Page 204 - kpiebook65022
P. 204
สอดคล้องกับ DeSombre ที่ว่า รัฐบาลในการปกครองแบบประชาธิปไตยดูจะมีแนวโน้มทางสถิติด้าน
สิ่งแวดล้อมที่ดีมากกว่า แต่ DeSombre ก็มีข้อสังเกตอีกเช่นกันว่า ไม่เสมอไปที่สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเกิดใน
ประเทศประชาธิปไตย เพราะ ประชาธิปไตยก็อาจท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เชื่องช้า (DeSombre, 2020)
คณะผู้วิจัยเองจึงวิเคราะห์ว่าข้อสรุปนี้ยังไม่อาจลงความเห็นได้ทันทีว่า สภาพแวดล้อมที่ดีจะปรากฎในประเทศ
ที่มีโครงสร้างหรือระบอบการปกครองแบบใด เพราะงานวิจัยหลายชิ้นที่ส ารวจพบ ท าให้เห็นแนวโน้มว่า
ประเทศที่มีการปกครองไปในทางอ านาจนิยมอย่างจีน มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบ
คอมมิวนิสต์จีนไม่ได้ละเลยต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมเสียทีเดียว ระบอบการปกครองอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่ง
หากแต่การให้คุณค่าของรัฐบาลของแต่ละประเทศดูจะมีผลมากกว่า และการให้คุณค่าของผู้น าแต่ละรัฐบาลนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับการได้รับรู้ข้อมูลว่าทั่วโลกก าลังให้ความส าคัญกับอะไร อย่างประเทศจีนที่ได้เปิดรับแนวทาง
การเมืองแบบมีส่วนร่วมเท่าที่ไม่ขัดต่อระบอบการปกครองมากนัก เพราะเล็งเห็นว่าเป็นทางที่ส าคัญที่จะท าให้
นโยบายสิ่งแวดล้อมของจีนประสบความส าเร็จ สอดคล้องกับนักวิชาการบางท่านว่า รัฐจ าเป็นต้องรักษาความ
สมดุลทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรัฐที่ค านึงถึงระบบนิเวศวิทยา ภายใต้ระบบทุนนิยม (Blühdorn, 2020) ซึ่ง
จีนได้แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้น าที่ต้องการรับผิดชอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เมื่อเข้า
ร่วมในเวทีระหว่างประเทศ (Shen and Xie, 2018) ดังนั้น การให้ความส าคัญกับการด าเนินนโยบาย
สิ่งแวดล้อมจึงน่าจะขึ้นอยู่กับการให้คุณค่าของรัฐบาล ซึ่งบางรัฐบาลยังล าดับความส าคัญไปที่การพัฒนา
เศรษฐกิจมากกว่าการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Kim and Chung, 2018)
จากงานวิจัยดังกล่าว มีความสอดคล้องกับนักวิชาการหลายท่านที่ว่าแม้ทั่วโลกให้ความส าคัญกับ
ประเด็นสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ก็ยากจะบรรลุผล เพราะ ข้อตกลงระหว่างประเทศไม่ได้มีผลเชิง
บังคับให้นานาประเทศต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การเรียกร้องของแต่ละประเทศยังเป็นลักษณะผลักภาระ
ให้ประเทศอื่น (บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, 2555, น.49) อีกทั้ง โครงสร้างทางการเมืองของแต่ละประเทศยังมีความ
ทับซ้อนกันของตัวแสดง ที่ท าให้การตัดสินใจทางนโยบายสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศในท้ายที่สุดอาจไม่
เป็นไปตามนั้น (DeSombre, 2020, pp.122-123) การปกป้องทางสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่ออยู่
ในพื้นที่ของการค้าโลกประเด็นสิ่งแวดล้อมก็ถูกท าให้ด้อยค่าลงไป (Hochstetler, 2003) การปกป้อง
สิ่งแวดล้อมถูกมองเป็นสิ่งจ าเป็นแต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียงเมื่อถูกน าเสนอเข้าไปด้วยกันกับประเด็นการจ้างงาน
หรือเศรษฐกิจ (Lawhon and McCreary, 2020)
การกระจายอ านาจกับการมีส่วนร่วม
จากข้อค้นพบในเชิงการเคลื่อนไหวจริง แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างการปกครองในอดีตตั้งแต่ก่อน
สมัยรัชกาลที่ 5 การปกครองไทยที่ยังคงเป็นแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่การบริหารจัดการ
ทรัพยากรภาคส่วนต่าง ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ค่อนข้างเสรี เพียงแต่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ต้องส่งเครื่องราช
บรรณาการมายังส่วนกลาง โดยทรัพยากรเหล่านั้นจะถูกส่งไปค้าขายยังต่างประเทศต่อไป ต่อมาช่วงหลังสมัย
รัชการที่ห้า ได้มีการจัดสรรทรัพยากรที่ส าคัญอย่างป่าไม้ชัดเจนมากขึ้น ดังเห็นได้จากการออกกฎหมาย
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนสัตว์ป่า พ.ศ.2481 หรือในส่วน
ทรัพยากรน้ า ก็เป็นการตัดสินใจและบริหารจัดการโดยผู้ปกครองที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชิญชาวต่างประเทศเข้ามาวางโครงการชลประทาน และหน่วยงานของรัฐเป็น
ผู้บริหารจัดการต่อ การตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรในสังคมไทยตั้งแต่ในอดีตจึงมีลักษณะรัฐ
ส่วนกลางเป็นผู้ควบคุม ท าให้การกระจายอ านาจในการเข้าถึงทรัพยากรมีแค่เพียงคนบางกลุ่มเท่านั้น
191