Page 209 - kpiebook65022
P. 209
สอดคล้องกันกับในเวทีระหว่างประเทศเมื่อมีวาระด้านสิ่งแวดล้อม จะมีตัวแสดงอื่นอย่าง
องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเข้าไปด้วยเช่นกัน ซึ่งองค์กรสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเข้า
ไปมีอิทธิพลต่อการเจรจา และการตัดสินใจได้บ้างในบางครั้ง ดัง Dimitrov พบว่า องค์กรเคลื่อนไหวด้าน
สิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศ บางองค์กรเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการ
ตรวจสอบความจริง (Dimitrov, 2020) องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้เข้าไปในวาระนโยบาย
ระดับประเทศ และมีอ านาจผ่านข้อตกลงของเมืองที่มีความสอดคล้องกับระดับประเทศได้ (Bersvendsen,
2018)
อย่างไรก็ดี แม้ประชาสังคมไทยจะสามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางนโยบายได้บ้างก็ตาม
แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ยังมองเห็นอุปสรรคของภาคประชาสังคมที่ขาดความเป็นตัวแทนของกลุ่ม อันเนื่องมาจาก
ความแตกกระจายขององค์กรประชาสังคมเอง จึงเป็นปัญหาด้านความเป็นตัวแทนเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนใน
คณะกรรมการระดับนโยบายไม่ชัดเจน ดังภาคเอกชนที่มีสภาอุตสาหกรรมหรือสภาหอการค้าเป็นตัวแทนของ
องค์กรประชาสังคม
5) ภาคธุรกิจ
จากการสัมภาษณ์ท าให้พบว่า ภาคธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงการตัดสินใจได้มากกว่า ดังข้อ
ค้นพบก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า ภาคธุรกิจมีตัวแทนกลุ่มชัดเจนอย่างสภาอุตสาหกรรมหรือสภาหอการค้า ที่จะเข้า
ไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางนโยบายได้ และจากการระดมความคิดเห็นในบางพื้นที่ที่มีภาคธุรกิจเข้าร่วม
ท าให้เห็นว่าภาคธุรกิจมีแนวโน้มที่จะรวมตัวได้ดีกว่า อาจเพราะเป้าหมายของภาคส่วนนี้ไม่แตกกระจายดังเช่น
ภาคประชาสังคมหรือประชาชน สอดคล้องกับนักวิชาการหลายท่านที่ว่าองค์กรที่ชัดเจนว่าได้เข้าไปมีอ านาจ
มากในการตัดสินใจทางนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คือ องค์กรธุรกิจ ดัง Lubitow พบว่า กลุ่มชนชั้นน าทาง
ธุรกิจสามารถเข้าถึงโครงสร้างการตัดสินใจผ่านการสนับสนุนทางการเงินและข้อมูลสิ่งแวดล้อม (Lubitow,
2011) โดยทิศทางการเข้าไปร่วมมือของภาคส่วนเอกชนในเวทีระหว่างประเทศมีสูงขึ้น (Green, 2008) กลุ่ม
ธุรกิจได้ใช้กลยุทธ์หลากหลายเพื่อมีอิทธิพลทั้งกับตัวแสดงที่เป็นรัฐและในกลุ่มนักธุรกิจเองด้วย (Downie,
2014) หรือการเข้าไปล็อบบี้ของกลุ่มธุรกิจ เพื่อจะมีผลจูงใจให้รัฐบาลลงนามในข้อตกลงบางอย่าง (Marchiori
et al., 2017)
อย่างไรก็ดี จากการสัมภาษณ์พบว่ามีภาคธุรกิจจ านวนไม่น้อยเช่นกันที่มีลักษณะการท างานเป็น
หุ้นส่วนกับชุมชน โดยการเข้าร่วมกับภาคส่วนอื่นอย่างชุมชน ดังกรณีจัดท าธรรมนูญอ่าวอุดม ภาคธุรกิจ
บางส่วนได้เข้าร่วมในขบวนการและยินดีที่จะสมทบเงินบางส่วนเพื่อจัดตั้งกองทุนเยียวยาให้กับชุมชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากมลพิษ ซึ่งสอดคล้องกับ Moberg (2002) ที่ผู้ประกอบการมีการตั้งกองทุนฟื้นฟูขึ้นมาส าหรับ
ชุมชนโดยรอบที่ได้รับผลกระทบ
6.4.2 บทบาทและอ านาจในการร่วมด าเนินการทางนโยบายของภาคส่วนต่าง ๆ
จากงานวิจัยที่ส ารวจ ท าให้วิเคราะห์ได้ว่าภาคส่วนที่หลากหลายได้เข้ามาร่วมในพื้นที่การเมือง
สิ่งแวดล้อมหลังจากที่มีการตัดสินใจทางนโยบายแล้ว เป็นพื้นที่ที่หลากหลายภาคส่วนเข้ามามีบทบาทได้
มากกว่า โดยภาคส่วนอย่างหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่น านโยบายไปปฏิบัติ องค์กรประชาสังคมที่เคลื่อนไหว
ภาคประชาชนทั่วไป พรรคการเมือง ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชนมีบทบาทปรากฏในข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์
และระดมความคิดเห็นกลุ่ม ตลอดจนงานวิจัยที่ส ารวจมากน้อยกันไปตามล าดับ
196