Page 88 - kpiebook65022
P. 88
ของผู้ปฏิบัติ ที่ต้องท าตามนโยบายขณะที่ต้องท างานร่วมกับภาคประชาสังคมด้วย จึงต้องอยู่ในการท างานแบบ
พยายามรอมชอมกับทุกฝ่าย เพื่อให้สังคมอยู่ได้มากที่สุด (ภาคเหนือ [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)
การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน
จากการสัมภาษณ์ พบว่า ส่วนภาครัฐมีอุปสรรค ทั้งการบูรณาการเพื่อการพัฒนา และการ
บูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหา ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า ภาครัฐเป็นองคาพยพที่มีความส าคัญต่อการเคลื่อนงาน
สิ่งแวดล้อมให้ไปสู่ความยั่งยืน โดยกล่าวว่า ระบบราชการเป็นระบบที่ควรจะต้องมีพลังมากที่สุดในการ
ขับเคลื่อนงาน แต่โครงสร้างและรูปแบบการท างานกลับไม่ตอบสนองกับภารกิจ ระบบราชการไม่สามารถ
ตอบสนองกับโครงสร้างปัญหาได้ เพราะนโยบายของแต่ละส่วนงานแตกต่างกัน แม้จะมีนโยบายรัฐของ
ส่วนกลางก็ตาม จึงท าให้การบูรณาการเป็นไปได้ยาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564;
ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) สอดคล้องกับผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มที่กล่าวว่า แต่ละ
หน่วยงานมีภารกิจที่แตกต่าง ข้อระเบียบกฎหมายที่แตกต่างท าให้เกิดช่องว่างในเรื่องของการบริหารจัดการ
(ภาคเหนือ [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)
ในส่วนการบูรณาการเพื่อการพัฒนา ยังเป็นปัญหาระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง และ
ระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ทั้งที่ควรมีการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในแบบที่เป็น
หุ้นส่วนกัน ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงการขาดบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐ การท างานลักษณะต่างคน
ต่างท า การพัฒนาที่ขาดการบูรณาการร่วมกัน ยังผลให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา และเมื่อ
เป็นปัญหาแล้วการแก้ไขยังขาดการบูรณาการจึงยิ่งผลิตซ้ าปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าไปอีก โดยกล่าวว่า ประเทศไทย
มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมแต่ขาดการบูรณาการ แต่ละหน่วยงานมีมาตรการและแผนงานที่
แบ่งแยกกันโดยไม่ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง จึงเป็นการวางที่ไม่ได้พิจารณาศักยภาพดิน น้ า ป่า ฯลฯ ของพื้นที่ หรือ
การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการก่อสร้างแบบต่างคนต่างท า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์],
8 กุมภาพันธ์ 2564)
นอกจากการด าเนินงานของหน่วยงานรัฐยังเป็นแบบต่างคนต่างท า ในพื้นที่การท างานของ
แต่ละหน่วย ยังมีลักษณะไม่พร้อมให้ภาคส่วนอื่นหรือหน่วยอื่นเข้ามาร่วมจัดการ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงกรณี
การจัดการป่าไม้ กฎหมายที่ใช้อยู่ท าให้มีการควบคุมและท าให้ไม่สามารถเชื่อมโยงการท างานแบบมีเป้าร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงาน เช่น พื้นที่อนุรักษ์หน่วยงานที่ดูแลหลักก็จะไม่ยอมรับให้ อบต.เข้าไปพัฒนา และไม่ยอมรับ
ที่จะให้มีหน่วยงานอื่นเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นเพราะกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์มีข้อก าหนดไว้ด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ
13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
แม้กระทั่งหน่วยงานที่ท าหน้าที่กระจายอ านาจอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ไม่อาจบูรณาการ
การท างานร่วมกันได้ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กรณีจัดการขยะและของเสียของท้องถิ่นเล็ก ๆ หลายแห่ง
มีอุปสรรคด้านการท างานจะมาร่วมกันได้อย่างไรเพราะต่างก็เป็นนิติบุคคลทั้งหมด ประเทศญี่ปุ่นสามารถ
รวมกันได้แล้ว ตั้งวิสาหกิจและให้บริษัทที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดูแล แต่ประเทศไทยมีอุปสรรคเรื่อง
การเมือง ผลประโยชน์ และการบูรณาการ ซึ่งผู้บริหารของประเทศก็ต้องให้ความส าคัญในประเด็นนี้ เพราะ
ประเด็นสิ่งแวดล้อมแทรกอยู่ในทุกเรื่อง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564)
ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันถึงช่องว่างระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและ
ท้องถิ่น เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ชุมชนเมือง ชุมชนชนบท ชุมชนบน
พื้นที่สูง เนื่องจาก การใช้ทรัพยากรแตกต่างกัน รวมถึงวัฒนธรรม ความตระหนัก ส าหรับท้องถิ่นเองมีภาระ
75