Page 184 - kpiebook65022
P. 184

หลังจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 เป็นต้นมาจนมาถึงฉบับที่ 5 เป็นช่วงที่มีการใช้ทรัพยากรเป็น
               จ านวนมากท าให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างหนัก แล้วมีการขยายความเป็นเมืองของประชาชนมากยิ่งขึ้น

               เรื่อยมา ประกอบกับในวาระสิ่งแวดล้อมในเวทีโลกมีการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น ปี พ.ศ.
               2535 มีการประชุมที่เมืองริโอเดอจาเนโร ได้มีอิทธิพลต่อการเกิด NGOs ด้านสิ่งแวดล้อม และมีสื่อมวลชน
               เกิดขึ้นมากมาย ขณะเดียวกันในประเทศไทยก็มีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
               พ.ศ.2535 ซึ่งมีสาระส าคัญเกี่ยวกับเรื่องการประเมินผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นกลไกที่ส าคัญแต่

               ก็มีประเด็นถกเถียงที่มากมายในเชิงปฏิบัติเช่นกัน

                       ต่อมา ในยุคที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ที่ถูกขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับการมี
               ส่วนร่วม เพราะเกิดการรับรองสิทธิชุมชน ท าให้ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมาก
               ยิ่งขึ้น มีช่องทางของการมีส่วนร่วม มีกลไกเกี่ยวข้องกับการรับรองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น สถานการณ์
               การเมืองสิ่งแวดล้อมยิ่งเป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 เพราะตัดค าว่า “ทั้งนี้ตามที่

               กฎหมายบัญญัติ” ออก ท าให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมเกิดได้ทันที แต่แล้วกลับเกิด
               ความชะงักงันในปี พ.ศ.2557 ที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 สถานการณ์
               การเมืองสิ่งแวดล้อมส าหรับภาคประชาชนกลับดูเหมือนแย่ลง แม้ว่าจะมีการรับรองสิทธิของประชาชนไว้ก็ตาม

                       ส าหรับประเด็นที่เป็นความส าเร็จด้านการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย สรุปว่า เป็นเรื่อง
               ของมลพิษ พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม และความยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องมลพิษ มีทั้งใน

               ส่วนของความร่วมมือและความส าเร็จในการคัดค้านของภาคประชาชน เชิงความร่วมมือเช่น ในพื้นที่ของ
               อ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี ที่มีการท าธรรมนูญชุมชนของอ่าวอุดมขึ้นมา เกิดจากความร่วมมือระหว่างชุมชนและ
               ภาคเอกชนในพื้นที่ว่า จะจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ร่วมกันอย่างไร แต่กว่าจะเกิดความร่วมมือได้นั้นคนในพื้นที่

               ก็ต้องเผชิญความยากล าบากมาอย่างยาวนานเช่นกัน ส่วนความส าเร็จในเชิงคัดค้านหรือเรียกร้องของภาค
               ประชาชน เช่น การเรียกร้องของชาวบ้านที่คลิตี้เพื่อให้มีการเยียวยาในเรื่องของมลพิษจากโรงงานไฟฟ้า หรือ
               ความส าเร็จเช่นในกรณีของมาบตาพุด จังหวัดระยองที่มีการใช้กลไกทางรัฐธรรมนูญฟ้องร้อง 76 โครงการ
               แล้วศาลมีค าสั่งให้ระงับโครงการนั้นไว้ก่อน

                       ความส าเร็จประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งในเชิงความร่วมมือและการคัดค้านเช่นกัน ในเชิงความ

               ร่วมมือ เช่น ประชาชนร่วมมือกับภาครัฐในโครงการอนุรักษ์ป่าไม้ หรือท าโครงการในลักษณะที่คนอยู่ร่วมกัน
               กับป่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เช่น โครงการจอมป่าโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียรที่ได้ท าร่วมกับชุมชน มีการตั้งกติกา
               ร่วมกันว่าจะจัดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ฉนวน ที่ชุมชนจะเข้าไปใช้ประโยชน์ได้แต่จะต้องไม่รุกล้ าเข้าไปในเขตป่าที่
               ตกลงกันไว้ ส่วนความส าเร็จในมุมการคัดค้าน เช่น การคัดค้านของภาคประชาชนที่ไม่ให้มีการสร้างเขื่อนแก่น

               เสือเต้น ส าหรับความส าเร็จด้านพลังงาน เช่น เรื่องพลังงานสีเขียวในพื้นที่ภาคใต้ในจังหวัดพังงาที่มีการ
               ขับเคลื่อน แม้ความส าเร็จยังอยู่เพียงช่วงเริ่มต้นแต่ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ขณะเดียวกันก็มีความส าเร็จในเชิง
               ของการรวมตัวคัดค้าน เช่น ภาคประชาชนคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก เป็นต้น

                       ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเกษตรกรรม มีความส าเร็จในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีการลดใช้สารเคมีใน
               ภาคการเกษตรที่น าไปสู่ความยั่งยืนได้ ส่วนความส าเร็จในเรื่องของความยั่งยืน เช่น มีการพยายามแต่งตั้งพวก

               คณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งในประเทศไทยมีการ
               แต่งตั้ง แต่ในการขับเคลื่อนอาจต้องติดตามต่อไป







                                                           171
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189