Page 166 - kpiebook65022
P. 166
3) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยในประเด็นมลพิษ มีข้อเสนอแนะเชิงวิธีการของการศึกษาใน
ประเด็นมลพิษที่ควรมีการเพิ่มเติมการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกและใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากขึ้น
ได้แก่ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยการสัมภาษณ์และสังเกตการปฏิบัติของภาคส่วนอุตสาหกรรมเคมีไบฟีนอล
(Lubitow, 2011) หรือข้อเสนอแนะในเชิงการเปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลาและกลุ่มตัวอย่างว่ามีความแตกต่าง
กันหรือไม่ ได้แก่ ข้อเสนอแนะของ Cao and Ward เสนอการศึุกษาเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาเพื่อดูว่า
จ านวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต่างกันมีผลต่อความแตกต่างของผลลัพธ์ทางสิ่งแวดล้อมหรือไม่ (Cao and Ward,
2011) หรือการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมคนชั้นกลางกับคนกลุ่มอื่น ๆ ที่น่าจะมีศักยภาพในการขับเคลื่อน
แนวทางแบบสีเขียวมากกว่า เช่น อาจเกิดค าถามว่า คนชั้นน าในสังคมได้ท าอะไรบ้างเพื่อสังคม มีความ
ตระหนักเพียงใดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความตระหนักเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนอย่างไร ฯลฯ ค าถามเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อ
ความยั่งยืน แต่เพื่อความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม (Anantharaman, 2015)
นอกจากนี้ มีการเสนอแนะเพื่อส่งเสริมต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มหรือองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ Lubitow ที่เสนอว่าควรมีแนวทางว่าจะท าอย่างไรให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม
ได้ร่วมมือและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ และยังเสนอให้มีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงนโยบายและ
กฎหมายเกี่ยวกับเคมีไบฟีนอล เพืุุอดูว่ามีช่องทางใดที่กลุ่มเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมจะได้เข้าไปเพื่อร่วม
ปกป้องสิ่งแวดล้อมจากผลกระทบเคมีไบฟีนอล (Lubitow, 2011) หรือ Edwards and Heiduk เสนอให้มี
การศึกษาศึกษาปัจจัยที่ตัวแสดงในประเด็นสิ่งแวดล้อมตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวด้านความมั่นคง เพื่อ
อธิบายว่าท าไมบางกระบวนการความมั่นคงจึงล้มเหลวหรือประสบความส าเร็จ (Edwards and Heiduk,
2015)
ล าดับที่สาม ประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice)
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษา
เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมในการร่วมต่อสู้ เรียกร้องความ
เป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีกรณีศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ จากการค้นคว้าเอกสารวิจัยเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อม
จาก 2 ฐานข้อมูล พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม จ านวน 13 เรื่อง ซึ่งมี
สาระส าคัญโดยสรุป แบ่งได้เป็นงานวิจัยในประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ข้อค้นพบจากงานวิจัย และ
ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1) เรื่องที่วิจัยในประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประเด็นความยุติธรรม
สิ่งแวดล้อมในเชิงโครงสร้างนโยบายและกฎหมาย บทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ส าหรับเรื่องที่วิจัยในประเด็นความ
ยุติธรรมสิ่งแวดล้อมในเชิงโครงสร้างนโยบายและกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น Empowered or Constrained?
The Policy Process and Environmental Politics in the Blackdown Hills (Kitchen, 2000) วิเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางการเมืองและความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมใหม่ของ the Blackdown
Hills Rural Partnership ใ น อังกฤษ หรืองานวิจัย Regulatory Science in a Developing State:
Environmental Politics in Chile, 1980-2010 (Barandiaran, 2013) ศึกษาสถาบันและพัฒนาการของ EIA
ในสามโครงการระหว่างปี 1998-2011 ในชิลี
งานวิจัยประเด็นความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมในเชิงบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
งานวิจัย Local Environmental Politics in Urban and Rural Greece: A Study of North-Eastern
Athens and the County of Chanea (Kousis et al., 2001) การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทาง
153