Page 194 - kpiebook65022
P. 194

พินิจ ลาภธนานนท์, 2563; กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว, 2560) มีการศึกษาเกาะเกี่ยวกับโครงสร้างที่จับต้องได้
               โดยศึกษาพลวัตการเคลื่อนไหวของประชาชนที่เชื่อมโยงกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2540 และ ฉบับ

               2550 เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกหลายชิ้นในช่วงนี้ที่มีการวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จ านวน
               4 ชิ้น ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประสิทธิผลเชิงกระบวนการของการประเมินผลกระทบ
               สิ่งแวดล้อมของโครงการด้านบริการชุมชนและที่พักอาศัยในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา (จิราภรณ์ ปิ่นวิเศษ,
               2561) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพระหว่าง

               ประเทศไทยและต่างประเทศ (คนางค์ คันธมธุรพิจน์, กานดา ปิยจันทร์, และสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, 2561)
               การตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม (โสภณพิสุทธิ์
               จิตจ า และสถาพร สระมาลีย์, 2563) เรื่องปัญหาทางกฎหมายในระบบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วนิดา
               พรมหล้า, 2564)

                       นอกจากนี้ ประเด็นมลพิษ ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภัยพิบัติ และประเด็นอื่น ๆ แม้

               ยังมีการศึกษาวิจัยในประเด็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในแบบเดี่ยว ๆ หรือศึกษาเกี่ยวกับความ
               ตระหนักหรือความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการมลพิษ แต่มีงานวิจัยไม่น้อยที่พยายามศึกษาในเชิงนโยบาย
               โครงสร้าง หรือกลไก เช่น ประเด็นมลพิษ เรื่อง กลไกทางสังคมเพื่อผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม:

               กรณีศึกษา การฟ้องร้องคดีปัญหาสิ่งแวดล้อมของมาบตาพุด (เคนซูกะ ยามากูชิ, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, สุรศักดิ์
               โจถาวร, มนัสกร ราชากรกิจ, และวิลาศ นิติวัฒนานนท์, 2563) ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
               เรื่อง เรื่องนโยบายการบริหารเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ด้วยนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
               ของกรุงเทพมหานคร (สุมน ฤทธิกัน, 2562) หรือประเด็นภัยพิบัติ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการภัย
               พิบัติดินโคลนถล่มของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ภาคใต้ (กฤษฎา พรรณราย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, 2561)

               เป็นต้น

                       งานวิจัยไทยกับอุปสรรคของการเมืองสิ่งแวดล้อมไทย

                       การวิเคราะห์ส่วนนี้เพื่อตอบค าถามว่างานวิจัยไทยมีการศึกษาเพื่อแก้ไขหรือรับมือกับอุปสรรคที่พบ
               ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมไทยหรือไม่ อย่างไร ส าหรับอุปสรรคที่พบแบ่งเป็นอุปสรรคในภาพรวม อุปสรรคของ
               ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ

                       ในภาพรวมของการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น พบอุปสรรคในภาพรวมทั้งประเทศ
               ได้แก่  1) มุมมองในการพัฒนาทั้งเชิงนโยบายและระดับปัจเจก ยังเน้นรายได้และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็น

               หลัก  2) ขาดระบบข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นที่ยอมรับได้ร่วมกัน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเคมี
               การเกษตรกับเกษตรอินทรีย์ แนวทางแบบใดตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง หรือข้อมูลกรณีหมอก
               ควันพิษจากการเผาป่าจริง ๆ แล้วมีสาเหตุจากที่ใด การท า Zero burn ช่วยแก้ปัญหาจริงหรือไม่อย่างไร หรือ

               กรณีท าไร่เลื่อนลอย ตกลงว่าข้อดีและข้อเสียเป็นอย่างไรในมุมของการพัฒนาที่ยั่งยืน  3) ขาดการสร้างพื้นที่
               ตรงกลางที่มีกติกาเป็นธรรมร่วมกัน ท าให้ไม่เข้าใจความต้องการที่แตกต่าง และน าไปสู่ความขัดแย้งและลด
               โอกาสที่จะเกิดความร่วมมือจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

                       เมื่อพิจารณางานวิจัยไทยที่ถูกจัดอยู่ในประเด็นความยั่งยืนที่มีจ านวน 5 ชิ้น พบว่า ในสาระของ
               งานวิจัยเป็นการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและการมีส่วนร่วมของบุคคลที่มีผลต่อโครงการด้านความยั่งยืนของรัฐ

               เช่น ความพร้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบลในการด าเนินงานโครงการเมืองน่าอยู่ด้านสิ่งแวดล้อม
               จังหวัดราชบุรี (อุบล จันทร์เพชร, 2543) หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการด าเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม:




                                                           181
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199