Page 201 - kpiebook65022
P. 201

นอกจากนี้ ข้อค้นพบประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยได้เสนอไว้ในตอนต้นของบทนี้ ว่า
               งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมอาจเพิ่มเติมได้ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การเมืองสิ่งแวดล้อมโลก นโยบายและการ

               ตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม และประเด็นเรื่องวิธีการ ช่องทาง หรือแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ต่อการเคลื่อนไหวด้าน
               สิ่งแวดล้อม ที่อาจเป็นการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม
               หรือการกระตุ้นคนรุ่นใหม่และอาสาสมัคร ให้เข้าสู่การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมนั้น อาจพัฒนายึดโยงไปสู่
               เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดัง Boas et al. เสนอไว้ว่าการบูรณาการสามเสาหลักควรมีการสร้างการมีส่วนร่วม

               ให้กว้างขวางเพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน เช่น เรื่องโลกร้อน รวมถึงกระบวนการ
               ติดตามเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการสร้างเครื่องข่ายพลเมืองเสมือนด้วยการใช้เครื่องมือทาง
               อินเทอร์เน็ต หรือการสร้างเครือข่ายองค์กรเฝ้าระวังจะท าให้นักปฏิบัติมีการเคลื่อนไหวที่กระตือรือร้นมากขึ้น
               ด้วยผ่านการใช้วิธีการเหล่านั้น (Boas et al., 2016, p.459)


                       6.3.2 งานวิจัยไทย

                       ข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ส าหรับกรณีที่เป็นประเด็นมาอย่างยาวนานและต้อง
               ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก เป็นประเด็น  1) มลพิษ ได้แก่ เรื่องฝุ่นควันหรือ PM 2.5 ขยะ

               2) ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การคุ้มครองพื้นที่ป่ากับการจัดการป่าไม้แบบมีส่วนร่วม การจัดสรร
               ทรัพยากรน้ าระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ  และ 3) ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฎหมายและกลไกที่มี
               ลักษณะจ ากัดสิทธิและการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ มีวิกฤตเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และ
               ความยั่งยืนที่การก าหนดทิศทางการพัฒนาของรัฐบาลยังขาดความชัดเจนและเปลี่ยนแปลงบ่อย

                       ตามกรอบของ Fahey and Pralle (2016) ข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม มีความ

               สอดคล้องกับงานวิจัยไทยตรงที่ยังขาดการระบุและศึกษาในประเด็นระบบนิเวศ และการเกษตรกรรม ขณะที่
               ประเด็นพลังงานยังไม่ใช่ทรัพยากรที่เป็นวิกฤตในมุมมองของผู้ให้สัมภาษณ์และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม เนื่องจาก
               เห็นว่าพลังงานในประเทศไทยยังมีเพียงพอเมื่อเทียบกับทรัพยากรอื่นอย่างป่าไม้และน้ า หรือมลพิษที่มีปัญหา
               รุนแรงและยาวนานมากกว่า ส่วนงานวิจัยไทยด้านพลังงานที่พบมีลักษณะเชิงการต่อสู้คัดค้านหรือการ
               เคลื่อนไหวของพลเมือง ซึ่งหากไม่ถูกตีกรอบด้วยประเด็นทรัพยากรก็อาจถูกจัดเข้าสู่ประเด็นยุติธรรม

               สิ่งแวดล้อม

                       ในแง่จ านวนและล าดับความส าคัญหากเปรียบเทียบจากข้อค้นพบและงานวิจัยที่สืบค้นได้นั้นอาจจะ
               ไม่ใช่ประเด็นหลักของการวิเคราะห์ในส่วนนี้ เนื่องจาก จ านวนงานวิจัยที่พบแต่ละประเด็นไม่ได้แตกต่างกัน
               อย่างชัดเจนมากนัก แต่ผู้วิจัยขอชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างงานวิจัยในสองประเด็นที่ส าคัญ ได้แก่ ประเด็นมลพิษ

               และทรัพยากร

                       งานวิจัยไทย จากฐานข้อมูลที่สืบค้น ยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการมลพิษจากฝุ่น PM2.5
               ขณะที่ปัญหานี้มีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดขึ้นอย่างซ้ าซาก ดังผู้ให้สัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกล่าวว่า กรณีฝุ่น
               PM 2.5 ในเขตเมือง หรือเผาไร่เพื่อการเกษตร ยังขาดองค์ความรู้และการแก้ไขปัญหาจริงจัง ขาดการบูรณาการ
               และเป็นปัญหาใหญ่ทั้งในเชิงการด าเนินงานและผลกระทบของปัญหาเกิดกับคนข้ามพื้นที่ งานวิชาการใน

               ประเด็นนี้อาจศึกษาได้หลากหลาย เช่น การศึกษาแบบจ าลองและการพยากรณ์แหล่งก าเนิดฝุ่นที่ละเอียดใน
               ระดับต าบลและอ าเภอ หรือนโยบายพรรคการเมืองในเวทีหาเสียงเรื่อง PM 2.5 มีการสร้างความเกี่ยวโยงกับ
               ประชาชนได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น





                                                           188
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206