Page 154 - kpiebook65022
P. 154
ศึกษาเกี่ยวกับเครือข่ายอิทธิพลที่ซ่อนเร้นหรือแอบแฝงในด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก สนธิสัญญาระหว่าง
ประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้รัฐต่าง ๆ สามารถจัดการกับปัญหาขบวนการเคลื่อนไหว
ทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การศึกษาประเด็นนโยบาย โครงสร้าง และแนวทางการเมืองสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
กระบวนการทางนโยบาย การบริหารงานของหน่วยงานรัฐ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัย Governing Complexity:
Recent Developments in Environmental Politics and Policy (Fahey and Pralle, 2016) ศึกษา
เกี่ยวกับการค้นคว้าเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มพัฒนาการด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมและทุนด้านนโยบาย งานวิจัย
Nanotechnology and Global Environmental Politics: Transatlantic Divergence (Rodine, 2016) ที่
ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบนโยบายทางด้านนาโนเทคโนโลยีในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา งานวิจัย
Tracking Presidents and Policies: Environmental Politics from Lula to Dilma (Hochstetler, 2017)
ศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบและวิเคราะห์นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในบราซิลในช่วงการบริหารของประธานาธิบดี
สามสมัย ระหว่างปี ค.ศ. 2003 - 2014 เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและผลลัพธ์ทางนโยบาย
งานวิจัย Regulatory Thickening and the Politics of Market-oriented Environmental Policy (Rea,
2019) ศึกษาเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางนโยบายสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของการตลาด (Market-based
Instruments: MBIs) งานวิจัย Survey Research in Environmental Politics: Why it is important and
What the Challenges are (Prakash and Bernauer, 2020) ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ตั้งแต่การก าหนดนโยบาย การค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย และการน านโยบายไปปฏิบัติเกี่ยวกับ
ความส าคัญและความท้าทายในประเด็นเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อม หรืองานวิจัย Is there Space for
Politics in the Environmental Bureaucracy? Discretion and Constraint in Aotearoa New
Zealand’s Ministry for the Environment (Tadaki, 2020) ศึกษาเกี่ยวกับการตรวจสอบว่าภาคราชการ
นิวซีแลนด์ได้มีการใช้ดุลพินิจในระบบราชการทางสิ่งแวดล้อมอย่างไร เป็นต้น
2) ข้อค้นพบการเมืองสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบประเด็นอื่น ๆ ข้อค้นพบภายใต้กรอบประเด็นอื่น ๆ
สามารถจ าแนกเป็นข้อค้นพบ ได้แก่ ด้านแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองกับสิ่งแวดล้อม โครงสร้างหรือ
สถาบันทางการเมืองสิ่งแวดล้อม และบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยข้อค้นพบด้าน
แนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองกับสิ่งแวดล้อม มีทั้งข้อค้นพบอันเกิดจากการวิพากษ์แนวคิดเกี่ยวกับ
การเมืองสิ่งแวดล้อมที่เมื่อศึกษาแล้วเป็นการอธิบายปรากฏการณ์โดยทั่วไป หรือเลือกใช้ทฤษฎีเพื่ออธิบาย
ปรากฏการณ์ ดังเช่น Andersson พบว่า ทฤษฎีฟื้นฟู (Resilience) มีบทบาทที่จ ากัดในรัฐชาติ แต่มีบทบาท
ส าคัญมากส าหรับภาคประชาสังคมและผู้มีบทบาทในท้องถิ่น ทฤษฎีนี้ยังมองว่าทุนนิยมเป็นรากเหง้าของ
ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Andersson, 2007) หรือ Butler 2017 ที่มีข้อค้นพบจากแนวคิดทฤษฎีสีเขียวของ
Arendt ว่าเป็นการพยายามปกป้องการเมืองออกจากการแทรกแซงด้วยมิติสังคม (Butler, 2017) หรือ
งานวิจัยของ Birkel ที่ศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ในบริบทระหว่างประเทศ และพบว่าการสร้างความหมายและ
การสร้างอัตลักษณ์เกิดขึ้นกับการเมืองสิ่งแวดล้อมในอียูและประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับ
เทคโนโลยีชีวภาพสีเขียวสหภาพยุโรป โดยอัตลักษณ์ได้ถูกสร้างขึ้นข้ามองค์กรในอียูและรัฐสมาชิก (Birkel,
2010) อย่างไรก็ดี งานวิจัยเชิงแนวคิดบางชิ้นที่อาจน าไปประยุกต์ใช้ได้มากกว่าการอธิบายปรากฏการณ์ เช่น
ข้อค้นพบที่ว่าไม่ได้มีความเชื่อมโยงที่ส าคัญระหว่างขั้วทางการเมืองกับทัศนคติทางสิ่งแวดล้อม (Buttel and
Flinn, 1976)
141