Page 207 - kpiebook65022
P. 207
ชุมชน อันเป็นช่องทางกระจายอ านาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.
2540 และ พ.ศ. 2550 (นิยม ยากรณ์, กฤษฎา บุญชัย และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ, 2562)
2) บทบาทภาคประชาชน
ในเชิงการมีส่วนร่วมตัดสินใจต่อนโยบายหรือโครงการของรัฐ ภาคประชาชนมีการเคลื่อนไหวใน
รูปแบบการประท้วงเรียกร้องเป็นเครื่องมือส าคัญ อันเป็นผลให้โครงการหรือนโยบายบางอย่างที่รัฐจะตัดสินใจ
ด าเนินการหยุดชะงักหรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากแต่จะท าให้เกิดผลเช่นนั้นได้ ต้องเป็นการเคลื่อนไหวที่
จริงจัง เข้มแข็ง และต่อเนื่องเพียงพอด้วย ยกตัวอย่างการต่อต้านอย่างหนักของกลุ่มนักศึกษาและปัญญาชนต่อ
การสร้างเขื่อนผามองที่จังหวัดเลย หรือนโยบายทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยนับแต่การมีสัมปทานตั้งแต่สมัย
รัชกาลที่ 5 ได้ปิดฉากลงเพราะเหตุภัยพิบัติดินโคลนถล่มที่สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช จนท าให้มี
ผู้เสียชีวิตเป็นจ านวนมาก น ามาสู่ข้อเรียกร้องของประชาชนและท าให้มีการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ใน พ.ศ.2532
สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย หรือการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนน้ าโจนในจังหวัดกาญจนบุรีของกลุ่มนักศึกษา
ท าให้ต้องชะลอโครงการออกไปก่อนเมื่อปี พ.ศ.2531 หรือการเรียนรู้นับตั้งแต่กรณีเขื่อนปากมูล ภาค
ประชาชนมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็ง ท าให้เขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทยยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้นับแต่นั้นมา
เช่น แม่น้ ายมที่เป็นแม่น้ าสายยาวสายเดียวที่ยังไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่แต่ยังไม่สามารถสร้างได้ เพราะ ประชาชน
กลุ่มเล็ก ๆ เคลื่อนไหวคัดค้านอย่างแข็งขันตลอดเวลากว่า 30 ปี แม้ภาครัฐ ธนาคารโลก และนักการเมือง
ท้องถิ่นจะสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีกรณีการเคลื่อนไหวของประชาชนในลักษณะของ
การแสวงหาความร่วมมือกับคู่ตรงข้าม ดังเช่นชาวบ้านในพื้นที่อ่าวอุดมที่ได้รับผลกระทบมลพิษปลดปล่อยจาก
โรงงานอุตสาหกรรม เปลี่ยนข้อเรียกร้องน ามาสู่การรวมตัวเพื่อหาความร่วมมือและหาทางออกร่วมกัน จนเกิด
เป็นธรรมนูญอ่าวอุดม
ข้อค้นพบจากการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนดังกล่าว สอดคล้องกับ รุ่งทิวา หนักเพ็ชร และ
อีกหลายท่านที่ว่าเมื่อประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการทั้งที่การด าเนินการนั้นอาจได้รับผลกระทบ จึงมีการ
เคลื่อนไหวผ่านการประชุม รวมตัว ตลอดจนการยื่นหนังสือเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐ (รุ่งทิวา หนักเพ็ชร,
2556) ประชาชนเคลื่อนไหวในแบบเครือข่ายเพื่อให้มีพลังพอในการใช้อ านาจต่อรองกับผู้ก าหนดนโยบาย
ยกตัวอย่าง ขบวนการเคลื่อนไหวแบบเครือข่ายเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ส าคัญที่แกนน าชาวปกาเกอะญอ บ้าน
แม่ซา และพื้นที่ใกล้เคียง มีผลระงับโครงการสร้างเขื่อนแม่แจ่มได้ในที่สุด (ประสิทธิ์ ลีปรีชา และกนกวรรณ
มีพรหม, 2562) การเคลื่อนไหวของประชาชนโดยมีการประสานกับกลุ่มและเครือข่ายนอกพื้นที่ ท าให้มีความ
เชื่อมั่นมากกว่าการที่จะออกมาคัดค้านอย่างโดดเดี่ยว โดยเฉพาะในการวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร (กิตชัยยกุลย์
อินทร์แก้ว และคนอื่น ๆ, 2563) และเห็นได้ชัดเจนว่าการขาดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน มีผลท าให้
การก่อสร้างโครงการของรัฐต้องล่าช้าออกไป (อารีย์วรรณ ทัตตะศิริ, 2543)
อย่างไรก็ดี สิทธิและการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชนยังคงถูกจ ากัดเสมอมา ผู้ให้สัมภาษณ์
และผู้เข้าร่วมการระดมความคิดเห็นกลุ่มยังเห็นว่า แนวโน้มของการใช้สิทธิทางสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม
เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นนับแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนใน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ต่อเนื่องมาจนรัฐธรรมนูญ
2550 เพราะฉบับ 2550 รับรองสิทธิชุมชนในทันทีโดยไม่ต้องมีกฎหมายระดับรอง แต่รัฐธรรมนูญ 2560 กลับ
เปลี่ยนสิทธิของชุมชนเป็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ
มีการใช้ถอยค าตามที่กฎหมายบัญญัติกลับมาใช้อีก ท าให้เกิดข้อโต้แย้งว่าภาคส่วนอื่นอย่างประชาชนยัง
สามารถใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในนโยบายสิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องรอกฎหมายระดับรองออกมาหรือไม่
194