Page 198 - kpiebook65022
P. 198

แบบมีส่วนร่วมหรือแบบไม่มีส่วนร่วม การจัดเวทีเสวนา การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น ขณะที่งานวิจัย
               ต่างประเทศมีหลากหลายทางวิธีการเพื่อให้ได้ค าตอบของการวิจัย ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากประเด็นการวิจัยที่มี

               ความหลากหลายด้วย นอกเหนือจากวิธีการที่นักวิจัยไทยใช้แล้ว นักวิจัยในต่างประเทศยังมีการน าเทคนิคและ
               เครื่องมืออื่นมาใช้ในการวิจัย เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การอภิปราย
               การอภิปรายแบบโต๊ะกลม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสร้างกรอบการเรียนการสอนแบบ Blog-based Design
               หรือการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Comparative Analysis: QCA) ด้วย Fuzzy-

               set Value และ Truth Table หรือการใช้โปรแกรม ATLAS.ti และ NVivo เพื่อเข้ารหัสข้อมูลเชิงคุณภาพหรือ
               สร้างรหัสเฉพาะเรื่องที่ส าคัญ

                       หากเปรียบเทียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ วิธีเชิงปริมาณที่นักวิจัยไทยใช้ยังอยู่ในวงจ ากัดของระเบียบวิธี
               เช่นกัน เช่น การเก็บแบบสอบถามแบบเจาะจงโดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ความ
               แปรปรวนทางเดียว หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เพื่อประเมินระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วม โดย

               วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ขณะที่การ
               เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของนักวิจัยต่างประเทศหากเก็บข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ หรือความแตกต่าง
               ค่าเฉลี่ยก็จะเป็นภาพใหญ่อย่างการวิจัยเชิงส ารวจหรือการออกเสียงประชามติ หรือมีกระทั่งการสร้าง

               แบบจ าลองทางสถิติแล้วเก็บข้อมูลมาทดสอบแบบจ าลอง
                       หากเปรียบเทียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน วิธีแบบผสมที่นักวิจัยไทยใช้คือการศึกษานั้นมีการเก็บข้อมูล

               และวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น ใช้แบบส ารวจวัดความรู้และสัมภาษณ์ด้วย หรืองานวิจัยบาง
               ชิ้น มีการใช้เทคนิคการวิจัยที่แตกต่างมากขึ้น เช่น การใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก
               ส่วนการวิจัยแบบผสมของนักวิจัยในต่างประเทศผู้วิจัยเห็นว่าความซับซ้อนของกระบวนการวิจัยอาจไม่ต่างกัน

               มากนัก แต่แหล่งข้อมูลที่ใช้กว้างขวางมากกว่าที่นักวิจัยไทยใช้ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์
               จากฐานข้อมูลแล้วน ามาวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ
               เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส ารวจจากฐานข้อมูลของประเทศ แล้วน าข้อมูลมาวิเคราะห์ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อ
               ตัวแปรตาม และน ามาวิเคราะห์การถดถอยตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นต้น


               6.3 วิเคราะห์องค์ความรู้การเมืองสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                       การวิเคราะห์ส่วนนี้เพื่อตอบค าถามว่าองค์ความรู้จากฐานข้อมูลที่ส ารวจตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน
               แล้ว หรือไม่ อย่างไร ส าหรับงานวิจัยไทยจะน าไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มด้วย

                       เมื่อจ าแนกประเภทของประเด็นงานวิจัยแต่ละช่วงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ค.ศ.1975-1985, 1986-
               1996, 1997-2006, 2007-2021 ตามประเด็นสิ่งแวดล้อมของ Fahey and Pralle (2016) อาจกล่าวได้ว่า

               ประเด็นที่พบส่วนใหญ่ในแต่ละช่วงอยู่ในประเด็นอื่น ๆ ส าหรับงานวิจัยต่างประเทศ ส่วนงานวิจัยไทยหาก
               สังเกตจ านวนงานวิจัยแต่ละประเด็น แต่ละช่วงปี แวดวงวิชาการน่าจะให้ความส าคัญกับเรื่องของ
               ทรัพยากรธรรมชาติและความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ดังเห็นชัดเจนในช่วงปี ค.ศ.2007-2021 ตลอดจน
               ภาพรวมของทุกช่วงปี ก็เป็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ตามมาด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และประเด็นมลพิษ

               ส่วนงานวิจัยจากต่างประเทศ พอที่จะคาดเดาทิศทางของงานวิจัยได้ว่าประเด็นหลัก ๆ ส่วนใหญ่ คือ งานวิจัย
               ในกลุ่มอื่น ๆ (เช่น พรรคการเมือง นโยบายสิ่งแวดล้อม การเมืองสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศ) ตามมา
               ด้วยดังเห็นชัดเจนในช่วงปี 1997-2006 และ 2007-2021 ส่วนประเด็นที่แวดวงวิชาการ ดูจะให้ความส าคัญ





                                                           185
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203