Page 171 - kpiebook65022
P. 171
คุกคาม ดังข้อค้นพบของ Davis พบว่า ผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมยังคงถูกจัดการไปยังกลุ่มที่แสดงตัวตน
ส่วนการมีอยู่ของผู้สนับสนุนเงินทุนและกลุ่มพันธมิตรบ่อนท าลายความสามารถในการตรวจสอบของกลุ่ม
เหล่านั้น ผลประโยชน์ที่มากที่สุดที่กลุ่มสิ่งแวดล้อมได้รับการเสนอไม่เหมาะสม การศึกษานี้สรุปได้ว่า ข้อค้นพบ
เป็นไปตามแนวคิดพหุนิยมในการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมและหรือภัยคุกคามเพื่อกลุ่มองค์กรการเมืองใน
Siskiyou (Davis, 1997) หรือ Powrie พบว่า กลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่มในนิวซีแลนด์ให้คุณค่ากับอุทยานใน
กรณีศึกษาเพื่อการปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งผลกระทบต่ออุทยานและพื้นที่ศึกษายังไม่มีนัยส าคัญ
มากนักเพราะยังคงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสั้น ๆ (Powrie, 1997) หรือ Gibson and Lehoucq ที่พบว่า ชุมชน
ท้องถิ่นมีการกดดันและรัฐบาลกลางสนับสนุนผู้ว่าการให้ปกป้องผืนป่า ผลส ารวจออกมาว่าผู้ว่าการจัดสรร
เจ้าหน้าที่ให้ดูแลผืนป่าเมื่อรัฐบาลกลางให้ความส าคัญกับเรื่องนี้ รวมทั้ง ผู้ว่าการยังส่งเสริมให้แต่ละคนได้
มีการศึกษามากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ (Gibson and Lehoucq, 2003)
นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยประเด็นทรัพยากรที่ท าให้เห็นว่าในอดีตทรัพยากรอาจ
ไม่ถูกคุกคามมากนัก แต่หากยังไม่มีแผนการจัดการที่ดี การปกป้องคุ้มครองอาจท าได้ยากเพราะมีการเข้าถึง
โดยอิสระ หรือการเข้าถึงก็อาจจ ากัดเฉพาะคนที่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมได้ (Powrie, 1997) รวมทั้ง Grove
เสนอว่าควรมีการศึกษาเรื่องคุณธรรมทางสิ่งแวดล้อมที่จะมีความเป็นไปได้หรือแข็งแกร่งเพียงใดในพื้นที่ของ
การเมืองสิ่งแวดล้อม เพื่อท าให้เกิดนิเวศวิทยาเมืองที่ดี (Grove, 2009)
ล าดับที่ห้า ประเด็นพลังงาน (Energy)
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านพลังงาน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมต่อผลกระทบจากโครงการของรัฐและ/หรือเอกชน โดยมีกรณีศึกษาต่าง ๆ
ทั้งนี้ จากการค้นคว้าเอกสารวิจัยเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อมจาก 2 ฐานข้อมูล พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
พลังงาน จ านวน 10 เรื่อง ซึ่งมีสาระส าคัญโดยสรุปดังนี้
1) งานวิจัยในประเด็นพลังงาน ได้แก่ งานวิจัยประเด็นพลังงานในเชิงโครงสร้างและนโยบาย
กับงานวิจัยประเด็นพลังงานในเชิงบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ งานวิจัยประเด็นพลังงานในเชิงโครงสร้าง ได้แก่
งานวิจัย Policy Advocacy Coalitions as Causes of Policy Change in China? Analyzing Evidence
from Contemporary Environmental Politics (Han et al., 2014) วิเคราะห์ปัจจัยที่ท าให้จีนต้องลดขนาด
โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ าที่แม่น้ านู งานวิจัย Policy Change in Offshore Decommissioning
Governance: Dealing with Environmental Politics and Coping with Ecological Uncertainty (Roos,
2019) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการรื้อถอนกิจการน้ ามันและก๊าซทางทะเลนอกชายฝั่ง Dutch North
Sea เนเธอร์แลนด์ และ Australian Commonwealth Waters ออสเตรเลีย งานวิจัย Questioning the
Local: Environmental Regulation, Shale Gas Extraction, and the Politics of Scale (Beebeejaun,
2019) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการส ารวจและการสกัดก๊าซจากชั้นหิน (Shale Gas) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Fracking
ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในมิติที่ถกเถียงกันมากที่สุดต่อการเมืองสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นในสหราชอาณาจักร งานวิจัย
Governance in energy democracy for Sustainable Development Goals: Challenges and
opportunities for partnerships at the Isthmus of Tehuantepec (Ramirez, 2020) ที่ศึกษากรอบการ
บริหารปกครองด้านพลังงานในที่ประชุมเรื่อง SDG ใน UN และให้แนวทางต่อผู้ก าหนดนโยบายในการออก
แบบความเป็นหุ้นส่วนเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในเม็กซิโก งานวิจัย Increasing fuel taxes as an
identity threat (Westman, 2021) ที่ศึกษาอิทธิพลของการเพิ่มขึ้นของภาษีเชื้อเพลิงในสวีเดน หรืองานวิจัย
158