Page 97 - kpiebook65022
P. 97

แห่งชาติ พ.ศ.2561 เป็นการที่รัฐบาลลงทุนส่งน้ าไปยังพื้นที่รับประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ประชาชนไม่
               ควรเสียค่าใช้จ่าย เพราะได้จ่ายในรูปแบบของภาษีแล้ว ซึ่งกลุ่มเครือข่ายฯ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวน

               โครงการขุดคลอกชักน้ าใหม่จากแม่น้ าโขง ที่จะเชื่อมต่อกับอุโมงค์ไปยังแม่น้ าสายใหม่ที่จะสร้างขึ้นไปยังเขื่อน
               อุบลรัตน์ ลุ่มน้ ามูล ลุ่มน้ าชี และลุ่มน้ าสงคราม

                             หรือการเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนองค์ประกอบอื่นของโครงการโขง ชี มูล เช่น โครงการ
               เขื่อนปากชม เนื่องจากเห็นว่าประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการก าหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ า
               และเรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนในการจัดการในระดับลุ่มน้ าขนาดเล็ก ลุ่มน้ าย่อย แหล่งน้ าในชุมชนท้องถิ่น

               ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ วิถีชีวิต วิถีการผลิต และเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยรัฐต้องให้ความส าคัญและทุ่มเท
               งบประมาณกับทางเลือกการจัดการน้ า หรือการพัฒนาแหล่งน้ าในโครงการขนาดเล็กที่กระจายอยู่ใกล้ชุมชน
               เพื่อง่ายแก่การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรควบคู่ไปกับการรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ า
               มากกว่าการพัฒนาโครงการแหล่งน้ าขนาดใหญ่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564)

                             หรือกรณีเขื่อนปากมูลที่ปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่ เป็นเรื่องขององค์ความรู้ที่หลายคนกล่าวว่า

               ยังมีเรื่องขัดแย้ง แต่ที่จริงแล้วยังไม่ได้มีการแก้ปัญหาด้วยซ้ า จึงต้องท าให้กลายเป็นความขัดแย้งเพื่อให้ได้รับ
               ความสนใจซึ่งเป็นการเมืองข้อหนึ่งที่ไม่ค่อยดีนักในสังคมไทย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 กุมภาพันธ์ 2564)

                             เช่นเดียวกับผลจากการสนทนากลุ่มที่เห็นว่า ทรัพยากรน้ าเป็นประเด็นที่มีความวิกฤต โดย
               กล่าวว่า จากที่มีการส ารวจแหล่งน้ าใน 21 จังหวัด พบว่า แหล่งน้ าธรรมชาติตายไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ที่ผ่านมา

               เราใช้หลักวิศวกรรมไปท าลายระบบนิเวศ แล้วกลายเป็นปัญหาเรื่องการจัดการน้ าว่าความรู้เรื่องระบบนิเวศน้ า
               อยู่ตรงไหน เราจะใช้ความรู้ด้านระบบนิเวศจัดการในระดับไหน และความรู้ด้านวิศวกรรมชลประทานควรจะ
               จัดการในต าแหน่งไหน ฯลฯ หากเราสามารถจัดการทรัพยากรน้ าก็จะมีความมั่นคงทางอาหาร น้ ายังถูกใช้เพื่อ
               การท่องเที่ยว โรงงาน การเกษตร การอุปโภคบริโภค ฯลฯ หากขาดน้ าจะท าให้เกิดสงครามการแย่งชิงน้ าดังใน
               หลายประเทศที่กลายเป็นวิกฤตส าคัญมาแล้ว (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564) สอดคล้องกับการ

               สนทนากลุ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า น้ าและน้ าท่วมช่วง 2-3 ปีมานี้เห็นชัดมาก ใกล้เข้าเดือนสิงหาคม
               แล้วแต่อ่างเก็บน้ าหลาย ๆ แห่งก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่ถึงครึ่งของความจุของอ่างเก็บน้ า การบริหารจัดการที่
               ภายใต้ พ.ร.บ.น้ าฯ ก็จะไม่สามารถจัดการวิกฤตนี้ได้ พ.ร.บ.น้ าฯ พยายามท าให้เกิดการบูรณาการหรือว่า

               Single Command แต่ก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ดีมากนัก เพราะจุดมุ่งเน้นของ พ.ร.บ.น้ าฉบับนี้ไม่ได้มุ่ง
               จัดการวิกฤตน้ าแล้งน้ าท่วม แต่ไปมุ่งเน้นในเรื่องการแปรรูปน้ าโดยเอาพื้นที่แหล่งน้ าของรัฐที่ถูกพัฒนาโดยรัฐ
               ไปให้เอกชนด าเนินการ แล้วแสวงหารายได้โดยไม่สนใจเรื่องการจัดการแผนเรื่องน้ าแล้งน้ าท่วมของหน่วยงานรัฐ
               ตัวอย่างชัดเจนคือ พื้นที่ชายฝั่งที่ภาคตะวันออก อ่างเก็บน้ าของรัฐถูกน าไปแปรรูปโดยเอกชนเข้าไปบริหาร

               จัดการน้ าจึง ถือเป็นปัญหาที่ใหญ่และค่อนข้างวิกฤตในสังคมไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม],
               19 กรกฎาคม 2564)

                             กรณีที่ยกตัวอย่างของปัญหายาวนานเรื่องทรัพยากรน้ าดังกล่าว ประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อม
               ที่ต้องด าเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การสร้างความเข้าใจต่อประชาชนในพื้นที่ ว่าก าลังเผชิญปัญหาอะไรบ้าง
               เช่น ปัญหาทรัพยากรน้ าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ใช่เพียงปัญหาขาดแคลนน้ าเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยง

               ต่ออุทกภัยแบบที่สามารถท าลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง รวมถึง การเปลี่ยนแปลงการใช้
               ประโยชน์ที่ดิน นโยบายพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ท าให้ต้องมีการเตรียมการบริหารจัดการน้ าเสียในอนาคตด้วย







                                                            84
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102