Page 183 - kpiebook65022
P. 183
บทที่ 6
สรุป วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ
โครงการวิจัย “สถานภาพองค์ความรู้ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม” เป็นการวิจัยในประเด็นที่ค่อนข้าง
กว้าง คือ การเมืองสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนของการเมืองสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีค าถามส าคัญ
ว่างานวิชาการกับการเคลื่อนไหวจริง มีช่องว่างในประเด็นการศึกษาอะไรบ้างและอย่างไร วัตถุประสงค์ของ
งานวิจัยจึงเป็นไปเพื่อวิเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีวิธีวิจัย 3 วิธี วิธีแรก เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนจากภาควิชาการ
ภาครัฐ และภาคประชาสังคม สัมภาษณ์ในประเด็นวิวัฒนาการ กรณีที่ประสบความส าเร็จ ปัญหาและอุปสรรค
กรณีที่เป็นวิกฤตเร่งเด่วน และข้อเสนอแนะ ซึ่งผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 13 ท่าน
ส่วนวิธีที่สอง เป็นการสนทนากลุ่ม เพื่อน าเสนอข้อค้นพบเบื้องต้นจากการสัมภาษณ์และการส ารวจองค์ความรู้
ด้านการวิจัย ในกลุ่มเป้าหมายตัวแทนจากภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมเช่นกัน จากภาคเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แล้วให้กลุ่มเป้าหมายสะท้อนความเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ
ต่อข้อค้นพบ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่อการเมืองสิ่งแวดล้อม ทั้งในเชิงการเคลื่อนไหวจริงและเชิงวิชาการ
ซึ่งผู้วิจัยได้ท าการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 49 ท่าน และ วิธีที่สาม เป็นการทบทวนและ
วิเคราะห์งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและต่างประเทศ จากบางฐานข้อมูล โดยมีการทบทวน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเมืองสิ่งแวดล้อมที่มีระเบียบวิธีวิจัยชัดเจนทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 195 ชิ้น
ส าหรับการน าเสนอเนื้อหาต่อไปนี้ เริ่มจากการสรุปผลการศึกษาทั้งในเชิงมุมมองและการเคลื่อนไหว
จริงในประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมไทย และสรุปผลจากงานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมที่พบ ส่วนต่อมาเป็นการ
วิเคราะห์องค์ความรู้ที่ส ารวจได้กับการเคลื่อนไหวเชิงการเมืองสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง ว่ามีความสอดคล้องกัน
หรือไม่อย่างไร ต่อด้วยการวิเคราะห์ว่าองค์ความรู้การเมืองสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่นั้น ตอบโจทย์การพัฒนาอย่าง
ยั่งยืนหรือไม่อย่างไร ในส่วนสุดท้ายเป็นข้อเสนอแนะจากผู้วิจัยทั้งในเชิงนโยบาย การปฏิบัติ และเชิงวิชาการ
6.1 สรุป
6.1.1 มุมมองและการเคลื่อนไหวจริงของการเมืองสิ่งแวดล้อมไทย
การเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็นสามช่วงตามเอกสารส าคัญอย่างแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะการเมืองสิ่งแวดล้อมยึดโยงกับการ
พัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีการใช้ทรัพยากร ซึ่งโยงไปถึงกฎหมายในประเทศที่ว่าจะก าหนดให้การจัดการ
ทรัพยากรใครเป็นผู้จัดการ อย่างเช่นในยุคแรก ที่เป็นยุคโบราณจนถึงก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 การ
จัดการสิ่งแวดล้อม ค่อนข้างมีความเสรี ภาคชุมชนหรือประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วง
ปลายยุคการจัดการสมัยใหม่เข้ามาตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภาครัฐก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเป็น
ผู้จัดการทรัพยากร เช่นช่วงประมาณปี พ.ศ.2500 หรือก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 มีกฎหมาย
เกี่ยวกับพระราชบัญญัติทรัพยากรป่าไม้ขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่ท าให้ภาครัฐเป็นตัว
แสดงหลักในการจัดการทรัพยากร ส่วนประชาชนถูกจ ากัดการเข้าถึงหรือเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ได้ยากขึ้น
170