Page 179 - kpiebook65022
P. 179
Development Goals: SDGs) ในพื้นที่ที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างเข้มข้นและมีการต่อสู้ เพื่อพัฒนาทางเลือกที่
แตกต่าง
2) ข้อค้นพบจากงานวิจัยเกี่ยวกับความยั่งยืน ได้แก่ ข้อค้นพบในเชิงบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ
กับข้อค้นพบเชิงวาทกรรม โดย ข้อค้นพบประเด็นความยั่งยืนเกี่ยวกับบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ เป็นข้อค้นพบที่
ตอกย้ าว่าความยั่งยืนไม่อาจบรรลุได้หากมีตัวแสดงเดียวในการขับเคลื่อน ดังพบว่า ตัวแทนผู้เข้าร่วมวิจัยจาก
องค์กรสิ่งแวดล้อมของสองเมืองในสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ต่างยอมรับว่ามีความจ าเป็นที่ภาค
ราชการ ภาคเอกชน และภาคอาสาสมัครจะต้องมาร่วมกันปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม (Burgess and Harrison,
1998) หรือ Simpson ที่พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นพลเมือง สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการ
พัฒนาที่ยั่งยืน หรือการปฏิรูปทางด้านสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับนั้น
ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส าคัญทางด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ อันน ามาสู่การ
พัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมุมมองทางด้านสังคม (Simpson, 2020)
ส าหรับ ข้อค้นพบประเด็นความยั่งยืนในเชิงวาทกรรม เป็นข้อค้นพบในเชิงการตั้งค าถาม การ
วิพากษ์ กระบวนทางการเมืองในการจัดท านโยบายสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดความยั่งยืนหรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
ยกตัวอย่างจากการศึกษาความยั่งยืนกับความขัดแย้งในการสร้างถนนใน Territorio Indígena Parque
Nacional Isiboro Sécure (TIPNIS; Isiboro Sécure Indigenous Territory and National Park) และการ
ต้านทานต่อไฟฟ้าพลังน้ าเขื่อนใน Chepete และ Bala พบว่า ข้อค้นพบจากการศึกษานี้สอดคล้องกับการ
วิจารณ์ เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายชิ้นว่า SDGs มีความคลุมเครือ และห่างจากการเมือง แต่ในโบลิเวีย
การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ท าให้แนวคิด SDGs ถูกใช้ในการพัฒนาแบบการสกัดใช้ทรัพยากร (Extractive-Led
Development: ELD) ซึ่งท าให้การเปลี่ยนผ่านวาระสังคมสิ่งแวดล้อมของโบลิเวียแคบลง (Hope, 2020)
ประเด็นสุดท้าย คือ ประเด็นเกษตรกรรม (Agriculture) และประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ
(Natural Disasters) การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นด้านเกษตรกรรมการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ า
ได้แก่ Four Propositions about How Valuation Intervenes in Local Environmental Politics (Tadaki
et al., 2020) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการพิจารณาว่า ข้อมูลที่ถูกยกระดับเกี่ยวกับคุณค่าของสัตว์น้ าได้ช่วยยกระดับ
การตัดสินใจและผลลัพธ์เกี่ยวกับสัตว์น้ าได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่ง Tadaki et al. พบว่า จากข้อเสนอที่ตั้งขึ้นมา
ให้กลไกของการประเมินคุณค่าเพื่อแทรกแซงการด าเนินการตามอ านาจหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม และยังช่วยให้
นักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมมีแนวทางไปสู่ยุติธรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
ส าหรับประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disasters) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการ
บริหารจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยอาศัยการขับเคลื่อนจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชนใน
พื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ จ านวน
1 เรื่อง ได้แก่ Environmental Politics at the End of the World: Prepping as Environmental Practice
(Ford, 2020) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการส ารวจความเตรียมพร้อม (Prepping) ซึ่งบุคคลและครอบครัวเตรียมการ
รับมือกับภาวะฉุกเฉิน ภัยพิบัติ หรือภาวะสังคมล่มสลาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรทางสังคมอย่างภาครัฐหรือ
ตลาด โดยพบว่า การเตรียมการด้านภัยพิบัติ (Prepping) เป็นปฏิบัติการทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก เกี่ยวข้อง
กับการเจรจาต่อรองว่าด้วยเรื่องอาหาร น้ า พลังงาน ของเสีย และแง่มุมอื่น ๆ ทางวัตถุ เพื่อเอาชีวิตรอดจาก
ภัยพิบัติหรือการล่มสลายทางสังคม อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องความเสี่ยงทางสังคม โดยทั่วไป ครัวเรือน
ส่วนใหญ่พึ่งพาระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ เช่น การจัดหาน้ าของเทศบาล อาหาร อุตสาหกรรม การ
กระจายไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งผู้เตรียมการด้านภัยพิบัติ (Preper) ท างานเพื่อลดความเสี่ยงด้วยการวางแผนฉุกเฉิน
166