Page 191 - kpiebook65022
P. 191
สิ่งแวดล้อมโลก กรณีศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ าที่มีความส าคัญระหว่างประเทศในประเทศไทย (สุชาดา วัฒนา, 2550)
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ชุมน้ าท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย และจังหวัดกระบี่ ว่าถูกน าไปเป็นพื้นที่ชุมน้ าโลกอย่างไร
และโดยสถาบันใด เรื่องรูปแบบการเมืองภาคประชาชนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของกลุ่มพื้นบ้านเขตเลเส
(สี่) บ้าน จังหวัดตรัง (ปิยาณีย์ เพชรศรีช่วง, 2557) ที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเมืองภาคประชาชนในการ
ปกป้องทรัพยากรชายทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน และเรื่องอันดามัน: ความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิง
วัฒนธรรม การเมืองเรื่องความรู้และความเป็นธรรมทางสังคมด้านสุขภาวะ (ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, 2559)
ที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรมและสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้าน อย่างไรก็ดี
แม้งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2550-2559 ในประเด็นทรัพยากรจะมีอยู่หลายชิ้น แต่ยังเป็น
การศึกษาการเคลื่อนไหวในระดับประชาชนที่ยังขาดการเชื่อมโยงกับรัฐและศึกษาในพื้นที่เฉพาะที่เป็นหน่วย
ย่อย ขณะที่ประเด็นที่พบจากการสัมภาษณ์จะเป็นการตัดสินใจในระดับนโยบายที่กระทบต่อหลายภาคส่วน
แต่ยังไม่ได้รับการค้นหาค าตอบ เช่น โครงการทวงคืนผืนป่าได้ท าให้เกิดผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
อย่างไร มีความคุ้มค่าและน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้จริงหรือไม่อย่างไร แผนแม่บทในการจัดการน้ า 3.5 แสนล้าน
หรือแผนบริหารจัดการน้ าของประเทศมีพัฒนาการมาอย่างไร เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ
หรือไม่อย่างไร เป็นต้น
ประเด็นพลังงาน แม้รัฐธรรมนูญจะเปิดกว้างให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
แต่เมื่อสถานการณ์การเมืองพลิกผันไปสู่การรัฐประหาร ท าให้การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมถูกจ ากัดอีกครั้ง
ด้วยกลไกค าสั่งมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว พ.ศ.2557 ท าให้มีประกาศหรือค าสั่ง คสช. ออกมา
จ านวนมาก ประกาศเหล่านี้เป็นผลให้มีการควบคุมถึงในระดับจังหวัดท าให้การขับเคลื่อนของชุมชนด้าน
สิ่งแวดล้อมมีข้อจ ากัด ยกตัวอย่างเช่น ค าสั่งหัวหน้า คสช. 4/2559 เรื่องโรงไฟฟ้าและโรงงานจัดการขยะ
ยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองกับโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ท าให้ผังเมืองเดิมที่เกิดจากข้อตกลง
ของชุมชนและเป็นไปตามหลักผังเมืองถูกเปลี่ยนไป การยกเว้นท าให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งอาจเกิด
ผลกระทบต่อชุมชนและยังเป็นปัญหาต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 – 2564 งานวิจัยประเด็นพลังงานที่พบใน
ประเทศไทยช่วงนี้มีจ านวน 1 ชิ้น ได้แก่ เรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน
จังหวัดน่าน ต่อโครงการโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสา (รุ่งทิวา หนักเพ็ชร, 2556) ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่น าไปสู่การ
เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดน่าน พบว่า ปัจจัยที่น าไปสู่การ
เคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหว คือ ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการทั้งที่อาจได้รับผลกระทบ จึงมี
การเคลื่อนไหวผ่านการประชุม การรวมตัว ตลอดจนการยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาใน
รายละเอียดจะเห็นได้ว่างานวิจัยยังเป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเช่นกัน หากแต่ในความ
เป็นจริงแล้วประเด็นพลังงานจากการสัมภาษณ์ที่พบในช่วงนี้มีความยึดโยงกับการตัดสินใจของรัฐในสภาวะ
การเมืองที่ไม่ปกติ จึงเป็นค าถามต่อการศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นพลังงานว่า การตัดสินใจใน
ประเด็นพลังงานในภาวะการเมืองที่ปกติและไม่ปกติต่างกันอย่างไรบ้าง ทั้งในเชิงระยะเวลา จ านวนโครงการ
พื้นที่ และภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และการตัดสินใจในภาวการณ์ทั้งสองแบบกระทบกับเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืนและภาพลักษณ์ในเวทีโลกอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้มีงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่สะท้อนการเมือง
สิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงและเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเมืองไม่
ปกติ
ประเด็นความยั่งยืน พบว่า ในช่วงรัฐประหารหลังปี พ.ศ.2557 การลงทุนทางเศรษฐกิจยิ่งเปิดกว้าง
มากขึ้น แม้ยุคก่อนหน้านี้นโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทยน าสิ่งแวดล้อมเสมอ กรณีที่พบช่วงนี้เช่น กลุ่ม
178