Page 215 - kpiebook65022
P. 215

เจ้าของโครงการแสดงข้อมูลเพียงด้านเดียว การมีส่วนร่วมก็เป็นเพียงการจัดรับฟังความคิดเห็น หรือ พ.ร.บ.
               ชุมนุมสาธารณะ ที่ท าให้การใช้สิทธิของประชาชนมีความเสี่ยง หรือการฟ้องร้องกลับกับประชาชนที่ใช้สิทธิ

               เพื่อให้เกิดความหวาดกลัวหรือชะงักงันในการเคลื่อนไหวใช้สิทธิ

                       สอดคล้องกับข้อค้นพบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น แต่ยังคงอยู่
               ในระดับต่ า ขณะที่กิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แต่ยังคงอยู่ใน
               ระดับปานกลาง (อารีรัตน์ วชิรเสรีชัย, 2539) การมีส่วนร่วมของประชาชนยังคงอยู่ที่ระดับให้ความคิดเห็น
               เนื่องจาก ภาครัฐด าเนินการเป็นหลัก (สุทธบท ซื่อมาก, 2554) แสดงให้เห็นว่าประชาชนหรือพลเมืองมี

               อุปสรรคในเชิงขับเคลื่อนเช่นกัน สอดคล้องกับที่ Kuchinskaya พบว่า รูปแบบในการปฏิบัติของการติดตาม
               ทางสิ่งแวดล้อมยังเป็นอุปสรรคของพลเมือง (Kuchinskaya, 2019) เช่น ประชาชนทั่วไป ยังคงเผชิญความท้าทาย
               จากอ านาจของภาคส่วนอื่น ที่ท าให้การมีส่วนร่วมของเขาอาจไม่ได้รับการยอมรับ (Edwards and Heiduk,
               2015) การแสดงออกบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์แม้เป็นพื้นที่สาธารณะแต่ยังไม่อาจท าให้ชุมชนมาพบและมี

               ปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ (Hendriks et al., 2016) การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นยัง
               ไม่มากนัก (Kettunen, 2020) ในประเทศไทยเองก็พบว่า มีความสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบบการมี
               ส่วนร่วมของประชาชนยังคงมีข้อจ ากัด ได้แก่ การบริหารโครงการของรัฐยังไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

               (สุทธบท ซื่อมาก, 2554) ประชาชนยังไม่พอใจการด าเนินโครงการโรงงานก าจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร
               ที่ยังขาดความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงออกมาคัดค้านการด าเนินงานก่อสร้างโครงการ
               (วินิจ ผาเจริญ, 2561)

                       4) พรรคการเมือง

                       ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่าพรรคการเมืองไทยยังมีบทบาทในการเคลื่อนไหวประเด็นสิ่งแวดล้อมไม่
               มากนัก ทั้งที่พรรคการเมืองมีบทบาทค่อนข้างมากต่อการด าเนินนโยบายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน และการ
               เคลื่อนไหวของพรรคการเมือง หากปรับบทบาทไปในทางสิ่งแวดล้อมก็น่าจะท าให้พรรคการเมืองได้รับการ

               สนับสนุนจากกลุ่มที่สนใจในเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืน ดัง Bergquist พบว่า อิทธิพลของพรรคการเมืองมีผล
               ต่อการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าการบริหารทางนโยบาย โดยพบความแตกต่างของการบังคับใช้นโยบาย
               สิ่งแวดล้อมระหว่างผู้ว่าการรัฐและสภานิติบัญญัติ (Bergquist, 2019) หรือ Tosun and Debus พบว่า ปัญหา

               สิ่งแวดล้อมบางอย่างและการก าหนดนโยบายของพรรคโซเชียลเดโมแครตในออสเตรีย มีโอกาสที่จะเพิ่มส่วน
               แบ่งในการลงคะแนนเสียง (Tosun and Debus, 2020) ข้อค้นพบจากงานวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับ
               DeSombre ว่าพรรคการเมืองและนักการเมืองย่อมมีความต้องการได้รับเลือกตั้งกลับเข้าไปใหม่ ไม่ว่าจะเป็น
               พรรคกรีนหรือไม่ แต่พรรคค่อนข้างเคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มคนที่เลือกตนเข้ามา (DeSombre, 2020)

                       5) ภาคธุรกิจ

                       จากข้อค้นพบ ภาคธุรกิจเอกชนเป็นกลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรได้ตามนโยบายและกฎหมายของรัฐ เช่น

               การเข้าไปสัมปทานป่าไม้ในอดีต การร่วมทุนกับบริษัทเอกชนต่างชาติและเอกชนไทยในการสัมปทานและ
               ส ารวจแร่ ซึ่งใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อผลประโยชน์เฉพาะคนบางกลุ่ม ข้อค้นพบนี้ ค่อนข้างมีความ
               สอดคล้องกับบทบาทของภาคธุรกิจต่อการด าเนินงานหรือกระบวนการทางสิ่งแวดล้อม ที่เป้าหมายไม่ได้เป็นไป
               เพื่อรักษาหรือดูแลสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อให้ธุรกิจของตนไม่ได้รับผลกระทบจากการร้องเรียนของผู้ที่อาจจะได้รับ

               ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ดัง Moberg กล่าวว่า สมาคมผู้ประกอบการตั้งหน่วยดูแลชุมชนเพื่อรับมือกับการ
               ร้องเรียนและดูแลสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อป้องกันภัยคุกคามต่อธุรกิจของพวกเขา (Moberg, 2002)




                                                           202
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220