดเล็กอาจต้องร่วมกันมากกว่า 10 แห่ง และ อปท.ทั้ง 10 แห่งจะท างานร่วมกันได้อย่างไร (ผู้ทรงคุณวุฒิ
               12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564)

                            ในส่วนการบูรณาการเพื่อพัฒนาระหว่างรัฐและเอกชน กฎระเบียบก็เป็นอุปสรรคอีกเช่นกัน
               ท าให้รัฐไม่อาจท างานร่วมกันกับภาคเอกชนและประชาชนในแบบหุ้นส่วนได้ จนไม่เป็นการเคลื่อนไหวร่วมกัน
               เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังตัวอย่างที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กรณีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs

               ประเทศไทยมีกรรมการระดับชาติ แต่ปัญหาคืออ้างอิงตามระเบียบส านักนายกฯ ซึ่งมีข้อจ ากัดที่สภาพัฒนา
               เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่ยังไม่ค่อยประสบความส าเร็จมากนักเพราะรูปแบบ
               การท างาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ของภาครัฐ ท าให้การท างานร่วมกับภาคเอกชนไม่เกิดขึ้น จึงเป็นข้อกังวลว่า

               สุดท้ายแล้วภาคเอกชนอาจไปร่วมกับภาคประชาชนโดยไม่สนใจภาครัฐอีก ส่วนภาครัฐจะกลายเป็นผู้ที่คอย
               ข้อมูลจากภาคเอกชน และภาคประชาชน แล้วน าเสนอเป็นผลงาน สิ่งที่เรียกว่าหุ้นส่วนการท างานก็ไม่เกิดขึ้น
               เพราะเป็นการท างานแบบต่างคนต่างท า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)

                            ในส่วนของความพยายามบูรณาการ ประเทศไทยได้มีความพยายามในการแก้ปัญหา ด้วยการ
               ตั้งคณะกรรมการด้านทรัพยากรในหลายชุด ยกตัวอย่าง ตัวอย่างการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ า

               ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ าแล้ง น้ าท่วม น้ าเสีย เป็นการแก้ไขปัญหาแบบแยกส่วน
               ประเทศไทยไม่เคยมีการจัดท าแผนที่ภาพรวมที่ระบุต าแหน่งพื้นที่ประสบปัญหาน้ าแล้ง น้ าท่วม และน้ าเสีย
               ในระดับความรุนแรงต่าง ๆ ทุกหน่วยงานจึงได้วางแผนงานในการแก้ไขปัญหาตามภารกิจ รวมทั้งไม่มีกฎหมาย
               ก าหนดหน้าที่ของหน่วยงานในการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ าไว้เป็นการเฉพาะ

               ท าให้การด าเนินการของหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ า 40 หน่วยงาน ใน 13
               กระทรวง ขาดความเป็นเอกภาพ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564) ซึ่งปัจจุบัน ผู้ให้
               สัมภาษณ์คนดังกล่าวให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยมีกฎหมายกลางด้านทรัพยากรน้ า และมีการตั้งคณะกรรมการ
               ทรัพยากรน้ าแห่งชาติขึ้น จะช่วยแก้ปัญหาบูรณาการทรัพยากรน้ าระหว่างหน่วยงานได้

                            อย่างไรก็ดี ผู้ให้สัมภาษณ์อีกท่านหนึ่งมีความเห็นที่แตกต่างกัน ที่แม้จะมีกฎหมายกลางเพื่อ

               บริหารจัดการทรัพยากรน้ าร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน แต่คงไม่อาจแก้ปัญหาการบูรณาการเพื่อแก้ไข
               ปัญหาได้ โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องน้ า ก็ตั้งส านักทรัพยากรน้ าแห่งชาติขึ้นมา
               แต่หน่วยงานที่ได้รับหน้าที่ในการดูแลทรัพยากรน้ ากลับอยู่ตามกระทรวงอื่น แต่ไม่ตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ า
               ขึ้นมา แล้วดึงบุคลากรจากกรมชลประทาน กรมการเกษตร กรมน้ า กรมน้ าบาดาล จากกระทรวงวิทยาศาสตร์



                                                            76
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94