Page 202 - kpiebook65022
P. 202
ประเด็นทรัพยากร ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเห็นว่าควรเน้นการจัดการทรัพยากร
ป่าไม้แบบมีส่วนร่วมและบริหารจัดการน้ าแบบบูรณาการ ขณะที่งานวิจัยไทยส่วนใหญ่ เป็นการศึกษาในเชิง
การเคลื่อนไหวของประชาชนในลักษณะคัดค้านต่อโครงการหรือมาตรการของรัฐ และเน้นการศึกษาเฉพาะการ
เคลื่อนไหวในฝั่งของภาคประชาชน เช่น เรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคพลเมืองต่อการทวงคืน
ผืนป่าดอยสุเทพ (วินิจ ผาเจริญ และรุจาดล นันทชารักษ์, 2563) ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านอ้างถึงความส าเร็จ
ในการจัดการป่าไม้ร่วมกันหลายกรณี เช่น การแลกเปลี่ยนการจัดการป่าไม้ร่วมกันโดยใช้ GIS กรณีของป่าไม้
ที่ดินที่ภาคเหนือ การอยู่ร่วมกันของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่อุทยานฯ ในจังหวัดเชียงราย หรือ
กรณีโครงการจอมป่าเพื่อจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม แต่ยังขาดองค์ความรู้หรือการศึกษาว่าคนจะอยู่
รวมกับป่าได้หรือไม่อย่างไร หรือการศึกษาลักษณะของการมีส่วนร่วมหรือการแก้ปัญหาในทางกฎหมายที่จะท า
ให้ชุมชนสามารถอยู่ในพื้นที่ป่าโดยไม่กระทบกับพื้นที่ป่า ส่วนทรัพยากรน้ า งานวิจัยไทยก็มีลักษณะคัดค้านต่อ
โครงการของรัฐเช่นกัน เช่น เรื่องพลวัตการเคลื่อนไหวและการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากเขื่อนปากมูล (พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์, 2557) ดังนั้น งานวิจัยประเด็นทรัพยากร
จึงยังขาดมิติของการจัดการทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเป็นหนทางที่สอดคล้องกับการไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืน ที่แนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนหรือภาคีการพัฒนา ตั้งแต่
การก าหนดนโยบาย การวางแผน การจัดท าโครงการ ตลอดจนการติดตามประเมินผล เพื่อให้เกิดการพัฒนา
และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง (รจนา ค าดีเกิด, 2560) และการไปสู่ทุกเป้าหมาย
ของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่างยืนอยู่บนวิธีการในเป้าหมายที่ 17 คือ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่น าพาไปสู่
ความยั่งยืน Weber and Weber (2020, p.3)
ส าหรับองค์ความรู้การเมืองสิ่งแวดล้อมจากงานวิจัยไทยทั้ง 47 เรื่อง หากจ าแนกเชิงประเด็นเป็นเรื่อง
ความยั่งยืนพบจ านวน 5 เรื่อง ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ไว้แล้วในส่วน งานวิจัยไทยกับวิวัฒนาการการเมือง
สิ่งแวดล้อม ว่างานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่พบมี 1 ชิ้น ได้แก่ เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบ
ในความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจโรงแรม (นิศามาศ เลาหรัตนาหิรัญ, กฤช จรินโท, และบรรพต วิรุณราช,
2559) ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจโรงแรม
ซึ่งถือว่าเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์สามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม (Elder and Olsen, 2019, p.70) แต่ยังเป็นการศึกษาระดับย่อยเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ เรื่องอื่น
ได้แก่ เรื่องความพร้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลในการด าเนินงานโครงการเมืองน่าอยู่ด้าน
สิ่งแวดล้อม จังหวัดราชบุรี (อุบล จันทร์เพชร, 2543) เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการด าเนินงานด้าน
สิ่งแวดล้อม: โครงการเมืองน่าอยู่ เทศบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (วารุณี พิมพา, 2545) เรื่องสิทธิชุมชนในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: จากจารีตปฏิบัติสู่การปฏิรูปการเมืองไทย
(สุภาวดี แก้วประดับ, 2546) เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืนขององค์การพัฒนาเอกชนไทยและอินโดนีเซีย (รจนา ค าดีเกิด, 2561) งานวิจัยเหล่านี้ ยังไม่ได้ศึกษาไป
ถึงในระดับการควบรวมเอาทุกภาคส่วนเข้าไปสู่กระบวนการตัดสินใจ ตามกรอบของการเมืองสิ่งแวดล้อม ที่ว่า
การเมืองสิ่งแวดล้อม คือ พื้นที่ที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมตัดสินใจ (DeSombre, 2020, p.2) โดยอาศัยความสัมพันธ์
ของรัฐ ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม (Simpson, 2020) รวมทั้ง
ยังไม่ได้ศึกษาในเชิงความร่วมมือไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะการสมดุลสามเสาหลักนั้น มีความ
ท้าทายด้วยปัจจัยที่ส าคัญ คือ สถาบันและตัวแสดงที่ขับเคลื่อนและความร่วมมือของทุกภาคส่วน จึงควรมี
ระบบหรือกลไกที่มั่นใจได้ว่าภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในสังคมได้เข้าร่วมในการตัดสินใจเรื่องการพัฒนาใน
ระดับประเทศ (Breuer et al., 2019)
189