Page 158 - kpiebook65022
P. 158
ความแข็งแกร่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมด้วย ในแง่ที่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมมี
สายสัมพันธ์ที่อ่อนแอกับกลุ่มนักเคลื่อนไหว จึงท าให้นโยบายของประธานาธิบดีเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง ในช่วง
การบริหารดังกล่าว เห็นว่า เป็นช่วงที่กฎหมายมีการลดทอนอ านาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
และ NGOs (Hochstetler, 2017) หรือข้อค้นพบผลการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนสามารถสะท้อนให้
ผู้ก าหนดนโยบายเห็นถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อประเด็นทางการเมืองสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ และแหล่งที่มา
ของผู้ลงคะแนนมาจากแหล่งใดบ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า นโยบายสาธารณะที่ออกมานั้นจะ
สอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความต้องการของผู้ลงคะแนน เนื่องจาก ที่มาของการออก
นโยบายแต่ละนโยบายมีปัจจัยหลายประการด้วยกัน อาทิ การเจรจาต่อรองผลประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียที่มีอิทธิพลทางการเมือง รวมถึงภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม (Prakash and Bernauer, 2020)
ข้อค้นพบนโยบายที่เกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากมีข้อค้นพบเกี่ยวกับการ
ตัดสินใจแล้ว ยังมีข้อค้นพบเกี่ยวกับความท้าทายของการน านโยบายนั้นไปด าเนินการในทางปฏิบัติ ซึ่งการ
ด าเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมย่อมขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารปกครองและการเมืองด้วย ดัง Jacob
and Volkery พบว่า ประเทศที่มีผลคะแนนสูงด้านประสิทธิภาพของรัฐบาลและการบูรณาการที่ดีจะมีการ
แสดงออกทางนวัตกรรมนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ดี (Jacob and Volkery, 2005) เช่นเดียวกับความท้าทายที่
หลายรัฐบาลพบเจอในการบริหารปกครองด้านสิ่งแวดล้อม ดังเช่น Coletta and Raftopoulos พบว่า รัฐบาล
โบลิเวียต้องจัดการความยุติธรรมของรัฐพหุชนชาติ ซึ่งหนึ่งในความท้าทายส าคัญคือการบริหารการปกครอง
ทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อน าไปสู่การปฏิรูปอธิปไตยประเทศให้เป็นไปตามหลักคิดความถูกต้องและ
สมเหตุสมผล และเพื่อให้การเมืองของประเทศยังคงมีความสัมพันธ์อันดีในที่สุด (Coletta and Raftopoulos,
2018)
หรือตัวอย่างการพยายามปฏิรูปเชิงสถาบันหรือหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมแต่ยังพบความ
ล้มเหลว ดังเช่น Barandiaran พบว่า แม้ประเทศชิลีมีความพยายามปฏิรูปสถาบันด้านสิ่งแวดล้อมได้ส าเร็จใน
ปี ค.ศ. 2010 แต่ก็เหมือนจะกระท าซ้ ารอยเดิมเหมือนเมื่อตอนทศวรรษที่ 1990 ที่มีการก่อตั้งหน่วยงานที่
เรียกว่า Conoma ให้เป็นเหมือนหน่วยทางเทคนิค แต่กลับกลายเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นการเมืองสูง
เพราะการควบคุมทางอ านาจของส านักงานประธานาธิบดี จากนั้นในปี ค.ศ. 2010 มีความพยายามแยก
หน่วยงาน EIA ออกมาจากการเมือง แต่ยังคงเป็นการเมืองเหมือนเมื่อในอดีต ดังนั้น การปฏิรูปล้มเหลวที่จะ
แยกการเมืองออกจากการบริหารและตัดสินใจ การตัดสินใจในฐานะเป็นเทคโนแครตที่ใช้วิทยาศาสตร์ตัดสินจึง
ไม่เกิดขึ้นจริง (Barandiaran, 2016)
ความล้มเหลวในการด าเนินงานทางนโยบายสิ่งแวดล้อมที่พบเจออุปสรรคทางการเมือง อาจ
เป็นไปได้ว่ารัฐจ าเป็นต้องผสมผสานการใช้เครื่องมือทางนโยบายที่หลากหลายควบคู่กัน ดังที่ Rea พบว่า การ
ใช้เครื่องมือทางนโยบายสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของการตลาดเป็นแนวทางในการก าหนดคุณภาพทางด้าน
สิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้เครื่องมือนี้เป็นแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐได้มีอ านาจ โดยครอบคลุมถึงการ
บริหารจัดการ ควบคุมดูแลประเด็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการบังคับใช้
กฎหมาย (Rea, 2019) หรือรัฐจ าเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ดังที่ Campling and
Havice พบว่า ระบบการจัดการทางด้านอาหารทะเลยังคงต้องพึ่งพาสถาบันหรือองค์กรระดับชาติทางด้านการ
ผลิตอาหารทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการบริหารการปกครองด้านกฎหมายของประเทศ และต้องการการ
สนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ นอกเหนือจากภาครัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานรัฐ เพื่อ
145