Page 192 - kpiebook65022
P. 192

ชาวบ้านท าการประท้วงหลังจากถูกอพยพจากพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนขึ้นมาที่
               แม่สอด หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวในท้องถิ่นที่

               เชื่อมโยงกับทุนนิยมโลกด้วย กรณีนี้แสดงให้เห็นความต่อเนื่องของการเน้นพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงยุคนี้ยังคง
               ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตัดสินใจต่อการตัดสินใจพื้นที่ ซึ่งจะท าให้การเคลื่อนไหวของภาค
               ประชาชนยังเป็นไปในลักษณะขัดแย้งกับภาครัฐ การมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐอาจไม่สอดคล้องกับการ
               พัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ภาคใต้มีความยั่งยืนเพียงใด การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ

               ตะวันออกหรือ EEC ก็ถูกตั้งค าถามเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบ SDGs ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับประเด็น
               ความยั่งยืนที่พบมี 1 ชิ้น ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจ
               โรงแรม (นิศามาศ เลาหรัตนาหิรัญ, กฤช จรินโท, และบรรพต วิรุณราช, 2559) ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผล
               ต่อความรับผิดชอบในความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจโรงแรม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติ

               ส าหรับธุรกิจโรงแรมที่ให้ตระหนักถึงความส าคัญของความรับผิดชอบต่อทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและ
               ระบบนิเวศ ซึ่งถือว่าเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์สามเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ
               สังคม และสิ่งแวดล้อม (Elder and Olsen, 2019, p.70) อย่างไรก็ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาระดับย่อย
               เฉพาะกลุ่มซึ่งยังไม่สอดคล้องในรายละเอียดข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์ที่พบประเด็นการตัดสินใจทางนโยบาย

               ที่ไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังไม่ได้ควบรวมเอาทุกภาคส่วนเข้าไปสู่กระบวนการ
               ตัดสินใจด้วย ซึ่งเป็นค าถามที่น่าสนใจต่อไปว่าการตัดสินใจพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่ส าคัญอย่าง EEC
               หรือพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษได้มีการกระบวนการตามความหมายของการเมืองสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร

               เป้าหมายและแนวทางยังผลให้เกิดความสมดุล (Level of harmony) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ
               SDGs อย่างไร (Boas et al., 2016, p.459) และหากจะต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจในแบบเดียวกันนี้ รัฐบาล
               และแต่ละภาคส่วนจะต้องท าอะไรอย่างไรเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

                       ส าหรับประเด็นมลพิษสิ่งแวดล้อม ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงเพียงเล็กน้อยว่า ยังมีความรุนแรงมากเช่นกัน
               เช่น กรณีแม่เมาะ จังหวัดล าปาง แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงในรายละเอียดมากนัก เพราะเห็นว่ายังคงเป็นปัญหาที่

               ต่อเนื่อง ขณะที่งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นมลพิษ พบ 3 เรื่อง มีหนึ่งเรื่องที่สอดคล้องกับข้อค้นพบ
               จากการสัมภาษณ์ ได้แก่ เรื่องบทบาททางการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ าเภอแม่เมาะต่อปัญหาด้าน
               สิ่งแวดล้อม ในอ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง (สินทบ มั่นคง, 2552) ที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาท ปัจจัย ปัญหา
               และเสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทการเมืองของกลุ่มอนุรักษ์แม่เมาะ ส่วนอีกสองเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมใน

               การจัดการน าเสียในล าคลองและจัดการขยะในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เรื่องการเมืองของการมี
               ส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณี โครงการคลองสวยน้ าใส (สุทธบท
               ซื่อมาก, 2554) และเรื่องการน านโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ
               วิเคราะห์ การจัดการขยะของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนต าบล ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัด

               อ านาจเจริญ (ขวัญฤดี จันทิมา, 2557) นอกจากนี้ ยังพบงานวิจัยในประเด็นอื่น ได้แก่ เรื่องพรรคการเมืองไทย
               กับนโยบายสิ่งแวดล้อม (ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์, 2558) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการก่อตัวและก าหนดนโยบาย
               ด้านสิ่งแวดล้อมในพรรคการเมืองไทย วิเคราะห์บทบาทพรรคการเมือง และผลการน านโยบายไปปฏิบัติของ
               พรรคการเมืองไทย

                       ช่วงรัฐธรรมนูญ 2560 – 2564 พบการเคลื่อนไหวด้านทรัพยากรด้านป่าไม้และน้ า รวมทั้งยุติธรรม

               สิ่งแวดล้อมที่ช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในสิ่งแวดล้อมมีความซับซ้อนและถูกจ ากัดมากขึ้น ส่วน
               งานวิจัยที่พบมี 24 เรื่อง ซึ่งมีการท าวิจัยในขอบเขตที่มากกว่าข้อค้นพบที่ได้จากการสัมภาษณ์ กล่าวคือ




                                                           179
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197