Page 160 - kpiebook65022
P. 160
ความมีลักษณะเฉพาะขององค์กรในบริบททางศาสนาจะช่วยเสริมต่อการแสดงออกทางการเมืองและอัตลักษณ์
ของกลุ่ม (Kidwell, 2020) ด้วยช่องทางการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เช่นพบว่า องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจาก
กรณีศึกษามีการขับเคลื่อนและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร วิเคราะห์อ านาจได้หลายระดับ ทั้งระดับโครงสร้าง
สถาบัน และความสัมพันธ์ ในระดับโครงสร้าง Greener Trondheim ใช้อ านาจผ่านวาทกรรมการเมือง
ข้อตกลงด้านโลกร้อนของนอร์เวย์ และการได้เข้าไปในวาระนโยบายระดับประเทศ ในระดับสถาบัน องค์กรนี้
มีอ านาจผ่านข้อตกลงของเมืองที่มีความสอดคล้องกับระดับประเทศ ผ่านการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน
ส่วนระดับความสัมพันธ์ เป็นการมีอ านาจผ่านการอุปถัมภ์ทางการเมือง ผ่านการเพิ่มอิทธิพลและขอบเขตของ
City Growth Agreement (Bersvendsen, 2018)
บทบาทของพรรคการเมืองต่อประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมที่พบจากงานวิจัยมีไม่มากนัก แต่ก็
กล่าวได้ว่าพรรคการเมืองมีอิทธิพลไม่น้อยต่อการน านโยบายไปปฏิบัติ ดังพบว่า เมื่อพิจารณาถึงพรรคการเมือง
แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมของคนอเมริกันไม่ได้แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันด้วยสภาพพื้นที่ที่มีความต่างกัน
กล่าวคือพรรคการเมืองมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าการบริหารทางนโยบายซึ่งเป็นแบบกว้าง โดยพบ
ความแตกต่างของการบังคับใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมระหว่างผู้ว่าการรัฐและสภานิติบัญญัติ (Bergquist, 2019)
ส าหรับกลุ่มวิชาการ เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาททางการเมืองสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้มี
ความรู้เป็นอ านาจ ดังพบว่า ความหลากหลายของตัวแสดงในนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศจีน ไม่ได้ถูก
เปลี่ยนผ่านไปสู่ความหลากหลายทางวาทกรรม ซึ่งกลุ่มเชี่ยวชาญทางเทคนิคหรือกลุ่มทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
ได้ครอบครองกระบวนการปกครองทางสิ่งแวดล้อม (Wesman and Broto, 2018)
บทบาทสื่อต่อการเมืองสิ่งแวดล้อม พบงานวิจัยที่ชัดเจนของ Pierce et al. ซึ่งไม่ได้ข้อค้นพบว่า
สื่อมีอิทธิพลอย่างไร แต่พออนุมานได้ว่าสื่อโทรทัศน์มีบทบาทต่อทัศนคติของคนมากที่สุด โดยพบบทบาทของ
สื่อต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้คนต่อสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าผู้ตอบจากเมืองมิชิแกนแสดงให้เห็นผลว่ามีความ
ขัดแย้งทางประเด็นสิ่งแวดล้อมมากกว่าในออนตาริโอ ส่วนคนตอบจากแคนาดาเน้นในประเด็นต่าง ๆ ด้วย
ตัวเอง ทั้งสองประเทศล้วนพึ่งพาสื่อโทรทัศน์ในเรื่องข่าวสารสิ่งแวดล้อม แต่ส าหรับแคนาดาแล้วผู้อ่าน
หนังสือพิมพ์มีแนวโน้มไปทางอุดมการณ์ (Ideological) ส่วนในมิชิแกน ผู้ที่ฟังจากเพื่อนหรือนักการเมืองมี
แนวโน้มไปในเชิงอุดมการณ์ (Pierce et al., 1990)
ส าหรับภาคเอกชน/ธุรกิจ พบว่า ภาคส่วนนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่นโยบายระหว่างประเทศ ถือได้ว่าภาคธุรกิจมีกลยุทธ์และอิทธิพลค่อนข้างสูง ดังที่
นักวิชาการหลายท่านศึกษาถึงบทบาทของภาคธุรกิจ พบว่า ทิศทางการเข้าไปร่วมมือของภาคส่วนเอกชนใน
เวทีระหว่างประเทศมีสูงขึ้น (Green, 2008) การสร้างความเป็นหุ้นส่วนรัฐและเอกชนในหลายรูปแบบไม่ได้
ประสบความส าเร็จดังที่หวังนัก อีกทั้งตัวแสดงจากภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างควบคุมกลุ่มประเทศก าลังพัฒนา
อยู่ (Kylsater., 2011) ซึ่งกลุ่มธุรกิจได้ใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ในการไปมีอิทธิพลทั้งกับตัวแสดงที่เป็นรัฐและในกลุ่ม
พวกเขากันเองด้วย (Downie, 2014) นอกจากนี้ยังพบว่า การล็อบบี้ในเรื่องการปลดปล่อยมลพิษอาจกระทบ
ต่อความเป็นพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล็อบบี้ของธุรกิจที่ทรงอิทธิพลจะมีผลจูงใจให้รัฐบาลลงนามใน
ข้อตกลง โดยการต่อรองที่เข้มแข็ง ซึ่งอาจจะท าให้เกิดการปลดปล่อยมลพิษที่น้อยลง เมื่อจ านวนของประเทศ
ที่เข้าร่วมไม่ได้มีจ านวนมากนัก แต่สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนไป หากการล็อบบี้เกิดขึ้นโดยตรงกับการตัดสินใจของ
ประเทศสมาชิก (Marchiori et al., 2017)
147