Page 187 - kpiebook65022
P. 187
สิ่งแวดล้อม เช่น กรณีศึกษาพื้นที่ที่ราชบุรี หรือมีการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ ที่เป็นการศึกษาในแง่ของ
การประเมินผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพไม่ว่าจะเป็น EIA และ EHIA ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
ทางธรรมชาติและต่อชุมชนโดยรอบที่อาศัยอยู่ หรือการศึกษาในเรื่องของพลังงาน ในประเด็นการเคลื่อนไหว
การคัดค้านของโรงไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โรงไฟฟ้าลิกไนท์ที่จังหวัดน่าน หรือจะเป็นกรณี
โรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือโรงไฟฟ้าที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือการศึกษาวิจัยใน
เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นการศึกษาวิจัยในแง่ของการบริหารเมืองภายใต้ภาวะโลกร้อน
โดยศึกษานโยบายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีการขับเคลื่อนอย่างไร ประเด็นสุดท้ายที่พบ
เป็นเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในเชิงการขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติของภาครัฐที่มีความ
ร่วมมือระหว่างภาครัฐ
ตามกรอบประเด็นของ Fahey and Pralle (2016) งานวิจัยไทยยังขาดศึกษาในประเด็นระบบนิเวศ
และการเกษตรกรรม ขณะที่งานวิจัยต่างประเทศจากการค้นคว้าเอกสารด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของ
ต่างประเทศจาก 2 ฐานข้อมูล ได้แก่ ในช่วงปี ค.ศ. 2016 - ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2563) พบว่า
งานวิจัยต่างประเทศสามารถจัดเข้าตามกรอบของการวิจัยนี้ครบทั้ง 9 ประเด็น แต่งานวิจัยในต่างประเทศมี
ความหลากหลายจนมีประเด็นศึกษาที่ไม่อาจจัดเข้ากับกรอบประเด็นสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด และถูกจัดไว้ใน
ประเด็นอื่น ๆ เป็นจ านวนมากถึง 39 เรื่อง งานวิจัยต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ
ตามมาด้วยระบบนิเวศ และมีจ านวนบางส่วนเป็นประเด็นมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความ
ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน พลังงาน เกษตรกรรม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตามล าดับ
จากงานวิจัยต่างประเทศที่ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้จัดไว้ในกลุ่มอื่น ๆ อาจแบ่งประเด็นได้มากกว่า Fahey
and Pralle (2016) ก าหนดไว้ได้อีก 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก ประเด็นนโยบายและ
การตัดสินใจในสิ่งแวดล้อม ประเด็นเรื่องวิธีการ ช่องทาง หรือแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ในส่วนประเด็นการเมือง
สิ่งแวดล้อมโลก เป็นประเด็นที่กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของตัวแสดงในระดับประเทศต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม
เช่น Being There: International Negotiations as Study Sites in Global Environmental Politics
(O'Neill and Haas, 2019) ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์การเกิดขึ้นหรือสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินในการ
เจรจาต่อรองระหว่างประเทศส าหรับประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก หรือ Latent Influence Networks in
Global Environmental Politics (Campbell, Marrs, Böhmelt, Fosdick, and Cranmer, 2019) ที่ศึกษา
เกี่ยวกับเครือข่ายอิทธิพลที่ซ่อนเร้นหรือแอบแฝงในด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น
ประเด็นนโยบายและการตัดสินใจในสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทางนโยบาย
สิ่งแวดล้อมของรัฐบาลโดยรวมที่ไม่อาจระบุประเภททรัพยากรได้ เช่น Tracking Presidents and Policies:
Environmental Politics from Lula to Dilma (Hochstetler, 2017) ศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบและ
วิเคราะห์นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในบราซิลในช่วงการบริหารของประธานาธิบดีสามสมัย ระหว่างปี ค.ศ. 2003
– 2 0 1 4 หรือเรื่อง Domestic Politics and the Formation of International Environmental
Agreements (Marchiori et al., 2017) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการตรวจสอบผลกระทบของการเมืองในประเทศต่อ
นโยบายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เป็นต้น
และประเด็นเรื่องวิธีการ ช่องทาง หรือแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ต่อการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อ
รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปด้วยการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ
ด้านสิ่งแวดล้อม หรือการกระตุ้นคนรุ่นใหม่และอาสาสมัครให้เข้าสู่การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เรื่อง
Citizen Science and the Politics of Environmental Data (Kuchinskaya, 2019) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการ
174