Page 94 - kpiebook65022
P. 94

4.3.2.1  มลพิษ

                             กรณีมลพิษ พบว่า น้ าเสียและอากาศพิษจากโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลต่อ
               สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ดังเช่นผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งกล่าวถึงตัวอย่างอ าเภอบ้านค่าย จังหวัด

               ระยอง ที่มีการประกาศเขตระยองเป็นเขตอุตสาหกรรม แม้มีมาตรการออกมาแต่ฝุ่นหรือสารพิษที่ออกมาทาง
               อากาศได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของชาวระยอง ดูได้จากสถิติการเจ็บป่วยของชาวระยอง อันเนื่องมาจาก
               สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) หรือกรณีฝุ่น
               PM 2.5 ในเขตเมือง ไฟป่า เผาไร่เพื่อการเกษตร เป็นปัญหาที่ยังขาดการแก้ไขปัญหาจริงจัง รวมทั้ง ปัญหาขยะ

               ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานแต่คนยังขาดความตระหนัก หากพิจารณาตัวเลขมลพิษกับการบ าบัดจะเห็นได้ว่าต่างกัน
               มาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564;
               ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564) เช่นเดียวกันกับผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเห็นว่าปัญหา PM 2.5
               เป็นปัญหาใหญ่ทั้งในเชิงการด าเนินงานและผลกระทบของปัญหา โดยกล่าวว่า มีการตั้งเป้าหมายของ

               หน่วยงานเพื่อจัดการปัญหา PM 2.5 เช่น พฤติกรรมการเผาไหม้เริ่มรุนแรงตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จังหวัดในพื้นที่
               รับผิดชอบต้องมีจ านวนวันที่ไม่มีฝุ่นร้อยละเท่าไร แต่ไม่ได้ก าหนดว่าในปี พ.ศ. 2555 ลดลงเท่าไร แต่ละปีไม่ได้
               ก าหนดเป้าหมายว่าจะลดลงหรือสถานการณ์ดีขึ้นเท่าไร ท าให้ไม่ได้แก้ที่ต้นแหตุของปัญหาจริง ๆ ซึ่งหน่วยงาน

               เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนกิจกรรมร่วมกัน แต่ที่ผ่านมายังด าเนินงานไม่เป็นไปในทางเดียวกัน (ภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564) PM 2.5 จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยไป
               แล้ว มีหลายภาคส่วนอย่างองค์กรพัฒนาเอกชนที่พยายามเสนอกฎหมาย หรือท าให้มาตรฐานคุณภาพอากาศ
               ในประเทศไทยมีมาตรฐานเดียวกันกับองค์การอนามัยโลก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม],
               19 กรกฎาคม 2564)


                             ปัญหาขยะยังมีการก าจัดที่ไม่ถูกต้องอยู่เป็นจ านวนมาก ส่วนการน าไปรีไซเคิลยังมีน้อยคือไม่
               ถึงร้อยละ 30 หรือกรณีมลพิษที่จังหวัดระยอง มีโรงงานที่น าของเสียไปทิ้งไว้และปล่อยให้รั่วซึม ซึ่งสร้างความ
               เสียหายต่อชาวบ้านเป็นเวลา 10 ปี ผลกระทบโดยรอบประมาณ 7,000 ไร่ ต้นไม้และแม่น้ าได้รับความเสียหาย
               จากพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้รับการแก้ไข (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564) ขยะเป็นปัญหาวิกฤตที่
               ท้องถิ่นก าลังเผชิญ หลายพื้นที่ด าเนินการได้ดี แต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ยังไม่สามารถจัดการได้ การจัดการขยะ

               ท าได้หลายแบบแต่การที่นโยบายของรัฐออกมาให้หนึ่งพื้นที่มีหนึ่งโรงไฟฟ้าก าจัดขยะ ถือว่ายังไม่สอดคล้องกับ
               สภาพของพื้นที่นัก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)

                             นอกจากนี้ กรณีน้ าเสียก็เป็นปัญหาท้าทายส าคัญเช่นกัน โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า น้ าเสีย
               ประมาณ 99 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่ถูกน าเข้าระบบบ าบัดเพียง 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่เหลือคือ

               ประมาณร้อยละ 70-80 ไม่ได้เข้าระบบบ าบัดก็ถูกปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม หรือตัวอย่างกรณีอ่างเก็บน้ าที่
               ฉะเชิงเทราปนเปื้อนมลพิษ พื้นที่สามร้อยกว่าไร่เสียหาย น้ ากว่าล้านลูกบาศก์เมตรเสียหายทั้งหมด จากการที่
               โรงงานของคนจีนที่มีการถลุงแร่แทนทาลัมแล้วปล่อยสารพิษลงไปในน้ าใต้ดินซึ่งส่งผลไปถึงอ่างเก็บน้ า
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564)



                             4.3.2.2  ทรัพยากรธรรมชาติ

                             จากการสัมภาษณ์ พบว่า ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติยังต้องแก้ไขต่อเนื่อง แม้เป็นปัญหามา
               อย่างยาวนานมีหลายประการ ทั้งการด าเนินตามนโยบายอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อการบุกรุกพื้นที่ป่า การ




                                                            81
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99