Page 167 - kpiebook65022
P. 167
สิ่งแวดล้อมในชุมชนเมืองแถบตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเอเธนส์ประเทศกรีก งานวิจัย Green Activism in
Red China: The Role of Shanghai’s ENGOs in Influencing Environmental Politics (Grano, 2012)
ศึกษากลุ่มเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมในเซี่ยงไฮ้ของจีนว่ามีบทบาทในการเมืองสีเขียวและผลลัพธ์จาก
กระบวนการเจรจาหรือไม่อย่างไร ง า น วิ จั ย Class and Environmental Justice Politics in the
Demolition of Natal and Michel, 1964-78 (Langford, 2016) ศึกษาเกี่ยวกับความยุติธรรมทาง
สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการรื้อถอนเหมืองถ่านหินในภูมิภาคตะวันออกคูเทเนย์ (The East Kootenay) ของ
แคนาดา ในช่วงปี ค.ศ. 1964 – 1 9 7 8 หรืองานวิจัย Understanding the Psychology X Politics
Interaction behind Environmental Activism: The Roles of Governmental Trust, Density of
Environmental NGOs, and Democracy (Tam, 2019) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วม
ของกลุ่มเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมแท้จริงแล้วมีความเชื่อมโยงเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและปัจจัย
ทางการเมือง
ข้อค้นพบในประเด็นความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อค้นพบเชิงโครงสร้างและการบริหาร
ปกครอง กับข้อค้นพบประเด็นความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมเชิงบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ โดยข้อค้นพบเชิง
โครงสร้างและการบริหารปกครองในประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่าการที่รัฐละเลยการควบรวม
พลเมืองเข้าสู่พื้นที่การตัดสินใจได้ลดทอนความน่าเชื่อถือ ดังพบว่า การแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีเพื่อแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ล้มเหลวในชิลี ความไม่น่าเชื่อถือได้บ่อนท าลายความสามารถของรัฐชิลีในการ
ควบคุมสิ่งแวดล้อม ท าให้รัฐต้องเผชิญกับการก ากับดูแลที่กว้างขึ้น (Barandiaran, 2013) สอดคล้องกับ
kitchen ที่พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางการเมืองและความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ท าให้
กระบวนการเมืองใหม่มีความเปราะบาง เพราะสิ่งแวดล้อมใหม่ต้องการกระบวนการเสริมพลังของผู้คน ดังนั้น
กระบวนการเมืองแบบหุ้นส่วนในชนบท Blackdown Hill ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและระบบ
คุณค่าของพลเมือง (Kitchen, 2000)
ข้อค้นพบประเด็นความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมเชิงบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ พบว่า กลุ่ม
องค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง NGOs มีนักวิชาการหลายท่านได้ท าการศึกษาไว้ ท าให้เห็นได้ว่าเป็น
ภาคส่วนที่มีบทบาทส าคัญต่อการเคลื่อนไหวประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่งานวิจัยให้ข้อค้นพบถึง
บทบาทองค์กรเหล่านี้ว่า มีการขับเคลื่อนในหลายรูปแบบ ทั้งยังใช้ความเป็นเครือข่ายเพื่อการเคลื่อนไหวที่
ประสบความส าเร็จ ดังที่ Kousis et al. พบว่าการรณรงค์ที่มีพลังส่งเสริมให้เกิดการปกป้องทางสิ่งแวดล้อมที่
ระดับท้องถิ่นเป็นผลผลิตของกลยุทธ์ความร่วมมือของกลุ่มเคลื่อนไหวรากหญ้าและองค์กรทางสิ่งแวดล้อม กลุ่ม
ที่เข้ามีส่วนร่วมมีทรัพยากรที่ต่างกันและมีอิทธิพลต่อการกดดันเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมของพวกเขา ดังนั้น การ
เคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนที่มีชุมชนเป็นฐาน ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับการขยายเครือข่าย กิจกรรมการประท้วง
ที่เข้มข้น และการเปิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง (Kousis et al., 2001) หรือตัวอย่างกลุ่มเคลื่อนไหวใน
อินโดนีเซีย มีการเคลื่อนไหวมากกว่าการแสดงออกตามวาระหรือเทศกาล และมีการน าภาษาท้องถิ่นมาใช้
(Crosby, 2013) หรือการศึกษาบทบาทกลุ่ม NGOs โดย Langford พบว่า จากการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้
ยกเลิกการท าเหมืองถ่านหินนั้นส่งผลให้บริษัทที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเหมืองถูกปิดไปในที่สุด ทั้งนี้ การเรียกร้อง
ดังกล่าวประสบผลส าเร็จ ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวทางยุติธรรมสิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่
ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นผู้น าชุมชน กลุ่มสตรี เครือข่ายสตรี และประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่ (Langford,
2016) ซึ่งแรงจูงใจทางจิตวิทยา เช่น ความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อมโยงกันในระดับสูงมาก
กับการมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมของบุคคลผู้ที่มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลในระดับน้อย
154