Page 178 - kpiebook65022
P. 178
เขื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวกับบทบาททางสุนทรียศาสตร์และความเป็นอัตลักษณ์ในภูมิประเทศ
นอกจากนี้ การฟื้นฟูเขื่อนในภูมิประเทศที่มีมนุษย์อาศัยมาช้านานจะท าให้เกิดความไม่ลงรอยของมนุษย์และ
ตัวแสดงที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่ให้ความสนใจกับการเมืองและวัฒนธรรม ตลอดจนระบบนิเวศของการฟื้นฟู (Fox et
al., 2016) หรือ Inoue พบว่า การต่อสู้เกี่ยวกับประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่พยายามที่จะปกป้อง
อีกโลกหนึ่ง เพื่อให้ความหลายหลายทางชีวภาพยังคงอยู่ไปพร้อมกับภาษา ประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งมีความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์และผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัย ภายใต้ยุคการล่าอาณานิคมในรูปแบบที่หลากหลาย การ
ขยายเมืองหลวง หรือแม้กระทั่งการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ นักวิชาการด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ชี้ให้เห็นถึงความกดดันต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ความหลายหลายทางชีวภาพลดลง
ส าหรับชนเผ่าพื้นเมืองในป่าอเมซอนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาและต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในโลกที่มีความ
หลากหลาย และต้องเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ให้ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (Inoue, 2018)
นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศ อย่างการศึกษาพันธะสัญญาต่อ
ข้อตกลงว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของชาวเกาะในแปซิฟิกที่เกิดขึ้นแล้ว และควรมีการศึกษาติดตาม
การออกกฎหมายในภูมิภาคแปซิฟิกเพื่อให้เกิดผลที่ตามมาที่กว้างขวางขึ้น (Gruby and Campbell, 2013)
หรือข้อเสนอแนะในเชิงการปรับปรุงเชิงโครงสร้างส าหรับกรณีที่มีความซับซ้อนยุ่งเหยิง ดังกรณีการอพยพปลา
คาร์ฟเอเชียเข้าไปยังพื้นที่ Great Lake ของสหรัฐอเมริกา มีการเสนอให้ออกกฎระเบียบเพื่อรื้อปรับโครงสร้าง
การจัดการปลาคาร์ฟเอเชีย รวมถึงโครงสร้างทางวัตถุของอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาด้วย (Alba, Besak, 2019)
ล าดับที่แปด ประเด็นความยั่งยืน (Sustainability)
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านความยั่งยืน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการ
ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกรณีศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ จากการ
ค้นคว้าเอกสารวิจัยเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อมจาก 2 ฐานข้อมูล พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นความ
ยั่งยืน จ านวน 4 เรื่อง ซึ่งมีสาระส าคัญโดยสรุป ดังนี้
1) งานวิจัยเกี่ยวกับความยั่งยืน ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทตัวแสดงต่าง ๆ กับงานวิจัย
เชิงวาทกรรม โดย งานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของตัวแสดงต่าง ได้แก่ Environmental communication and
the cultural politics of environmental citizenship (Burgess and Harrison, 1998) ที่ศึกษาเปรียบเทียบ
การแสดงออกของตัวแสดงด้านสิ่งแวดล้อมจากสองเมืองในสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ว่ามีแนวคิด
เกี่ยวกับความยั่งยืนหรือไม่อย่างไร กับงานวิจัย Contradictions of Citizenship and Environmental
Politics in the Arabian Littoral (Simpson, 2020) ที่ศึกษาเกี่ยวกับข้อจ ากัดของความเป็นพลเมืองใน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมุ่งเน้นศึกษาในเรื่องของการ
ขาดแคลนน้ า การขาดแคลนอาหาร มลพิษทางทะเล ตลอดจนการพึ่งพาอาศัยอุตสาหกรรมน้ ามันและก๊าซ
ธรรมชาติ และการจัดการกับความท้าทาย ภายใต้กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (Gulf
Cooperation Council: GCC) เพื่อการปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
ส าหรับ งานวิจัยเชิงวาทกรรม ได้แก่ The Politics of Environmental Education. Critical
Inquiry and Education for Sustainable Development (Payne, 2016) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการตั้งค าถาม
การวิพากษ์ และการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับงานวิจัย The Anti-politics
of Sustainable Development: Environmental Critique from Assemblage Thinking in Bolivia
(Hope, 2020) ศึกษาเกี่ยวกับทดสอบการประยุกต์ใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
165