Page 173 - kpiebook65022
P. 173

ดังนั้น ความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในตุรกีจึงเป็นได้เพียงการท าความเข้าใจในบริบทของเอกลักษณ์ประจ าชาติ
               และพรรคการเมือง (Knudsen, 2015) หรือข้อค้นพบว่า การขับเคลื่อนกิจกรรมสิ่งแวดล้อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับ

               เพียงแค่เฉพาะประเด็นสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ แต่ยังเกี่ยวข้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนกิจกรรมของผู้
               ต้องการเข้าร่วมเอง จากกรณีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน (People’s Movement) ที่ร่วมกันต่อต้าน
               โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ The Black Sea Coast โดยนักเคลื่อนไหวกิจกรรมจ าเป็นต้องระมัดระวังใน
               ประท้วงหรือต่อต้าน เนื่องจาก อาจโดนข้อกล่าวหาในการเป็นผู้สร้างความแตกแยกให้กับประเทศ (Knudsen,

               2016)

                              ขณะเดียวกัน ภาครัฐที่น านโยบายไปปฏิบัติแม้มีบทบาทและอ านาจแต่ยังไม่สามารถ
               ด าเนินการได้เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังพบว่า อุตสาหกรรมก๊าซจากชั้นหินได้ก่อให้เกิดข้อพิพาทที่ส าคัญใน
               หลายระดับ รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็พยายามที่จะแก้ไขข้อพิพาท ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุด เช่น
               ศักยภาพในการปนเปื้อนของน้ าใต้ดิน คุณภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการก าจัดน้ าเสีย

               ซึ่งภารกิจได้ตกเป็นของหน่วยงานก ากับดูแลระดับชาติ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้อาจเหมาะสมที่สุดในการประสาน
               ระเบียบข้อบังคับดังกล่าว แต่ความสามารถในการให้ค าปรึกษาสาธารณะ (Public Consultation) ยังคงมี
               จ ากัด (Beebeejaun, 2019)

                              ส าหรับภาคประชาชนทั่วไป มีข้อค้นพบเกี่ยวกับเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง
               ดังผลการศึกษาของ Nelson et al. ที่พบปัจจัยต่อต้านของพลเมืองต่อโครงการด้านพลังงานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น

               ตามกรอบ FACT sitting framework ทั้งนักวิชาการและผู้ปฏิบัติสามารถน าไปใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ในเชิง
               พื้นที่ได้ และยังใช้ในการวางแผนโครงการ ทั้งยังท าให้มีข้อมูลเชิงลึกในเชิงพื้นที่เพื่อประกอบการตัดสินใจ
               (Nelson et al., 2021) หรือแนวทางการยกระดับพลเมืองด้วยการใช้กลไกการรับรู้เพื่อให้คนต้องการมี

               ส่วนร่วมมากขึ้น ดังพบว่า การรับรู้ผลที่ตามมาของภาษีเชื้อเพลิงเกี่ยวข้องกับทั้งประเด็นส่วนบุคคลและสังคม
               ซึ่งอาจคุกคามต่ออัตลักษณ์ส่วนบุคคล ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้อาจช่วยยกระดับกลไกส่วนบุคคลที่เป็นเหตุของการ
               รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเชื้อเพลิง ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้คนอยากเข้าร่วมในเรื่องภาษีเชื้อเพลิงมากขึ้น
               (Westman, 2021)

                              นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะประเด็นพลังงาน ได้แก่ การลงทุนด้านพลังงานลมอาจเป็น

               ทางเลือกส าหรับพลังงานเพื่อทุกคนและการน าไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ (Ramirez, 2020) หรือการ
               เติมเต็มช่องว่างผลการศึกษาของ Nelson et al. ที่การศึกษายังไม่สามารถน าทุกข้อเสนอแนะจากพลเมืองที่
               เกี่ยวข้องใน EIA ของทั้ง 6 โครงการในกรณีศึกษามาใช้ได้ เพราะบางข้อมูลไม่อาจเปิดเผยหรือจ าเป็นต้อง
               ปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล การศึกษาเชิงลึกต่อไปอย่างครบถ้วนทุกความเห็นอาจท าให้ผลการศึกษามีความ

               แตกต่างและน่าสนใจ (Nelson et al., 2021)

                              ล าดับที่หก ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

                              การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็น
               การศึกษาเกี่ยวกับเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการเมืองสิ่งแวดล้อมกับการบริหารจัดการภายใต้นโยบายการ

               เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ จากการค้นคว้าเอกสารวิจัยเรื่องการเมือง
               สิ่งแวดล้อมจาก 2 ฐานข้อมูล พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จ านวน
               8 เรื่อง ซึ่งมีสาระส าคัญโดยสรุป ดังนี้





                                                           160
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178