Page 152 - kpiebook65022
P. 152

1)  ประเด็นการศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบของประเด็นอื่น ๆ จากจ านวนงานวิจัย
               ทั้งหมดในประเด็นอื่น ๆ มีจ านวนหลายชิ้นแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มงานวิจัยที่มีการศึกษาประเด็น

               อุดมการณ์ทางการเมืองกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในประเด็นสิ่งแวดล้อม
               การศึกษาประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ และนโยบายโครงสร้างและแนวทางการเมือง
               สิ่งแวดล้อม ส าหรับการศึกษาประเด็นแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ
               การส ารวจทัศนคติ แนวคิด อุดมการณ์ทางการเมืองและสิ่งแวดล้อมของประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจน

               เป็นการศึกษาเชิงทฤษฎีและแนวคิดด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง Environmental Politics: The
               Structuring of Partisan and Ideological Cleavages in Mass Environmental Attitudes (Buttel and
               Flinn, 1976) ศึกษาผลจากอัตลักษณ์ทางพรรคการเมืองและอุดมการณ์ทางการเมืองต่อความเชื่อทาง
               สิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา หรืองานวิจัยเรื่อง Culture, Politics and Mass Publics: Traditional and

               Modern Supporters of the New Environmental Paradigm In Japan and the United States (Pierce
               et al.,  1987)  ทดสอบแนวคิด Postmaterial value กับพาราไดม์สิ่งแวดล้อมใหม่ (New Environmental
               Paradigm: NEP)  ในญี่ปุ่นและอเมริกา งานวิจัยเรื่อง The Politics of Environmental Concern: A Cross-
               National Analysis (Nawrotzki, 2012) ที่ศึกษาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้มีอุดมการณ์

               การเมืองต่างกัน งานวิจัย Metagovernance and Policy Forum Outputs in Swiss Environmental
               Politics (Fischer and Schlapfer, 2017) ศึกษาเกี่ยวกับการน าแนวคิดการก ากับดูแล (Metagovernance)
               มาใช้ในเวทีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในสวิตเซอร์แลนด์  หรืองานวิจัย Measuring Environmental Values

               and Identity (Spark et al., 2020) ที่เปรียบเทียบผลส ารวจค่านิยมและอัตลักษณ์ทางสิ่งแวดล้อมของ
               ประชาชนในอเมริกา เป็นต้น

                            การศึกษาบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยมีหลายภาคส่วนที่ถูกศึกษา
               ได้แก่ บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัย Global–Local Linkage in the Western
               Balkans: The Politics of Environmental Capacity Building in Bosnia-Herzegovina (Fagan, 2008)

               ที่ศึกษาบทบาทองค์กรระหว่างประเทศในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในบอสเนีย งานวิจัย Transnational
               actors in environmental politics: strategies and influence in long negotiations (Downie, 2014)
               ที่ศึกษาอิทธิพลของตัวแสดงระหว่างประเทศและกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้ในการต่อรองทางสิ่งแวดล้อมตลอด
               ระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา งานวิจัย A Legitimate Form of Governance?: Examining Public-Private

               Partnerships in International Environmental Politics (Kylsater., 2011) แสดงให้เห็นการโต้เถียงกัน
               ทางวิชาการเกี่ยวกับหุ้นส่วนพหุภาคีรัฐกับเอกชน (multilateral public-private partnerships: PPPs) ใน
               บริบทการเมืองระหว่างประเทศ งานวิจัย Transnational Actors and Transnational Governance in
               Global Environmental Politics (Hale, 2020) ศึกษาเกี่ยวกับตัวแสดงข้ามชาติและการบริหารการปกครอง

               ข้ามชาติในประเด็นของการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental Politics: GEP) ซึ่งเป็นการเจรจา
               ทางการทูตระหว่างรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความส าคัญเป็นอย่างมาก เป็นต้น

                            บทบาทของสื่อมวลชน ยกตัวอย่างเช่น  Media Reliance and Public Images of
               Environmental Politics in Ontario and Michigan (Pierce et al., 1990) ที่ทดสอบบทบาทสื่อแคนาดา
               และอเมริกาต่อพฤติกรรมทางสิ่งแวดล้อม

                            บทบาทขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัย Performing Politics on Social

               Media: The Dramaturgy of an Environmental Controversy on Facebook (Hendriks et al., 2016)



                                                           139
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157