Page 197 - kpiebook65022
P. 197

ภาคพลเมืองที่ใช้ศึกษา ท าให้เห็นแนวทางการพัฒนาภาคประชาสังคมในแบบที่จับต้องได้ คือ มีการจัดท า
               ข้อมูลเพื่อแสดงความเห็นคัดค้านก่อนการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม และมีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมใน

               ชุมชนที่ได้รับปัญหามลพิษอุตสาหกรรม โดยภาคประชาชนเอง

                       นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มในประเด็นความส าเร็จด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม
               พบความส าเร็จมีทั้งในเชิงความร่วมมือและการคัดค้าน เช่น ประชาชนร่วมมือกับภาครัฐในโครงการที่ให้คนอยู่
               ร่วมกันกับป่า การร่วมมือในพลังงานสีเขียวในพื้นที่ภาคใต้จังหวัดพังงาที่เริ่มต้นได้ส าเร็จ ความส าเร็จในเรื่อง
               ของเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีการลดใช้สารเคมีในภาคการเกษตรที่น าไปสู่ความยั่งยืน ส่วนความส าเร็จในเชิงคัดค้าน

               เช่น การคัดค้านของภาคประชาชนที่ไม่ให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น การคัดค้านจากภาคประชาชนต่อการ
               ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก เป็นต้น งานวิจัยไทยหลายชิ้นเป็นการถอดบทเรียนในเชิงการคัดค้านเกี่ยวกับ
               นโยบายหรือโครงการด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผลการศึกษาพบทั้งการขับเคลื่อนที่ประสบความส าเร็จและไม่ส าเร็จ
               เช่น เรื่องพลวัตการเคลื่อนไหวและการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล

               (พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์, 2557) ที่ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตในการเคลื่อนไหวของชาวบ้านปากมูล
               และวิเคราะห์แนวทางในการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล พื้นที่จังหวัด
               อุบลราชธานี พบว่าชาวบ้านปากมูลใช้กลยุทธ์ในการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบ เช่น เดินขบวนร้องทุกข์

               การชุมนุมที่ยืดเยื้อ ใช้วาทกรรมช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม ผลิตความรู้ผ่านงานวิจัยไทบ้าน ฯลฯ แต่ก็ยังไม่สามารถ
               ต่อรองให้มีการเปิดประตูน้ าเขื่อนปากมูลอย่างถาวรได้ หรือ เรื่องขบวนการต่อต้านโครงการรัฐในภาคใต้:
               วิกฤติหรือโอกาสด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน (เบญจวรรณ อุปัชฌาย์, 2562) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเกิด
               ขบวนการภาคประชาสังคมที่คัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และ
               จังหวัดกระบี่ พบว่า การเกิดขึ้นของภาคประชาสังคมที่ต่อต้านโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐในภาคใต้ 4

               กลุ่ม ท าให้ประชาชนตระหนักถึงความเป็นประชาสังคมที่ถูกสร้างขึ้น และท าให้รู้ว่าภายใต้ความเป็นประชา
               สังคมมีกฎกติกาในการควบคุมตนเอง และประชาสังคมที่เข้มแข็งได้กลายเป็นเครืองมือส าคัญในการตรวจสอบ
               และวิจารณ์การท างานของรัฐที่ทรงพลัง แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อมในเชิงการปฏิบัติ

               จริง แม้ได้มีช่องทางให้แสดงออกหรือโครงการของรัฐที่ถูกคัดค้านต้องถูกพับไป ในการพิจารณาโดยทั่วไปแล้ว
               เราอาจรับรู้ได้ว่าประสบความส าเร็จ ดังเช่นผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มีความส าเร็จในการตั้งคณะกรรมการ
               เศรษฐกิจหมุนเวียนหรือคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งยังเป็นเพียงการจัดตั้งเท่านั้นแต่ผู้ให้
               สัมภาษณ์ก็เห็นว่าเกิดความส าเร็จขึ้นแล้ว แต่หากมีการศึกษาในเชิงลึกด้วยกรอบการวิจัยก็จะเห็นดังงานวิจัย

               ชิ้นแรกที่ยกตัวอย่างมา ก็จะเห็นว่ายังมีปัจจัยอุปสรรคมากมายที่ขัดขวางต่อการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม

                       6.2.2  เชิงวิธีการ

                       ส าหรับวิธีวิจัยที่พบในการศึกษาวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและต่างประเทศ มีความ
               สอดคล้องกันว่าส่วนใหญ่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยงานวิจัยในไทยใช้การวิจัยแบบผสมผสานรองลงมา และ

               น้อยที่สุดคือ การใช้วิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ ขณะที่งานวิจัยในต่างประเทศรองจากการวิจัยเชิงคุณภาพแล้ว
               เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตามมาด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน อย่างไรก็ดี ไม่ว่างานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมทั้ง
               ต่างประเทศและในประเทศไทย จะมีวิธีการวิจัยแบบใดมากกว่ากัน แต่สิ่งที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความน่าสนใจ
               มากกว่า คือ ความหลากหลายของวิธีการที่ใช้

                       หากเปรียบเทียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีเชิงคุณภาพที่นักวิจัยไทยใช้อยู่ในวงจ ากัดของระเบียบวิธี เช่น

               วิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาเรื่องเล่า วิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ สนทนากลุ่ม สังเกตการณ์



                                                           184
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202