Page 195 - kpiebook65022
P. 195

โครงการเมืองน่าอยู่ เทศบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี (วารุณี พิมพา, 2545) มีงานวิจัยบางชิ้นที่ตอบสนอง
               มุมมองภาพกว้างด้านความยั่งยืน ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา

               อย่างยั่งยืนขององค์การพัฒนาเอกชนไทยและอินโดนีเซีย (รจนา ค าดีเกิด, 2561) ที่ศึกษาเปรียบเทียบการ
               เคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การพัฒนาเอกชนไทยและอินโดนีเซีย และพบว่า ปัญหาด้าน
               สิ่งแวดล้อมของทั้งไทยและอินโดนีเซียมีความคล้ายคลึงกัน คือ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอันน ามาสู่การเกิด
               ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม องค์การพัฒนาเอกชนมีการเคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การจัดการที่ยั่งยืน เช่น การสร้าง

               องค์ความรู้ชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างกลุ่มเยาวชนเพื่อเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม การให้ข้อมูลกับ
               หน่วยงานรัฐเพื่อการตัดสินใจทางนโยบายที่ค านึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และในระดับปัจเจกก็มี
               งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาแนวทางสมดุลสามเสาหลักในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ
               รับผิดชอบในความหลากหลายทางชีวภาพของธุรกิจโรงแรม (นิศามาศ เลาหรัตนาหิรัญ, กฤช จรินโท, และ

               บรรพต วิรุณราช, 2559) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติส าหรับธุรกิจโรงแรมให้ตระหนักถึงความ
               รับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ พบแนวทาง 8 ด้าน ยกตัวอย่างเช่น การ
               ฝึกอบรมบุคลากร การแข่งขันของธุรกิจโรงแรม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมาตรฐาน การบังคับใช้
               กฎหมายกรีนลีฟ นโยบายของภาครัฐสนับสนุน การสื่อสารภายในโรงแรม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ไม่พบงานวิจัย

               ด้านความยั่งยืนในระดับนโยบายของประเทศและการส่งเสริมในระดับบุคคล ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
               การสร้างพื้นที่กลางเพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยังไม่พบว่ามี
               งานวิจัยไทยที่วิจัยในประเด็นเหล่านี้เช่นกัน

                       ส าหรับงานวิจัยเชิงองค์ความรู้ที่ยังเป็นข้อถกเถียงในสังคมอย่างกรณีการท าไร่เลื่อนลอย หรือการท า
               เกษตรอินทรีย์ที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยกตัวอย่างนั้นยังไม่พบ แต่พบงานวิจัยไทยที่อาจจัดเป็นข้อถกเถียงในประเด็น

               ยุติธรรมสิ่งแวดล้อมได้ ว่าองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์กับองค์ความรู้แบบชาวบ้านแบบใดตอบโจทย์การ
               พัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่ากัน ได้แก่ เรื่องอันดามัน: ความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม การเมืองเรื่อง
               ความรู้และความเป็นธรรมทางสังคมด้านสุขภาวะ (ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, 2559) ที่ศึกษาความรู้ท้องถิ่นด้าน

               สิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรมและสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้าน น ามาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเนื้อหากับ
               รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และรายงานการวิเคราะห์
               ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการท่าเทียบเรือคลองรั้ว จังหวัดกระบี่ พบว่า รายงาน EIA และ EHIA ที่เป็น
               วิทยาศาสตร์มีการลดทอนคุณค่าของพื้นที่ ซึ่งขัดกับทั้งความหมายของการเมืองสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่

               ยั่งยืน ที่ว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของการจัดการประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความ
               เชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่หรือท้องถิ่นนั้น ๆ (Hale, 2020) และแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตั้งอยู่
               บนหลักการส าคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะก าหนดขอบเขตด้านการพัฒนาภายใต้ขีดจ ากัดทางธรรมชาติ
               ของแต่ละพื้นที่ จึงให้ความส าคัญกับค านึงถึงผลกระทบเชิงพื้นที่ (รจนา ค าดีเกิด, 2560)

                       ในเชิงภาคส่วน อุปสรรคของภาครัฐ เป็นปัญหาด้านนโยบายและกฎหมาย การขาดมาตรการสู่การ

               ปฏิบัติจริง ความจริงจังในการแก้ไขปัญหา และการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ส่วนอุปสรรคของภาคประชา
               สังคม ได้แก่ ขาดความเข้มแข็ง มีความกระจัดกระจายของกลุ่มและความหลากหลายทางผลประโยชน์
               มีภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่าเคลื่อนไหวเพื่อขัดขวางการพัฒนา และขาดมุมมองเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับ
               สิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาควิชาการ มีอุปสรรคในการท างานอย่างอิสระ เพราะถูกมองว่าท างานวิชาการเพื่อให้

               เป็นไปตามความต้องการของผู้ว่าจ้างให้ท าวิจัย รายละเอียดโดยสรุปของอุปสรรคจากทั้งสามภาคส่วน ได้กล่าว
               ไปแล้วในตอนต้นของบทนี้




                                                           182
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200