Page 91 - kpiebook65022
P. 91

4.2.1.3 อุปสรรคด้านภาคประชาสังคม

                            ส าหรับภาคประชาสังคม พบว่าในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
               มีอุปสรรคในด้านความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม มีความกระจัดกระจายของกลุ่มและความหลากหลายทาง

               ผลประโยชน์ มีภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่าเคลื่อนไหวเพื่อขัดขวางการพัฒนา และขาดมุมมองเชื่อมโยงระหว่าง
               การเมืองกับสิ่งแวดล้อม

                            ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม

                            จากข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ พบว่า ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมนั้นมีอยู่บ้างแต่เพียง
               บางส่วน ดังเห็นจากการเคลื่อนไหวในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา แต่หากพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงในเชิง
               ระบบจะเห็นได้ว่าประชาสังคมในประเทศไทยยังไม่เข้มแข็งมากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคประชาสังคมที่เป็น

               ชุมชนเดี่ยวยิ่งมีข้อจ ากัดในการเมืองสิ่งแวดล้อม เพราะขาดศักยภาพในการเข้าถึงทรัพยากร จึงมีความแตกต่าง
               ทางอ านาจเมื่อเทียบกับภาครัฐที่เป็นผู้จัดสรรคหรือภาคเอกชนที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่า ดังผู้ให้
               สัมภาษณ์ยกตัวอย่างกรณีเข้าถึงทรัพยากรน้ าว่า การจัดการน้ าที่มีการผันน้ าเข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ส่วนภาค
               การเกษตรอาจไม่มีหลักประกันว่าจะมีน้ าเพียงพอใช้ในการเกษตร เป็นประเด็นที่มีการเคลื่อนไหวจากภาค

               พลเมืองอย่างมาก แต่ไม่บรรลุผลในเชิงการพัฒนานโยบาย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 พฤษภาคม 2564)
               สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นว่า มีความไม่เป็นธรรมในการใช้น้ า เนื่องจาก เกิดกลุ่มผลประโยชน์ที่เข้าไป
               แสดงสิทธิในการใช้น้ าจากแหล่งน้ าธรรมชาติ ท าให้บางกลุ่มขาดโอกาสในการเข้าถึงน้ า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18
               [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564) นอกจากนี้ กรณีอื่นอย่างการร้องเรียน กลุ่มผู้ประกอบการมักเป็นกลุ่มที่มี

               อิทธิพลในพื้นที่ ชาวบ้านเองก็มีความเกรงกลัวไม่กล้าร้องเรียนหรือยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ระงับ
               การด าเนินการของโรงงาน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564)

                            ความกระจัดกระจายของกลุ่มและความหลากหลายทางผลประโยชน์

                            ประชาสังคมมีลักษณะเป็นการรวมตัวของกลุ่มที่หลากหลายทางผลประโยชน์ จึงท าให้ขาด
               ความเป็นเอกภาพ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กลุ่มภาคประชาสังคมเองมีความไม่เป็นเอกภาพเป็นอุปสรรค

               ส าคัญ มีความหลากหลายของจุดยึดและอุดมการณ์ทางการเมือง ความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ก็ไม่ชัดเจน
               ดังนั้น ภาพรวมของกระบวนการภาคประชาชนดูเหมือนกระจัดกระจาย ไม่เป็นเอกภาพที่เป็นสายต่อเชื่อมกัน
               ทั้งเหนือกลางใต้อีสาน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์],
               8 กุมภาพันธ์ 2564) หากมีการเคลื่อนไหว ก็จะเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่ม แต่ไม่ได้เป็น

               เอกภาพของการบริหารการจัดการหรือลดผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 พฤษภาคม 2564)

                            ความแตกกระจายและหลากหลายของประชาสังคม ส่งผลต่อความชัดเจนของความเป็น
               ตัวแทนด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การหาตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการในระดับนโยบายที่ภาครัฐจัดให้
               ภาคประชาสังคมไม่มีภาพความเป็นตัวแทนที่ชัดเจน จนท าให้ภาครัฐไม่สามารถก าหนดตัวแทนได้ ท าให้ไม่มี

               ตัวแทนภาคประชาชนเข้าไป เมื่อเปรียบเทียบกับภาคเอกชนจะมีภาพตัวแทนที่ชัดเจน คือ สภาอุตสาหกรรม
               หรือสภาหอการค้าที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างชัดเจนและมีกฎหมายรองรับ จึงเห็นได้ว่ากรรมการระดับนโยบายและ
               ระดับชาติจะมีที่นั่งของตัวแทนสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าเต็มไปหมด แต่หากมีข้อเสนอให้ประชาชน





                                                            78
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96