Page 172 - kpiebook65022
P. 172
Sustaining Power after Oil: Environmental Politics and Legitimacy in Qatar, Saudi Arabia and
Kuwait (Zumbraegel, 2021) ศึกษาความชอบธรรมในกระบวนการนโยบายน้ ามันและพลังงานในกลุ่ม
ประเทศอาหรับ ได้แก่ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และคูเวต
ส าหรับงานวิจัยประเด็นพลังงานในเชิงบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ Protests Against
Energy Projects in Turkey: Environmental Activism Above Politics? (Knudsen, 2015) ที่ท าการวิเคราะห์ุ
การเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมกรณีพลังงานในตุรกี งานวิจัย Protests Against Energy Projects in Turkey:
Environmental Activism Above Politics? (Knudsen, 2016) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการประท้วงหรือการ
ต่อต้านเกี่ยวกับโครงการด้านพลังงาน โดยการเคลื่อนไหวหรือการแสดงออกของภาคประชาสังคม และ
ประชาชนที่เห็นด้วยหรือสนับสนุนการต่อต้านโครงการด้านพลังงานในประเทศตุรกี งานวิจัย An
Environmental Unconscious? Nigerian Oil Politics, Autonomous Partial Objects, and Ken Saro -
Wiwa's Sozaboy (Nicholls, 2017) ที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรสิ่งแวดล้อมในประเด็นของการบริหารจัดการ
น้ ามันของประเทศไนจีเรีย หรืองานวิจัย Half-Length and the FACT Framework: Distance Decay and
Citizen Opposition to Energy Facilities (Nelson et al., 2021) ที่ศึกษาเพื่อพัฒนาปัจจัยที่พลเมืองอเมริุกา
ต่อต้านการก่อสร้างด้านพลังงานและพัฒนาเป็นตัวชี้วัด
2) ข้อค้นพบงานวิจัยประเด็นพลังงาน ได้แก่ ข้อค้นพบประเด็นพลังงานในเชิงโครงสร้างและ
นโยบาย และข้อค้นพบเกี่ยวกับบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ โดยข้อค้นพบเกี่ยวกับประเด็นพลังงานในเชิงโครงสร้าง
และนโยบาย จากงานวิจัยที่ส ารวจได้ท าให้เห็นว่ายังมีความไม่ลงรอยกันของภาคส่วนในเชิงโครงสร้างของ
สังคมอันกระทบต่อการด าเนินนโยบาย ดังพบว่า มีความยุ่งยากของความขัดแย้งกรณีโครงการไฟฟ้าพลังงาน
น้ าที่แม่น้ านูในประเทศจีน และยังช่วยอธิบายการเปลี่ยนแปลงนโยบายในรอบศตวรรษที่ผ่านมาได้ว่า
รัฐทั้งหลายและกลุ่มที่ไม่ใช่รัฐได้เข้าร่วมในประเด็นสิ่งแวดล้อมโดยไม่เป็นไปในทางเดียวกันกับความเชื่อทาง
นโยบายเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองกลุ่มเป็นแบบมียุทธศาสตร์แต่ไม่ใช่การ
เรียนรู้ทางนโยบาย ทั้งยังถูกแทรกแซงด้วยหน่วยงานด้านปกป้องสิ่งแวดล้อมของรัฐ (SEPA) ซึ่งเป็นผลต่อการ
เปลี่ยนสถานะของนโยบาย (Han et al., 2014) ซึ่งอาจมีเงื่อนไขที่ท าให้เกิดอุปสรรคนั้น ดังที่พบว่า ความท้าทาย
ที่พบว่า เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยทางพลังงานและชนกลุ่มน้อยจากการศึกษาของ Ramirez คือการขาด
ธรรมาภิบาล อันได้แก่ การคอร์รัปชัน ขาดการตรวจสอบ การเข้าถึงทรัพยากรที่มีอย่างจ ากัด (Ramirez,
2020)
ซึ่งข้อค้นพบของ Ramirez นั้น สะท้อนให้เห็นว่าการท านโยบายพลังงานของรัฐบาลบางครั้ง
ขัดต่อหลักการที่เรียกว่า บริหารปกครองที่ดีหรือธรรมาภิบาล ดังพบว่า กระบวนการนโยบายน้ ามันและ
พลังงานในกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และคูเวต พบว่า ทุกกรณีที่ศึกษาแสดงให้เห็นว่า
แรงจูงใจทางการเมืองในการท านโยบายพลังงานมีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลน้อยมาก
ผู้น าใช้ประเด็นความยั่งยืนในการเพิ่มความนิยมของตน แต่มีความต่างอยู่บ้างในแต่ละกรณี เช่น คูเวตเน้นการ
ตรวจสอบได้ในกระบวนการน าเข้า ซาอุดิอาระเบียเน้นการจัดการบริการสาธารณะ ส่วนกาตาร์เน้นการส่งมอบ
ผลการด าเนินงานด้านความยั่งยืน (Zumbraegel, 2021)
ข้อค้นพบเกี่ยวกับประเด็นพลังงานในเชิงบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ท าให้พบว่า บทบาทและ
อ านาจของกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอาจมีค่อนข้างจ ากัดในการเคลื่อนไหวประเด็นพลังงาน
ยกตัวอย่างเช่นที่พบว่า นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในตุรกีตกอยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ซึ่งท าให้
พวกเขาเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกแบ่งแยกดินแดนหรือทรยศต่อปิตุภูมิ
159