Page 92 - kpiebook65022
P. 92

เป็นตัวแทนขององค์กรภาคประชาสังคมแล้วจะเกิดค าถามว่าใครเป็นตัวแทน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8
               กุมภาพันธ์ 2564)

                            มีภาพลักษณ์ถูกมองว่าเคลื่อนไหวเพื่อขัดขวางการพัฒนา

                            ภาคประชาสังคม ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะปฏิเสธโครงการของรัฐ

               จึงท าให้ถูกมองเสมอว่าเคลื่อนไหวเพื่อขัดขวางการพัฒนาหรือรับเงินจากต่างชาติ เพื่อท าให้ประเทศไทยเสีย
               ประโยชน์ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐยังมีมุมมองอคติต่อภาคประชาสังคม ถึงขั้นที่ว่าภาค
               ประชาสังคมรับเงินจากต่างชาติ หรือมีวาระแอบเพื่อที่คัดค้านโครงการแล้วส่งผลให้ใครได้หรือเสียประโยชน์
               เพราะตนไม่ได้เดือดร้อนแต่กลับร้องเรียนแทนชาวบ้าน กลุ่มเหล่านี้จึงถูกมองเป็นนักร้องเรียนเพราะเมื่อเกิด

               กรณีส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเดิมที่ร้องเรียนหรือท าให้หน่วยงานรัฐยุ่งยาก คนทั่วไปจึงมักมองว่าคนเหล่านี้เป็น
               พวกค้านตลอด (ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์
               2564) ในทางตรงกันข้าม ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่าการเคลื่อนไหวของประชาสังคมบางกลุ่มก็ท าให้เขาได้
               ประโยชน์เช่นกัน เพราะผลของการเคลื่อนไหวจะมีส่วนส าคัญในการแย่งชิงทรัพยากร เห็นได้ว่าบางเรื่องที่

               เกี่ยวกับทรัพยากรการเคลื่อนไหวคัดค้านมีไม่มากนัก ดังกรณีตัวอย่างบางกลอยที่ส่วนใหญ่มีกลุ่มที่สนับสนุน
               ทั้งกลุ่มสิทธิมนุษยชน กลุ่มนักวิชาการสายสังคม และเอ็นจีโอ ซึ่งกลุ่มเอ็นจีโอก็พัฒนาขึ้นและบางส่วนได้ไปเป็น
               ที่ปรึกษาและกรรมาธิการชุดต่าง ๆ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564) อย่างไรก็ดี ผู้ให้สัมภาษณ์
               เห็นว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมก็ยังให้ผลดีเพราะท าให้สาธารณะได้รับรู้ว่ามีประเด็นอะไร

               เคลื่อนไหวอยู่ในสังคมบ้าง แม้จะถูกมองว่าชอบร้องเรียน แต่ก็ท าให้เกิดประเด็นขึ้นมา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4
               [สัมภาษณ์], 8 พฤษภาคม 2564)

                            ขาดการเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับสิ่งแวดล้อม

                            ส าหรับการเชื่อมโยงประเด็นการเมืองกับประเด็นสิ่งแวดล้อมของภาคประชาสังคม พบว่า
               บางส่วนยังขาดความเข้าใจว่า การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้น ควรอยู่ภายใต้การเมืองใน

               แบบประชาธิปไตย บางส่วนปฏิเสธการเข้าร่วมในเวทีนโยบายเมื่อผู้เชื้อเชิญเป็นฝ่ายที่มีความคิดเห็นทางการ
               เมืองต่างกัน ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมต้องเป็นการขับเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรื่อง
               ประชาธิปไตย เช่น หากเคลื่อนไหวด้านพลังงาน แต่กลับสนับสนุนกลุ่มเผด็จการก็ถือว่าจบ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
               [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) หรือบางกรณี ภาคประชาสังคมบางกลุ่มไม่เข้าร่วมในเวทีนโยบายของรัฐ
               เพราะเห็นว่ามาจากรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงปฏิเสธที่จะไปเข้าร่วมกับพรรคการเมืองนั้น

               พรรคการเมืองนี้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองแบบนี้ยิ่งท าให้พื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมแคบลง
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)

                            อย่างไรก็ดี มีความไม่เห็นด้วยของผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มต่อการเมืองที่จะส่งผลต่อความ
               ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพราะเห็นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็ไม่อาจน าพาไปสู่ความยั่งยืนได้ โดย

               เห็นว่า ความยั่งยืนจะประสบผลส าเร็จหรือไม่ ไม่จ าเป็นต้องอยู่ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะ
               ประเทศไทยที่เป็นประชาธิปไตยแต่เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ไม่มีความส าเร็จอะไรเลย การเมืองการปกครองทุกระบบ
               สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้ เช่น เผด็จการคอมมิวนิสต์ที่ประเทศจีนก็ปรับพื้นที่เป็นสีเขียวได้แล้ว
               ความส าเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการปกครองแต่ขึ้นอยู่กับจิตส านึกของประชาชนมากกว่า เพราะคนไทยท าอะไร

               สบาย ๆ คือไทยแท้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564) ซึ่งลักษณะคนไทยที่ท า
               อะไรตามใจตนเองเป็นเหตุหนึ่งท าให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายอย่างยังคงอยู่




                                                            79
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97