Page 155 - kpiebook65022
P. 155
ข้อค้นพบจากงานวิจัยในกลุ่มที่ศึกษาแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้น
ที่ให้ข้อค้นพบเชิงทัศนคติของกลุ่มและบุคคลที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการเมือง ในภาพกว้างผู้บริหารหรือ
นักการเมืองจะแสดงออกทางนโยบายสิ่งแวดล้อมเช่นไรย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าและหลักการที่ตนยึดถือ
ดัง Kramarz and Park พบว่า นิยามและคุณค่าของส านึกรับผิดชอบท าให้การบริหารการปกครองมี
ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยหลักส านึกรับผิดชอบเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตัวแสดงอย่างผู้มีอ านาจต้อง
พิสูจน์หรือสะท้อนให้เห็นถึงการกระท าของตน (Kramarz and Park, 2017) หรือ Ran พบว่า ธรรมาภิบาล
สิ่งแวดล้อมในการกระจายอ านาจในจีนตามกรอบวิเคราะห์ แนวคิด Blame Avoidance Behavior (BAB)
อาจเป็นผลจากการเล่นเกมการร้องเรียนระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง (Ran, 2017) ที่แสดงให้ว่า
ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการท าหน้าที่ของรัฐบาลในแบบที่แข่งขันกันหรือไม่
ในภาพรวมของกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ก็มีงานวิจัยที่อธิบายคุณลักษณะของกลุ่มต่าง ๆ
ท าให้เห็นว่ารูปแบบและวิธีการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน และกลุ่มที่เป็น
แบบเสรีนิยมจะพบมากในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กลุ่มเหล่านี้อาจมีลักษณะปกป้องทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
กลุ่มแบบอนุรักษ์ ดังมีข้อค้นพบว่านักสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นแนวคิดแบบ New Environmental
Paradigm: NEP ไม่ได้มีลักษณะตามแบบนั้นโดยสมบูรณ์ แต่มีลักษณะทางการเมืองและส่วนบุคคลที่เป็นแนว
หลังวัตถุนิยม (Postmaterialists) ในทางตรงข้ามสหรัฐอเมริกามีลักษณะแบบ Materialist และ NEP ด้วย
สะท้อนให้เห็นความเป็นดั้งเดิมของทัศนะนักสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นที่มีความเป็นหนึ่งเดี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต่างจากใน
อเมริกา ดังนั้น NEP จึงไม่ใช่สิ่งใหม่ในญี่ปุ่น (Pierce et al.,1987) หรือ Nawrotzki พบว่า กลุ่มผู้มีแนวคิด
แบบอนุรักษ์สนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างต่างกันในแต่ละประเทศ กลุ่มตรงข้ามกับอนุรักษ์นิยมจะพบ
มากในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเป็นทุนนิยม ส่วนประเทศที่พัฒนาน้อยหรือด้อยพัฒนาจะมีลักษณะปกป้อง
สิ่งแวดล้อมมากกว่าประเทศที่เป็นเสรีนิยม (Nawrotzki, 2012)
ในระดับบุคคล มีข้อค้นพบจากกงานวิจัยบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความชอบทางการเมืองไม่มี
ความสัมพันธ์กับความตระหนักทางสิ่งแวดล้อม ดัง Buttel and Flinn พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจน
ระหว่างความชอบทางการเมืองกับความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดเสรีนิยมมีความสัมพันธ์กับความ
ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ผู้ที่มีทัศนคติทางการเมืองแบบสังคมนิยมการเมืองในระดับการศึกษาระดับ
วิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม (Buttel and Flinn, 1978) แต่ต่อมา งานวิจัย Newman et al.
ให้ข้อค้นพบที่ต่างกัน โดยพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญในกลุ่มสมาชิกที่มีศาสนาต่างกัน พรรค
การเมืองและลักษณะของผู้เลือกตั้งมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแต่ก็ไม่ทั้งหมด โดยยังคง
อยู่ที่ระดับปานกลาง (Newman et al., 2015) นอกจากนี้ ความผูกพันกับธรรมชาติและความตระหนักทาง
สิ่งแวดล้อมยังเชื่อมโยงกับคุณลักษณะส่วนบุคคลและสังคม ดังมีนักวิชาการพบว่า มีความเชื่อมโยงกับ
ธรรมชาติและคุณลักษณะความเป็นนักสิ่งแวดล้อมมีผลให้คนเป็นพวกสนับสนุนสิ่งแวดล้อม และยังพบความ
แตกต่างส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสาธารณะ โดยคนที่เป็นนักสิ่งแวดล้อมมีอัตลักษณ์ที่แข็งแรงกว่าแบบเชื่อมโยง
ธรรมชาติ ส่วนพวกเชื่อมโยงธรรมชาติมีลักษณะในการสนับสนุนสิ่งแวดล้อมมากกว่าพวกพฤติกรรมส่วนบุคคล
(Spark et al., 2020) หรือความสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อมมีความเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ทางสังคมกับ
เพื่อนและครอบครัวของเขา (Bartos, 2013)
ข้อค้นพบจากงานวิจัยในประเด็นอื่น ๆ ในเชิงแนวคิดและอุดมการณ์ ให้ผลการศึกษาที่ส าคัญ
ต่อองค์ความรู้งานวิชาการเมืองสิ่งแวดล้อม มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ส ารวจพบตั้งแต่ปี ค.ศ.2016 เป็นต้นมาที่ให้
142