Page 205 - kpiebook65022
P. 205
วัฒนธรรมแบบรวมศูนย์อ านาจก็ยังคงปรากฏให้เห็น แม้จะมีการเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ
ตั้งแต่ฉบับ พ.ศ.2540 เป็นต้นมาแล้วก็ตาม
จากข้อค้นพบดังกล่าว คณะผู้วิจัยวิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องไม่สอดคล้องอย่างยิ่งในการส่งเสริม
การเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังที่ Hale (2020) และ Simpson (2020) กล่าวว่าการเมือง
สิ่งแวดล้อมอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของการจัดการ
ประเด็นปัญหาในเชิงพื้นที่ ซึ่งการจัดการสิ่งแวดล้อมจ าเป็นต้องมีการวิเคราะห์การเมืองสิ่งแวดล้อมในรายภาค
(Sectoral) เพราะการวิเคราะห์ภาพใหญ่จะท าให้ตัวแปรทางนโยบายที่ส าคัญถูกละเลย (Doern, 1995) อีกทั้ง
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีลักษณะที่รัฐจัดการได้ไม่ทันท่วงทีหรือไม่เข้าถึง เพราะความซับซ้อนของปัญหา
สิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ดังที่ Dauvergne พบว่าอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติกหรือไมโครบีดส์มีการ
ด าเนินงานทางการผลิตที่ล้ าหน้าและไปไกลกว่าที่กฎหมายก าหนด (Dauvergne, 2018) หรือ Ritts พบว่า
กรณีมลพิษทางเสียงที่กระทบต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลชายฝั่งทะเลตะวันตกของแคนาดา มีปัญหาในประเด็น
ของการบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Ritts, 2017) การเมืองสิ่งแวดล้อมจึงมีความท้าทายต่อโครงสร้าง
อ านาจรัฐที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นการปกครองในรูปแบบใด แต่ก็ต้องการกระบวนการเมืองแบบหุ้นส่วน ที่รัฐให้คุณค่า
กับพลเมือง (Kitchen, 2000) ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลจีนที่ให้ความส าคัญกับการกระจายอ านาจ นักวางแผน
ของแต่ละรัฐในจีนต่างหันมาคุ้นเคยกับเครื่องมือกระจายอ านาจ ขณะที่อ านาจของรัฐบาลกลางถูกจ ากัดมากขึ้น
เพราะประเด็นสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลโดยรัฐบาลท้องถิ่น (Eaton and Kostka, 2018)
ในส่วนต่อไปคณะผู้วิจัยขอจ าแนกวิเคราะห์สองส่วนเป็นบทบาทและอ านาจในการเข้าร่วมการ
ตัดสินใจ กับบทบาทและอ านาจในการเข้าร่วมด าเนินการทางนโยบายของภาคส่วนต่าง ๆ
6.4.1 บทบาทและอ านาจในการเข้าร่วมการตัดสินใจของภาคส่วนต่าง ๆ
เมื่อวิเคราะห์ในเชิงบทบาทและอ านาจการตัดสินใจทางนโยบายสิ่งแวดล้อม เห็นได้ชัดว่างานวิจัยที่
ส ารวจครอบคลุมระดับการตัดสินใจทั้งระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน
เวทีระหว่างประเทศมีรัฐบาล องค์กรสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ ขณะที่ภาคพลเมืองจะมีบทบาท
ชัดเจนในระดับประเทศ
1) บทบาทหน่วยงานของรัฐ
หากพิจารณาบทบาทหน่วยงานรัฐในมุมกว้าง รัฐบาลของแต่ละประเทศถือเป็นตัวแสดงย่อย
หนึ่งในพื้นที่การเมืองสิ่งแวดล้อมอีกชั้นหนึ่ง และน าข้อตกลงที่ได้จากเวทีระหว่างประเทศไปก าหนดเป็น
นโยบายของประเทศ ดัง Panke กล่าวว่าในเวทีระหว่างประเทศ ประเทศสมาชิกหลายประเทศยังขาด
ศักยภาพ จึงไม่สามารถใช้สิทธิความเป็นสมาชิกเมื่อต้องเจรจาในเวทีระหว่างประเทศ (Panke, 2019) ซึ่งจาก
ข้อค้นพบการสัมภาษณ์และระดมความคิดเห็นกลุ่ม พบว่า ประเทศไทยเองในอดีตค่อนข้างได้รับอิทธิพลจาก
ต่างประเทศในการน าแนวทางบริหารจัดการมาใช้ เช่น ช่วง พ.ศ.2500-2509 มีการน าแนวทางจัดการป่าไม้
แบบอนุรักษ์มาใช้ น ามาซึ่งการออกนโยบายและกฎหมายแบบอนุรักษ์ ดังมีออกกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ การ
ประกาศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งกฎหมายบางฉบับเอื้อให้เกิดนายทุนเข้ามาท าสัมปทานป่าไม้ได้ หรือการที่
รัฐบาลไทยมีการติดต่อกับรัฐบาลญี่ปุ่นและอเมริกาใน พ.ศ.2504 ส่งผลให้เกิดแนวคิดการพัฒนาพื้นที่
อุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ตะวันออก ที่เรียกว่า อีสเทิร์นซีบอร์ด หรือการตัดสินใจสร้างเขื่อนห้วยหลวง จังหวัด
192