Page 153 - kpiebook65022
P. 153

ศึกษาเกี่ยวกับกรณีความตึงเครียดทางการเมืองเกี่ยวกับความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม โดยสื่อสังคมออนไลน์มี
               บทบาทส าคัญที่หลายตัวแสดงต่างค้นหาเพื่อก าหนดความหมายใหม่ต่อประเด็นขัดแย้งนั้น ๆ งานวิจัย Power

               in Environmental Politics: A Case Study of “Greener Trondheim” (Bersvendsen, 2018) ศึกษา
               เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเชิงอ านาจขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง Greener Trondheim และมีการ
               เปลี่ยนแปลงใดในองค์กรที่ท าให้เกิดการรวมศูนย์ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของนอร์เวย์ งานวิจัย Mapping
               the Field of Religious Environmental Politics (Kidwell, 2020) ศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบความซับซ้อน

               ของความเกี่ยวพันทางการเมืองกับสิ่งแวดล้อมนิยมทางศาสนา (Religious Environmentalism) ซึ่งเกิดขึ้น
               อย่างแตกต่างกันตามแต่ละองค์กรของกลุ่มเหล่านี้ เป็นต้น

                            บทบาทของภาคประชาชน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพลเมืองในยุคใหม่ใช้ช่องทางสื่อออนไลน์ในการ
               เคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างงานวิจัย Mediated Intersections of Environmental and
               Decolonial Politics in the No Dakota Access Pipeline Movement (Deem, 2019) ศึกษาเกี่ยวกับการ

               ประท้วงหรือการต่อต้านทางการเมืองสิ่งแวดล้อมของพลเมืองในรูปแบบดิจิทัล ด้วยการร่วมกันเคลื่อนไหวผ่าน
               ช่องทางออนไลน์ และติดแฮชแท็ก งานวิจัย We need to make our Voices heard”: Claiming Space
               for Young People’s everyday Environmental Politics in Northern Finland (Kettunen, 2020) ศึกษา

               เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ในประเทศฟินแลนด์ หรืองานวิจัย Taking
               Technology Seriously: Introduction to the Special Issue on New Technologies and Global
               Environmental Politics (Nicholson and Reynolds, 2020) ศึกษาเกี่ยวกับการน าเทคโนโลยีมาใช้กับการ
               ขับเคลื่อนการเมืองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

                            นอกเหนือจากการศึกษาบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในเชิงเดี่ยวยังมีการศึกษาในเชิงที่ภาคส่วน

               เหล่านั้นที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น A "disciplined governance" approach to government
               NGOs relations: the structures and dynamics of environmental politics and management in
               Singapore (Francesch, 2005) ที่ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและ NGOs ในโครงสร้างและการเมือง
               สิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ งานวิจัย Local vs Global: Place-based Framing in the Environmental Politics
               of Philadelphia (Daneri, 2018) ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นเมืองกับการสร้างอัตลักษณ์ด้านพื้นที่ ว่าอัตลักษณ์

               เหล่านี้มีผลต่อวาทกรรมทางสิ่งแวดล้อมของตัวแสดงแต่ละกลุ่มอย่างไร วิเคราะห์ตามกรอบโลก (Global
               Frame) และกรอบพื้นที่ (Place-based Frame) เป็นต้น

                            การศึกษาประเด็นสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เป็นงานวิจัยที่ศึกษาประเด็นสิ่งแวดล้อมใน
               บริบทการเมืองระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัย Fading Green? Environmental Politics in the

               Mercosur Free Trade Agreement (Hochstetler, 2003) ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นการค้า
               โลกส าหรับประเทศก าลังพัฒนาประเทศก าลังพัฒนา ได้แก่ บราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย
               งานวิจัย We, Europe and the rest EU discourse(s) at work in environmental politics (Birkel, 2010)
               ศึกษาการบูรณาการขององค์กรในสหภาพยุโรปในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในสองกรณีศึกษาได้แก่ การเมือง

               สิ่งแวดล้อมในอียูและประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับเทคโนโลยีชีวภาพสีเขียว สหภาพยุโรป งานวิจัย
               Inside International Environmental Organizations. Negotiating the Greening of International
               Politics (Panke, 2019) ศึกษาเกี่ยวกับการตรวจสอบท่าทีของประเทศสมาชิกองค์กรสิ่งแวดล้อมระหว่าง
               ประเทศว่า มีการเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจบนบรรทัดฐานและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร หรือ

               งานวิจัย Latent Influence Networks in Global Environmental Politics (Campbell et al., 2019)



                                                           140
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158