Page 162 - kpiebook65022
P. 162
อยู่แล้ว เมื่อจะจ าแนกให้เห็นความแตกต่างเป็นช่วงปีก็ยังไม่จ าแนกได้ยากว่าแต่ละช่วงให้ข้อเสนอแนะที่
สะท้อนไปในทิศทางใด แต่อาจแบ่งกลุ่มงานวิจัยช่วงก่อน ค.ศ.2007 ได้แก่ ข้อเสนอแนะให้มีการศึกษาพลวัต
ของการเมืองสิ่งแวดล้อมแบบร่วมสมัย (Buttel and Flinn, 1976) การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐและ
NGOs ในนโยบายอื่นเพื่อให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ของการศึกษาการบริหารปกครองที่ดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งใน
สิงคโปร์และที่อื่น ๆ (Francesch, 2005) หรือควรมีการศึกษาเพื่อสร้างโมเดลทดสอบประสิทธิภาพเชิงนโยบาย
สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น เช่น การปกป้องสิ่งแวดล้อม นโยบายทางเคมี นโยบายของเสีย เป็นต้น (Jacob and
Volkery, 2005)
ส่วนข้อเสนอแนะจากงานวิจัยช่วง ค.ศ.2007 เป็นต้นมา มีข้อเสนอในเชิงการศึกษาบทบาทของ
รัฐในเวทีระหว่างประเทศ เช่น การศึกษาเพื่อท าความเข้าใจแนวทางที่แต่ละรัฐสามารถใช้ปฏิสัมพันธ์จากการ
เข้าร่วมในเวทีระหว่างประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารปกครองโลก (Green and Colgan, 2012)
การศึกษาว่าอิทธิพลของตัวแสดงในระดับนานาประเทศมีภาวะผันผวนเมื่อใด การศึกษากลุ่มที่ไม่ใช่รัฐในรัฐที่มี
อิทธิพลน้อยต่อผลการเจรจาระหว่างประเทศ โดยเน้นการวิเคราะห์ในกรณีที่แตกต่างกัน ไม่ใช่เพียงกรณี
การเมืองสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นกรณีการค้าหรือการพัฒนาอื่น ๆ (Downie, 2014) มีข้อเสนอเกี่ยวกับ
ผู้ก าหนดนโยบาย เช่น การศึกษาต่อเนื่องถึงการพัฒนาแนวคิดและมาตรวัดของศาสนาของผู้ก าหนดกฎหมาย
เพื่อท าความเข้าใจอิทธิพลด้านศาสนาต่อการเมืองสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก (Newman et al.,
2015) การศึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครองควรได้รับการประเมินในแง่ของส านึกรับผิดชอบต่อ
กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและผลลัพธ์ที่ตามมาจากการตัดสินใจนั้น (Kramarz and Park, 2017)
นอกจากนี้เป็นข้อเสนอแนะการวิจัยเชิงส ารวจที่ระดับบุคคล เช่น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส ารวจ
การเมืองของความเป็นเพื่อน (Politics of friendship) เพื่อศึกษาพัฒนาการเมืองสิ่งแวดล้อมของเด็ก (Bartos,
2013) หรือการศึกษาแรงขับต่อพฤติกรรมที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมในแบบที่กว้างมากขึ้น เพื่อให้ผลการศึกษามี
การอิงไปถึงประชากรในกลุ่มอื่น ๆ (Spark et al., 2020) เป็นต้น
ล าดับที่สอง ประเด็นมลพิษ (Pollution)
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านมลพิษ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของรัฐ
ประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมในการเคลื่อนไหวและจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ปัญหามลพิษทางดิน น้ า อากาศ ขยะและสิ่งปฏิกูล ตลอดจนสารเคมีที่ก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษตามมา โดยมี
กรณีศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ จากการค้นคว้าเอกสารวิจัยเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อมจาก 2 ฐานข้อมูล พบงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นมลพิษ จ านวน 20 เรื่อง ซึ่งมีสาระส าคัญโดยสรุป จ าแนกเป็นเรื่องที่ศึกษา ข้อค้นพบ
และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) เรื่องที่ศึกษาในประเด็นมลพิษ ได้แก่ งานวิจัยประเด็นมลพิษเกี่ยวกับโครงสร้างนโยบาย
และกฎหมาย งานวิจัยประเด็นมลพิษเกี่ยวกับบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ งานวิจัยประเด็นมลพิษในบริบท
ทั่วไปส าหรับงานวิจัยประเด็นมลพิษเกี่ยวกับโครงสร้างนโยบายและกฎหมาย ยกตัวอย่าง Sectoral green
politics: Environmental regulation and the Canadian pulp and paper industry (Doern, 1995) ที่
ทดสอบตัวแปรที่อธิบายผลลัพธ์ทางนโยบายและกฎหมายส าหรับอุตสาหกรรมกระดาษ งานวิจัย
Environmental Politics in the US: A Study of State Sulfer Dioxide Standards (Davis, 2005) ศึกษา
ว่าการออกกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษในแต่ละรัฐของอเมริกาว่าแตกต่างกันหรือไม่เพราะอะไร งานวิจัย
Pollution, Politics, and Preferences for Environmental Spending in the States (Newmark and
149