Page 157 - kpiebook65022
P. 157

ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ผลประโยชน์ทางธุรกิจก าหนดผลลัพธ์นโยบายให้เป็นแบบดีขึ้นหรือแย่ลง การบรรจบ
               กันของนโยบายกับประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการ

               ทรัพยากรธรรมชาติ (Fahey and Pralle, 2016)

                            ข้อค้นพบเชิงนโยบายการเมืองสิ่งแวดล้อม มีข้อค้นพบที่แสดงให้เห็นว่านโยบายสิ่งแวดล้อม
               เกิดขึ้นท่ามกลางการเมืองทั้งในระดับนานาประเทศและระดับประเทศ และยังมีความท้าทายของการน า
               นโยบายนั้นไปด าเนินการในทางปฏิบัติอีกด้วย ในส่วนการเข้าสู่กระบวนการนนโยบายในระดับนานาประเทศนั้น
               ประเทศสมาชิกที่มีขนาดเล็กหรือมีอิทธิพลน้อยมักจะมีพื้นที่การแสดงออกน้อยกว่าประเทศที่มีอิทธิพลมากกว่า

               ยกตัวอย่างข้อค้นพบว่า หลายประเทศได้เข้าร่วมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและมีส่วนช่วยผ่าน
               การจ่ายค่าธรรมเนียม แต่มักล้มเหลวในการใช้สิทธิในฐานะประเทศสมาชิก เมื่อต้องเจรจาในเวทีระหว่าง
               ประเทศ เนื่องจากบางประเทศยังขาดศักยภาพ ขณะที่ บางประเทศยังคงมีอิทธิพลเหนือประเทศอื่น ๆ ในเวที
               ระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เจรจานั้นเป็นเรื่องอะไร

               (Panke, 2019) สอดคล้องกับ Campbell et al. ที่พบว่า แต่ละประเทศต่างส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อ
               ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ จากประเด็นความซับซ้อนของอิทธิพลทาง
               การเมืองจากการท าสนธิสัญญา การให้ค ามั่นสัญญาว่า สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบทางด้านการเมือง

               สิ่งแวดล้อมได้ (Campbell et al., 2019)
                            ในส่วนระดับประเทศเองการตัดสินใจทางนโยบายสิ่งแวดล้อมล้วนมีปัจจัยแทรกแซงหลาย

               ประการ ยกตัวอย่างกรณีในรัฐที่ได้ท าความตกลงกับต่างประเทศแต่ก็ไม่ได้มีการด าเนินการทางกฎหมายใน
               ประเทศให้เป็นไปตามข้อตกตลง เช่น Green and Colgan พบว่าการเข้าไปร่วมในเวทีระหว่างประเทศเป็น
               ปรากฎการณ์ที่ท าให้เกิดความพึงพอใจของแต่ละรัฐ แต่ละรัฐต่างท าการตัดสินใจส่วนใหญ่ในมาตรการที่เป็น

               อธิปไตยน้อย เช่น การด าเนินการและติดตาม และแทบจะไม่ด าเนินการเรื่องเกี่ยวกับการออกกฎหรือการ
               บังคับใช้ (Green and Colgan, 2012)

                            ข้อค้นพบของ Green and Colgan ท าให้พอตั้งข้อสังเกตได้ว่าการก าหนดนโยบายหรือ
               มาตรการของรัฐนอกจากจะได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศแล้ว แต่ดูเหมือนว่าอิทธิพลหรือปัจจัยในประเทศ
               น่าจะมีความส าคัญไม่แพ้กัน ดัง Rodine พบว่า สหภาพยุโรปได้ก าหนดนิยามที่เป็นทางการเกี่ยวกับนาโน

               เทคโนโลยี และมีการออกกฎหมายเฉพาะทางด้านนาโนเทคโนโลยีออกมาจ านวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้
               ขณะที่ สหรัฐอเมริกามีนโยบายแบบเฝ้ารอดู (Wait and See) ที่เห็นได้ว่า การเมืองมีผลเป็นอย่างมากต่อการ
               อธิบายความแตกต่างในการท ากฎหมายด้านนาโนเทคโนโลยีของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา (Rodine,
               2016) หรือข้อค้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายสิ่งแวดล้อมของจีน ไม่เพียงแต่ถูกก าหนดโดยผลจากการ

               ประท้วง แต่ยังถูกสนองตอบโดยรัฐบาลท้องถิ่นและตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง (Wong, 2016) หรือการพบว่ามี
               โครงสร้างเชิงลึกอย่างการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมปรากฎอยู่ในกระบวนการการเมืองของญี่ปุ่น โดยลักษณะ
               นิยมอย่างความเป็นกลุ่มและความสัมพันธ์ทางสังคมกลับไม่ปรากฎชัดนักในกระบวนการการเมืองญี่ปุ่น
               (Broadbent, 1989)

                            ด้วยเหตุนี้ การตัดสินใจของรัฐบางครั้งจึงไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนไปทั้งหมด

               ดังข้อค้นพบของ Hochstetler พบว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมในบราซิลที่เคยเป็นนวัตกรรมและประสบ
               ความส าเร็จเป็นอย่างมาก อย่างเรื่องการแก้ปัญหาท าลายป่าได้ถูกท าให้อ่อนแอลงในช่วงเปลี่ยนผ่าน
               ประธานาธิบดี แม้กระทั่งในช่วงประธานาธิบดีคนเดียวกัน แต่มีวาระด ารงต าแหน่งสองสมัย นโยบายก็
               เปลี่ยนไปในทางสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และพลังงาน ซึ่งนโยบายที่เปลี่ยนไปเช่นนี้สัมพันธ์กับ



                                                           144
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162