Page 186 - kpiebook65022
P. 186

ส าหรับประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นวิกฤต ได้แก่ กฎหมายและกลไกต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ.
               ชุมนุมฯ มีลักษณะจ ากัดสิทธิและการมีส่วนร่วม ท าให้การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประชาสังคมถูก

               จ ากัด แม้รัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วม แต่กฎหมายระดับรองกลับออกมาจ ากัดสิทธิ หรือวิกฤต
               กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ทั้งเชิงกระบวนการและเนื้อหายังถูกบิดเบือนไปมากและ
               จ าเป็นต้องมีการทบทวนระบบใหม่ เพื่อให้มีกติกาที่ยุติธรรมและเป็นกลาง นอกจากนี้ มีวิกฤตเรื่องการ
               เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อการกัดเซาะชายฝั่งและภัยพิบัติที่คนเข้าไปมีส่วนท าให้ภัยพิบัติมีความ

               รุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือประเด็นความยั่งยืน ที่ก าหนดทิศทางการพัฒนาของรัฐบาลในแต่ละยุคยังขาดความ
               ชัดเจนและขาดเสถียรภาพ

                       6.1.2  งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อม

                       จากงานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจาก 3 ฐานข้อมูล ที่พบในช่วงระยะเวลา 30 ปี หาก

               พิจารณาในช่วง 10 ปีแรก คือ ช่วงปี พ.ศ.2535 - 2544 พบงานวิจัยที่เน้นในการขับเคลื่อนในเรื่องของความ
               ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และเรื่องของความยั่งยืน ในช่วงปี พ.ศ.2545 จนถึง
               ในปัจจุบันประมาณ 20 ปี ประเด็นยังคงเป็นเรื่องของความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ที่

               เพิ่มเข้ามาเป็นในเรื่องของประเด็นมลพิษ แสดงให้เห็นว่าประเด็นศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
               ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาในภาพรวม มีความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวจริงที่ได้ข้อมูลจากการ
               สัมภาษณ์และประชุมกลุ่ม ในประเด็นที่ว่าอะไรเป็นวิกฤติเร่งด่วนและต้องได้รับการแก้ไขปัญหา

                       ประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมมีการศึกษาวิจัยในแง่ของกระบวนการการเคลื่อนไหวของ
               การเมืองภาคประชาชน การเมืองภาคประชาสังคม โดยที่มีการต่อสู้การเรียกร้องความเป็นธรรมทางด้าน

               สิ่งแวดล้อมเข้ามา โดยจะมีกรณีศึกษาต่าง ๆ อาทิเช่น กรณีศึกษาการขับเคลื่อนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่
               อุดรธานี การขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวของชนพื้นต่อการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
               ที่แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ หรือการเคลื่อนไหวของประชาชนในจังหวัดระยอง ส าหรับประเด็น
               ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน ประชาชนที่เข้ามาขับเคลื่อนและ
               เคลื่อนไหวเพื่อที่จะมาร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ทั้งทรัพยากรน้ า ป่าไม้ อาทิเช่น

               การขับเคลื่อนเรื่องการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ที่มีการพัฒนาแหล่งน้ าตามศักยภาพลุ่มน้ าที่จังหวัดชัยภูมิ หรือ
               การจัดการน้ าที่แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ หรือการเคลื่อนไหวในประเด็นของการทวงคืนผืนป่าที่จังหวัดเชียงใหม่
               หรือการเคลื่อนไหวในกรณีเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานี หรือกรณีการเคลื่อนไหวของเขื่อนปากมูลที่จังหวัด

               อุบลราชธานี

                       ประเด็นที่พบว่ามีจ านวนงานวิจัยเท่า ๆ กันเป็นเรื่องมลพิษ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของบทบาทภาค
               ประชาชน ประชาสังคมในการจัดการปัญหามลพิษต่าง ๆ  ทั้งมลพิษทางน้ า ทางอากาศ คือ การจัดการขยะ
               และสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ กรณีศึกษาอย่างเช่น การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนในพื้นที่อ าเภอแม่เมาะ
               จังหวัดล าปาง มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเช่นกันในด้านการจัดการมลพิษ เช่น การศึกษากรณีฟ้องร้อง

               คดีที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรม หรือการศึกษา
               การคัดค้านโรงงานก าจัดขยะมูลฝอยครบวงจรที่อ าเภอ ดอยสะเก็ดที่จังหวัดเชียงใหม่

                       ส าหรับประเด็นอื่น ๆ เช่น เรื่องพรรคการเมือง ที่ศึกษาการขับเคลื่อนนโยบายของพรรคการเมืองใน
               ด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาความร่วมมือระหว่างไตรภาคีของกรุงเทพมหานครในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
               หรือการศึกษาวิจัยในเรื่องของความยั่งยืนที่เป็นโครงการวิจัยในลักษณะที่เป็นศึกษาวิจัยเรื่องเมืองน่าอยู่ด้าน



                                                           173
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191