Page 96 - kpiebook65022
P. 96
ร้อยปีในแก่งกระจานต้องได้รับการดูแล กลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอท ากินในรูปแบบที่เป็นของเขาเอง คือ ท าไร่
หมุนเวียนแล้วถอนออกจากพื้นที่ไร่หมุนเวียนที่ท าไว้เป็นเวลา 7-10 ปี ซึ่งขัดกับนโยบายและการบริหารจัดการ
ของรัฐว่าคนหนึ่งต้องมีพื้นที่ดินเพียงแค่ทีเดียว (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
หรือกรณีการทวงคืนผืนป่า ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่ควรไปด าเนินการ
กับกลุ่มนายทุนไม่ใช่กับคนเล็กคนน้อย และขณะทวงคืนผืนป่าเพื่อให้ได้ร้อยละ 40 จากแต่ละจังหวัดแต่แล้ว
กลับไปท าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) โดยขยายพื้นที่ท าสิทธิพิเศษชายแดนทั้งหมดจากตอนประกาศเมื่อ
ปี พ.ศ.2558 ไปอีกประมาณ 3.8 ล้านไร่ ซึ่งเป็นที่ดินชาวบ้าน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม
2564)
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นเพิ่มเติมว่าการให้ค านิยามตามกฎหมายป่าไม้อาจท าให้เกิด
ความขัดแย้งเรื่องที่ดินกับป่าไม้มากขึ้น โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ปัจจุบันมีประมาณ 10 ล้านคนในประเทศไทย
ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เรียกว่าป่าตามกฎหมาย คือ ไม่มีต้นไม้แต่ถูกเรียกเป็นป่า เพราะการนิยามป่าตาม
กฎหมายป่าไม้ คือ พื้นที่ยังไม่มีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น หากที่ดินใดยัง
ไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินถือเป็นป่าไม้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
กรณีทรัพยากรน า
ประเด็นวิกฤตยาวนานกรณีทรัพยากรน้ า พบว่า มีหลายโครงการที่รัฐด าเนินการอยู่
ยกตัวอย่างเช่น โครงการผันน้ าโขง เลย ชี มูล ที่รัฐก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาน้ าแล้งและน้ าท่วมในพื้นที่ภาค
อีสานแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ ดังเห็นได้จากสรุปจากจดหมายเปิดผนึกโดยเครือข่าย
นักวิชาการลุ่มน้ าโขงอีสานถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ว่าตั้งแต่เริ่มการพัฒนาโครงการโขง
ชี มูล มาตลอดระยะเวลา 30 ปี ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน
หรือโครงการฝายกุมวาปี จังหวัดอุดรธานี และการพัฒนาหนองหานกุมภวาปี ซึ่งมีการก่อสร้าง
คันดินโดยรอบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน แต่กลับส่งผลกระทบน้ าท่วมขังต่อที่นาของประชาชนโดยรอบ
ซึ่งประชาชนเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่มีประโยชน์ เพราะงบประมาณลงทุน ค่าก่อสร้าง และค่าขุดลอก
ประมาณสองพันล้านบาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการสูบน้ าที่มีมูลค่าสูง แต่สถานีสูบน้ าของโครงการก็ไม่สามารถ
ใช้การได้และโครงการยังส่งผลกระทบในเชิงลบต่อประชาชนและระบบนิเวศมากกว่าผลในเชิงบวก
หรือการก่อสร้างประตูระบายน้ าห้วยหลวง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการโขง ชี มูล ก็ท าให้เกิด
น้ าเน่าเสียบริเวณพื้นที่ชุมชนซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูระบายน้ า และการปิดตายบันไดปลาโจน ส่งผลให้ปลา
ไม่สามารถขึ้นมาวางไข่ได้ โดยปัจจุบัน กลุ่มเครือข่ายฯ ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมี
ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการอย่างแท้จริง เนื่องจาก รัฐบาลได้เริ่มด าเนินงานก่อสร้างในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับโครงการโขง ชี มูล ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วเดิมบางส่วน ซึ่งกลุ่มเครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วยตามกรอบ
แนวคิดในการพัฒนาโครงการโขง ชี มูล ของรัฐบาล ที่ใช้เพียงหลักวิชาการทางด้านวิศวกรรมในการแก้ไข
ปัญหา
หรือตัวอย่างเขื่อนราศีไศล ที่รัฐบาลใช้งบประมาณชดเชยผลกระทบเบื้องต้น จนถึงปี พ.ศ. 2562
เป็นเงินประมาณ 2,527 ล้านบาท ขณะที่งบประมาณค่าก่อสร้างเขื่อนฯ เพียง 871 ล้านบาท
หรือโครงการประตูระบายน้ าศรีสองรัก ที่ใช้งบประมาณในการเวนคืนที่ดินสูง ท าให้ค่าลงทุน
น้ าต่อลูกบาศก์เมตร มีมูลค่าสูง ซึ่งกลุ่มเครือข่ายฯ มีความเข้าใจว่าการคิดค่าใช้น้ า ตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ า
83