Page 170 - kpiebook65022
P. 170

เศรษฐกิจของรัฐบาลกับการช่วยเหลือทางเทคนิคของรัฐบาลก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขความขัดแย้งของตัวแสดงใน
               ท้องถิ่น (Fan, 2016)

                              ในส่วนของการออกกฎหมายและการบังคับใช้ ก็เป็นอุปสรรคส าคัญเชิงโครงสร้างที่ท าให้เกิด

               ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากร ดังพบว่า การบังคับใช้ระบอบการปกป้องผืนป่าของชนพื้นเมือง
               (Native Forest Protection Regime: NFPR) ถูกก าหนดรูปร่างโดยไม่เพียงขึ้นอยู่กับว่า การแทรกแซงได้
               เกิดขึ้นหรือไม่โดยองค์กรในระดับที่น้อยกว่าระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการออกแบบกฎหมายและ
               การบังคับใช้ของกฎหมายระดับประเทศและกฎหมายระดับรอง (Milmanda and Garay, 2019) สอดคล้อง

               กับการศึกษาตัวอย่างการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องผืนป่า Argentine Chaco ในประเทศ
               อาร์เจนตินา พบว่า การปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงความท้าทายด้านประชาธิปไตยจากการ
               บังคับใช้กฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ด้วยระบบการกระจายอ านาจ ทั้งกฎหมายหลักและกฎหมาย
               รองที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการแทรกแซงทางการเมือง ทั้งในแง่ของแรงจูงใจ สิ่งจูงใจ และทรัพยากรต่าง ๆ ของระบบ

               ราชการจากผู้มีอิทธิพล (Milmanda and Garay, 2020)

                              ในสภาพการณ์ดังกล่าวจากข้อค้นพบของ Milmanda and Garay หากเกิดขึ้นต่อไปย่อมท า
               ให้เกิดสภาพการณ์ที่ยากต่อการจัดการและแก้ไขปัญหา การปฏิรูปอาจเป็นนโยบายหรือมาตรการหนึ่งที่แต่ละ
               รัฐเลือกน ามาใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายทรัพยากร ดังที่ Siskind ได้ท าการศึกษาการปฏิรูป
               ที่ดินกรณีเทือกเขาแอดิรอนแด็ค (Adirondack Mountains) ของรัฐนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกา ภายใต้การ

               บริหารของผู้ว่าการรัฐ Nelson Rockefeller ในช่วงทศวรรษ 1970 พบว่า ยุคแห่งการปฏิรูปการใช้ประโยชน์
               จากที่ดินในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นการก่อตั้งหน่วยงาน
               หรือองค์กรที่รับผิดชอบขึ้นมาใหม่ที่มีอ านาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายทั้งที่ดินของภาครัฐและเอกชน

               ขณะเดียวกัน หน่วยงานก็ยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจจากนักพัฒนาและผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือ
               กรรมสิทธิ์เท่าไรนัก ดังนั้น การปฏิรูปจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเป็นอย่างมาก
               ต่อบริบทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (Siskind, 2019) สอดคล้องกันกับ Raftopoulos, and Morley ที่พบว่า การท าลาย
               สิ่งแวดล้อมจากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าอเมซอน ประเทศบราซิล ได้ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
               ทั้งระบบนิเวศ และสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่ล้มเหลวของรัฐบาล Bolsonaro ต่อการจัดการปัญหา

               การท าลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Raftopoulos, and Morley, 2020) และในท้ายที่สุด
               ผลกระทบก็ยังคงเกิดขึ้นกับประชาชนอยู่ดี ดังที่ Orr พบว่า ในอเมริกา ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจาก
               ประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างต้องเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือเร่งด่วนมา

               อย่างยาวนาน (Long Emergency) ซึ่งไม่ใช่เพียงวิกฤตการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นความ
               ล้มเหลวอย่างมหาศาลกับองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐและการจัดการสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐหลายยุค
               หลายสมัยของสหรัฐอเมริกา (Orr, 2020)

                              ข้อค้นพบบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ส าหรับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ มีงานวิจัยที่แสดงให้
               เห็นแนวคิดทางการเมืองของกลุ่มองค์กรสิ่งแวดล้อมว่ายากที่จะคาดเดาว่าเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวแบบสุดขั้นหรือ

               เป็นกลุ่มที่ความเป็นธุรกิจเจือปน ดังที่ Hinton พบว่า มุมมองทางการเมืองและอาชีพของกลุ่มตัวอย่างแสดงให้
               เห็นการผสมผสานที่กว้างขวาง ท าให้ไม่อาจแยกได้ว่าเป็นกลุ่มชนชั้นใหม่หรือชนชั้นนายทุน ส าหรับเชิง
               อุดมการณ์กลุ่มผู้น าที่เคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมีอุดมการณ์แบบซ้ายใหม่สุดขั้วและประชาธิปไตยสังคม หรือ
               มีทัศนะเป็นแบบประชานิยม (Hinton, 1984) แต่ไม่ว่ามุมมองของแต่ละกลุ่มจะเป็นอย่างไร ดูเหมือนว่าการ

               แสดงบทบาทของกลุ่มต่าง ๆ เป็นไปในลักษณะการปกป้องผลประโยชน์ของตนหรือในถิ่นที่ตนอยู่เพื่อไม่ให้ถูก



                                                           157
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175