Page 203 - kpiebook65022
P. 203

6.4 วิเคราะห์บทบาทตัวแสดงในการเมืองสิ่งแวดล้อมของไทย

                       ส าหรับข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และระดมความคิดเห็นกลุ่มได้ให้ข้อค้นพบเชิงโครงสร้างหรือ

               อ านาจของภาคส่วนต่าง ๆ ในการตัดสินใจ และด าเนินการทางนโยบายสิ่งแวดล้อมตามกรอบการศึกษาครั้งนี้
               โดยมีข้อค้นพบว่า การแสดงบทบาทหรืออ านาจของแต่ละภาคส่วนเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นกับโครงสร้างและการ
               เปิดโอกาสทางการเมืองของแต่ละประเทศ ดังนี้

                       1)  โครงสร้างทางการเมือง

                       ในเชิงโครงสร้างทางการเมืองวิเคราะห์ได้ 2 ประเด็นว่า สิ่งแวดล้อมที่แย่ปรากฏอยู่ในรัฐบาลแบบ
               อ านาจนิยม กับการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่กับการกระจายอ านาจและการมีส่วนร่วม

                          รัฐบาลแบบอ านาจนิยมกับรัฐบาลแบบประชาธิปไตย

                          จากการสัมภาษณ์ รัฐไทยในช่วงราว พ.ศ.2500-2509 ผู้ปกครองหรือรัฐบาลเริ่มเข้ามาจัดการ

               บริหารทรัพยากรอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1
               พ.ศ.2504 นับจากนั้น ประเทศไทยก็เริ่มตั้งเป้าของการพัฒนาในการเพิ่มผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้
               เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก รัฐเป็นผู้ตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรเป็นหลัก หรือผ่านการ
               มอบหมายให้เอกชนบางรายด าเนินการ เช่น การสัมปทาน ซึ่งท าให้กระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรของ

               ประชาชน เป็นที่มาของการเคลื่อนไหวทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ า และทรัพยากรแร่ รวมถึงการเคลื่อนไหว
               ของตัวแทนประชาชน จนกระทั่งช่วงที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 ที่เรียกได้ว่า เป็นฉบับการมีส่วนร่วม
               และเป็นฉบับสีเขียว ท าให้เกิดการรับรองสิทธิชุมชนและประชาชนมีสิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อ านาจรัฐ

               มากขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงฉบับ พ.ศ. 2550 และ 2560 แต่การเคลื่อนไหวประเด็นสิ่งแวดล้อมของภาค
               ประชาชนมีการชะงักงันในช่วงรัฐประหารหลัง พ.ศ. 2557 เช่นกัน จนเป็นเหตุหนึ่งที่ท าให้ประเด็นการมีส่วนร่วม
               และสิทธิของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กลายเป็นหน้าที่ของรัฐมากกว่า
               ที่จะเป็นสิทธิของประชาชน

                          ตัวอย่างกรณีการชะงักงันของการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ในช่วงรัฐประหาร พ.ศ.2557 ที่มี

               ลักษณะเพิกเฉยต่อสิทธิของประชาชน ด้วยกลไกมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญท าให้ผู้ปกครองในขณะนั้น หรือ
               คสช. ได้มีการออกค าสั่งที่เป็นผลให้ภาคประชาสังคมไม่อาจเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้ และยังมีค าสั่ง คสช.
               ที่มีการยกเว้นบางเรื่องไม่ต้องท า EIA ทั้งที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างข้อค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า
               การเมืองในประเด็นสิ่งแวดล้อมของไทยมีความฝังรากลึกมายาวนานว่าผู้ปกครองเป็นผู้มีบทบาทหลัก ท าให้แม้

               มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว การมีส่วนร่วมตัดสินใจและด าเนินการตามนโยบาย
               สิ่งแวดล้อม ยังขาดการผนวกรวมภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์และ
               การระดมความคิดเห็นกลุ่มส าหรับประเด็นอุปสรรคในเรื่องของการเมืองสิ่งแวดล้อม ยังสะท้อนให้เห็นอย่าง
               สอดคล้องกันกับวิวัฒนาการทางสิ่งแวดล้อมว่า ผู้ปกครองรัฐไทยมีแนวโน้มให้ความส าคัญกับการพัฒนา

               เศรษฐกิจ จึงท าให้นโยบายที่ออกมาโน้มเอียงไปในแนวทางนั้น

                          ส าหรับผู้วิจัยแล้ว หากแบ่งขั้วระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับอ านาจนิยม ก็ไม่อาจสรุป
               ได้แน่ชัดว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมที่แย่จะเกิดขึ้นในรัฐบาลแบบอ านาจนิยมหรือไม่ เพราะประเทศที่มีระบอบการ
               ปกครองแบบประชาธิปไตยก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งแวดล้อมจะดีขึ้นตาม จริงอยู่ที่ Cao and Ward พบว่ารัฐที่
               มีลักษณะอ านาจนิยมมักมีแนวโน้มมีค่าปลดปล่อยมลพิษภายในประเทศที่สูง (Cao and Ward, 2011) ซึ่ง



                                                           190
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208