Page 210 - kpiebook65022
P. 210
1) บทบาทของหน่วยงานรัฐ
จากข้อค้นพบส่วนใหญ่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงบริบทที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน่วยงานรัฐฝ่ายบริหาร
ตามมาด้วยบทบาทหน่วยงานรัฐฝ่ายตุลาการ บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และบทบาทฝ่ายนิติ
บัญญัติ ซึ่งคณะผู้วิจัยขอน าเสนอบทบาท อปท.เป็นล าดับสุดท้ายเพื่อล าดับความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
บทบาทหน่วยงานรัฐฝ่ายบริหาร เป็นเรื่องของบทบาทในการด าเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลผ่าน
การบริหารจัดการและบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งพบว่า มีความไม่ต่อเนื่องของการด าเนินงาน เนื่องจาก รัฐบาล
เปลี่ยนแปลงบ่อย อีกทั้งนโยบายสิ่งแวดล้อมของแต่ละหน่วยงานต่างกันและทับซ้อนกันหลายหน่วยงาน เช่น
กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินมีความเกี่ยวข้องกับกรมป่าไม้ กรมอุทยาน กรมที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ แต่ขาด
การบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ ยังขาดการบูรณาการกับภาคส่วนอื่น เช่น ภาคเอกชน ทั้งนี้
หน่วยงานรัฐได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความไม่บูรณาการนี้เช่นกัน แต่ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่าการ
แก้ปัญหาการบูรณาการด้วยการตั้งคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น กรรมการด้านป่าไม้แห่งชาติ
เหมืองแร่แห่งชาติ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ ไม่อาจแก้ปัญหาการไม่บูรณาการกัน เพราะกลไกคณะกรรมการ
ท าหน้าที่บูรณาการเชิงนโยบายและติดตาม ไม่ได้เป็นกลไกที่ลงมือปฏิบัติ ขณะที่ปัญหาจริงเป็นปัญหาเชิง
ปฏิบัติมากกว่า
สอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในหลายประเทศประสบความล้มเหลวในการ
ด าเนินงานตามนโยบายสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลและการบูรณาการที่ดีจะมีการ
แสดงออกทางนวัตกรรมนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ดี (Jacob and Volkery, 2005) แต่การแสดงบทบาทหรือ
ด าเนินตามโยบายของหน่วยงานรัฐต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม จากงานวิจัยที่พบวิเคราะห์ได้ว่า ตัวแสดงภาครัฐ
ผู้น านโยบายไปปฏิบัติยังพบความล้มเหลว แม้มีการปฏิรูปองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแต่ก็ไม่พ้นถูกแทรกแซงจาก
อ านาจ ท าให้ความพยายามปฏิรูปเชิงสถาบันไม่เป็นผล ดังนักวิชาการหลายท่าน เช่น การปฏิรูปการใช้
ประโยชน์จากที่ดินในช่วงทศวรรษ 1970 ของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นแต่หน่วยงานก็ยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ
ไว้วางใจจากนักพัฒนาและผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือกรรมสิทธิ์ (Siskind, 2019) อุตสาหกรรมก๊าซจากชั้นหิน
ได้ก่อให้เกิดข้อพิพาทที่ส าคัญในหลายระดับ ซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรก็พยายามที่จะแก้ไขข้อพิพาท แต่
ความสามารถในการให้ค าปรึกษายังคงมีจ ากัด (Beebeejaun, 2019) การท าลายสิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์ไฟ
ไหม้ป่าอเมซอน ประเทศบราซิล ยังคงมีผลกระทบที่สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่ล้มเหลวของรัฐบาล
(Raftopoulos, and Morley, 2020) การเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเร่งด่วนมาอย่างยาวนาน อันมาจาก
ความล้มเหลวของหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในหลายสมัย (Orr, 2020)
การพยายามบูรณาการผ่านกลไกคณะกรรมการของหน่วยงานรัฐในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่ารัฐเอง
ก็พยายามแก้ไขปัญหาการด าเนินงานตามนโยบายสิ่งแวดล้อมอยู่เช่นกัน สอดคล้องกับที่ Rea กล่าวว่า
ท่ามกลางความล้มเหลวของการด าเนินนโยบายภาครัฐ ก็ยังมีความพยายามค้นหาเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อให้
ประสิทธิภาพการท างานของรัฐดีขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือทางนโยบายสิ่งแวดล้อมที่มีพื้นฐานทางตลาดเป็น
แนวทางในการก าหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Rea, 2019) หรือรัฐเกาหลีที่ได้ระดมวาทกรรมความทันสมัยทาง
ระบบนิเวศ (Ecological modernization: EM) เป็นเครื่องมืออันทรงพลังส าหรับการสื่อสารสาธารณะของรัฐ
(Kim and Chung, 2018) อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยวิเคราะห์ตามความเห็นของนักวิชาการหลายท่านว่า
เครื่องมือเหล่านี้ เป็นแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐได้มีอ านาจ แต่ต้องควบคู่ไปกับการบริหาร
จัดการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงาน การก าหนดและบังคับใช้กฎหมาย กลไกเชิงสถาบันและกระบวนการ
197