Page 196 - kpiebook65022
P. 196
ส าหรับการวิเคราะห์ว่างานวิจัยที่พบมีการสนับสนุนเพื่อแก้ไขหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่
พบในแต่ละภาคส่วนหรือไม่อย่างไรนั้น ไม่อาจสรุปได้นักในรายละเอียดของงานวิจัยแต่ละชิ้น เพราะอุปสรรคที่
พบในรายละเอียดนั้น จ าเป็นต้องอาศัยการแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติมากกว่างานวิจัย อย่างไรก็ดี ในภาพรวมแล้ว
งานวิจัยทุกชิ้นย่อมมีประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการและงานวิจัยนี้ก็มุ่งหมายเพื่อรวมรวมองค์ความรู้และน าไปใช้
ประโยชน์ทางวิชาการ ส่วนนี้ผู้วิจัยจึงขอยกตัวอย่างให้เห็นเฉพาะงานวิจัยที่เห็นชัดเจนว่าสนับสนุนต่อการ
ท างานของภาครัฐและภาคประชาสังคม
งานวิจัยที่สนับสนุนต่อการท างานของภาครัฐ มีทั้งการสนับสนุนเรื่องแนวทางการตัดสินใจในนโยบาย
สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงกฎหมาย และการปรับปรุงแนวทางการมีส่วนร่วม งานวิจัยที่อาจเป็นประโยชน์ต่อ
การตัดสินใจทางนโยบายของรัฐ เช่น การตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกและการ
แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม (โสภณพิสุทธิ์ จิตจ า และสถาพร สระมาลีย์, 2563) ที่ศึกษาผลกระทบของการตัดสินใจ
ทางนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ขาดการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
พบว่า การตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัญหาที่ก าลังคุกคาม
สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ งานวิจัยที่สนับสนุนต่อการปรับปรุง
กฎหมาย เช่น เรื่องการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม (นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์, ปัญญา
สุทธิบดี, ประเทือง ธนิยผล, และประพจน์ คล้ายสุบรรณ, 2563) ที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการใช้กฎหมาย
สิ่งแวดล้อมที่ใช้บังคับในนิคมอุตสาหกรรม พบว่า ประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายหลักเกี่ยวกับการ
ด าเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ แต่การบังคับใช้ตามสาระกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้กับโรงงาน
ที่ก่อปัญหาหลักได้ เป็นต้น หรือ ปัญหาทางกฎหมายในระบบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วนิดา พรมหล้า,
2564) ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับโครงการการก่อสร้างทางหลวง
ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับระบบการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม พบอุปสรรคเช่น ระบบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมส าหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น ยัง
ขาดบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจนถึงการก าหนดให้ทางหลวงท้องถิ่นเป็นหนึ่งในโครงการที่จะต้อง
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรายงานชิ้นเดียวกันนี้ ยังให้ข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง
กระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อค้นพบว่ามีข้อจ ากัดด้านการติดตาม
ตรวจสอบภายหลังการอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการด าเนินการโครงการตามที่ได้รับอนุมัติ มี
ข้อจ ากัดด้านระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ช านาญการ (คชก.) และยังพบว่าประชาชนยังขาด
การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ส าหรับภาคประชาสังคม มีงานวิจัยหลายชิ้นที่เป็นการถอดบทเรียนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม
ของภาคประชาชน ดังปรากฏหลายชิ้นที่ผู้วิจัยจัดไว้ในประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม แต่มีงานวิจัยสองชิ้นที่
น าเสนอแนวทางการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมอย่างชัดเจน ได้แก่ เรื่องกลไกทางสังคมเพื่อผลักดัน
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา การฟ้องร้องคดีปัญหาสิ่งแวดล้อมของมาบตาพุด (เคนซูกะ ยามากูชิ,
อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, สุรศักดิ์ โจถาวร, มนัสกร ราชากรกิจ, และวิลาศ นิติวัฒนานนท์, 2563) ศึกษาเกี่ยวกับ
กลไกทางสังคมในการผลักดันมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัด
ระยอง หรือ เรื่องการใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองโดยองค์กรภาคประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการ
วิจัยอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา เครือข่ายภาคประชาชน จังหวัดระยอง (อัฏฐพร ฤทธิชาติ, 2563) ที่ศึกษา
เกี่ยวกับรูปแบบและแนวทางการใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองโดยองค์การภาคประชาชน ที่แม้จะเป็น
การศึกษาเชิงถอดบทเรียนจากภาคประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมในจังหวัดระยอง แต่แนวคิดวิทยาศาสตร์
183