Page 177 - kpiebook65022
P. 177
2) ข้อค้นพบงานวิจัยประเด็นระบบนิเวศจากงานวิจัยที่พบในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข้อค้นพบในเชิง
วาทกรรมและแนวคิด ข้อค้นพบในเชิงโครงสร้างและนโยบาย ข้อค้นพบในเชิงบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ และข้อ
ค้นพบทั่วไปจากงานวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศ ส าหรับ ข้อค้นพบในเชิงวาทกรรมและแนวคิด เป็นการต่อสู้ทาง
ความคิดของวาทกรรมบางค าที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ ดังงานของ Jadhav et al. พบว่า กระบวนทัศน์การบริการ
ทางนิเวศถูกวิพากษ์เป็นอย่างมาก แต่ผู้เขียนก็โต้แย้งเพื่อให้มีการประเมินคุณค่าเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของ
การเมืองที่มุ่งเน้นและท าให้เห็นประโยชน์ของการบริการทางนิเวศในบริบทของค าว่า การพัฒนา และการ
เปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ทางสิ่งแวดล้อม (Jadhav et al., 2017) หรือเป็นการศึกษาถึงความคิดและความเชื่อ
ดัง Alba and Besak พบว่า การอพยพปลาคาร์ฟเอเชียเข้าไปยังพื้นที่ Great Lake ของสหรัฐอเมริกา
หลายคนเชื่อว่า ท าให้ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในพื้นที่หยุดชะงัก ซึ่งนักวิจัยต้อง
ค้นคว้าศึกษาทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และสังคม เพราะธรรมชาติมีผลต่อการจ ากัดหรือการขยายกิจกรรมทาง
สิ่งแวดล้อมและสังคมได้ อีกทั้ง การศึกษาศาสตร์ทางธรรมชาติกับสังคมนั้นไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่าง
เด็ดขาด (Alba and Besak, 2019)
ส าหรับ ข้อค้นพบในเชิงโครงสร้างและนโยบาย แสดงให้เห็นว่ารัฐเผชิญหน้ากับความท้าทาย
ที่จะต้องสมดุลระบบนิเวศท่ามกลางกระแสของทุนนิยม ดังพบว่า รัฐจ าเป็นต้องรักษาความสมดุลทางด้าน
สิ่งแวดล้อมให้เป็นรัฐที่ค านึงถึงระบบนิเวศวิทยา พร้อมกับบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและ
นิเวศวิทยาในยุคประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยม ซึ่งจ าเป็นต้องวิเคราะห์ถึงค่านิยมประชาธิปไตยและ
แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน (Blühdorn, 2020) บางรัฐบาล
ประยุกต์ใช้แนวคิดและเครื่องมือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นพบว่า รัฐเกาหลีได้ระดมวาทกรรมความ
ทันสมัยทางระบบนิเวศ (Ecological modernization: EM) อย่างแข็งขัน ทั้งนี้ อนุสัญญาสามประการเกี่ยวกับ
EM ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม สถาบัน และเทคโนแครต เป็นเครื่องมืออันทรงพลังส าหรับการสื่อสารสาธารณะของรัฐ
ขณะที่ ข้อค้นพบในเชิงบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ มีข้อค้นพบที่ค่อนข้างสอดคล้องกันกับ
ประเด็นสิ่งแวดล้อมอื่นก่อนหน้านี้ ที่รัฐมีแนวโน้มสนับสนุนเศรษฐกิจมากกว่าสิ่งแวดล้อม ดังพบว่า การปฏิรูป
สิ่งแวดล้อมที่น าโดยรัฐบาลนั้น ยังเป็นการจัดล าดับความส าคัญไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการปกป้อง
สิ่งแวดล้อมตามหลักของ Ecological modernization (EM) ซึ่งมีความเข้มงวดเพียงเล็กน้อย (Kim and
Chung, 2018) อย่างไรก็ดี ภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนในระบบนิเวศดูจะถูกกล่าวถึงเพราะเป็นภาคส่วนที่ธ ารง
ให้ระบบนิเวศยังคงอยู่อย่างยั่งยืน ดัง Gruby and Campbell พบว่า ในภูมิภาคแปซิฟิกมีการยกระดับรัฐเล็ก ๆ
และรัฐที่เป็นเกาะเล็กเกาะน้อย (SIDS) ที่ส าคัญที่สุดคือภูมิภาคนี้มีพื้นที่และเครือข่ายกว้างขวางที่ให้พันธะ
สัญญาต่อข้อตกลงว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและให้ชาวเกาะได้มีบทบาทส าคัญในการอนุรักษ์
มหาสมุทรของโลก ถือว่าในวาระที่โลกก าลังให้ความส าคัญกับมหาสมุทร ภูมิภาคแปซิฟิกเหมือนจะสนับสนุน
เพื่อดึงดูดการยอมรับและการสนับสนุนจากนานาชาติ (Gruby and Campbell, 2013) โดยภาคประชาชนมี
การปรับใช้กลยุทธ์ เช่น การใช้วาทกรรมสิ่งแวดล้อมโดยองค์กรประชาชนเกาหลี ได้แสดงให้เห็นว่า เป็นพื้นฐาน
ส าหรับการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ก็ไม่ถูกเปิดเผยหรือเป็นที่รู้จัก ในทางตรงกันข้ามวาทกรรมคู่ขนานจาก
ภาคประชาชนถูกมองว่า เป็นความท้าทายที่น่าสนใจแก่ผู้ที่มีอ านาจเหนือกว่า (Kim and Chung, 2018)
ส่วน ข้อค้นพบทั่วไปจากงานวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศ เป็นข้อค้นพบที่แสดงให้เห็นว่าระบบ
นิเวศไม่ใช่เพียงการพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันไปถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ
วัฒนธรรม ประเพณี อันเป็นมิติทางสังคม ซึ่งการยึดโยงกันแบบนี้จะช่วยให้ระบบนิเวศมีความยั่งยืน ดัง Fox
et al. พบว่า ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของ New England มีอิทธิพลต่อความขัดแย้งเกี่ยวกับการก าจัด
164