Page 212 - kpiebook65022
P. 212
ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ร.บ.ภัยพิบัติ ที่บทลงโทษไม่รุนแรงกับผู้ปล่อยมลพิษ
ปัญหาในเชิงกฎหมายนี้ สอดคล้องกับ นิทัศน์ เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ ว่าประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมาย
หลักเกี่ยวกับการด าเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งบังคับใช้โรงงานในภาพรวมที่ไม่ได้อยู่ใน
พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงอยู่ในปัจจุบัน เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ที่มีการผลิตซับซ้อนและเกี่ยวกับด้านสารเคมีซึ่งส่งผลกระทบรุนแรง โรงงานเหล่านี้เกือบทั้งหมด
ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม แต่กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้กับโรงงานที่ก่อปัญหาหลักในปัจจุบันได้ (นิทัศน์
เจียมศรีพงษ์ และคนอื่น ๆ, 2563)
ในส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส าหรับประเทศไทย ผู้ให้สัมภาษณ์และระดมความคิดเห็น
มองว่า อปท. เองมีบทบาทในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ ดังกรณีการจัดการพื้นที่ป่าไม้ภาคเหนือร่วมกัน
โดยใช้ GIS ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมท าการส ารวจพื้นที่กับชุมชน หน่วยงานรัฐอื่น ประชาสังคม
วิชาการ ฯลฯ อย่างไรก็ดี อปท. ในฐานะรูปธรรมของการกระจายอ านาจยังพบมีอุปสรรคเรื่องศักยภาพที่จะ
รองรับการพัฒนาที่เติบโตและการบูรณาการระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับมือกับประเด็น
สิ่งแวดล้อมที่จะมีความซับซ้อนของปัญหามากขึ้น เช่น กรณีน้ าเสียและขยะที่ท้องถิ่นจัดการ แต่ อปท.เกินกว่า
ครึ่งหนึ่ง ยังไม่มีระบบจัดการของเสียและมลพิษ และในจ านวนเหล่านี้ก็มีการจัดการที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 15
เท่านั้น เพราะ ขาดงบประมาณและบางแห่งเป็น อปท.ขนาดเล็ก ขณะที่ก็ยังไม่สามารถร่วมมือระหว่างท้องถิ่น
เพื่อร่วมมือจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้กันได้
ข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับ อุบล จันทร์เพชร ที่พบว่า ปัญหาการด าเนินงานของสมาชิกองค์การ
บริหารส่วนต าบลต่อโครงการเมืองน่าอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ งบประมาณมีน้อย ประชาชนขาดความรู้
ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ และยังขาดการติดตามผลและขาดความต่อเนื่องในการติดตามผล (อุบล จันทร์เพชร,
2543) หรือปัญหาการด าเนินงานของเทศบาลบ้านหมี่ พบว่า การส่งเสริมประชาชนยังขาดความต่อเนื่อง
(วารุณี พิมพา, 2545) ปัญหาการด าเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ ขาดแคลน
บุคลากร งบประมาณที่นักการเมืองท้องถิ่นเองก็ยังมองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว อีกทั้ง ประชาชนยังขาด
ความรู้และตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมสุขภาพ (รัตนา แสงสว่างโชติ, 2549) หรือปัญหาของการบริหารจัดการ
สิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีข้อจ ากัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 ไม่มีสถานที่ก าจัดขยะ
และแม้มีสถานที่ก าจัดขยะแต่มากกว่าครึ่งหนึ่งมีระบบก าจัดที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล การด าเนินกิจกรรมส่งเสริม
การมีส่วนร่วมจากชุมชนในการจัดการขยะยังคงด าเนินการเฉพาะบางชุมชน (ขวัญฤดี จันทิมา, 2557)
2) ภาคประชาสังคม
จากการสัมภาษณ์ พบว่า ภาคประชาสังคมไทยมีทั้งส่วนที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ประสบ
ปัญหาหรือได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมหรือโครงการของรัฐ ดังตัวอย่างกลุ่มประมงพื้นบ้าน ที่ปัญหา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความวิกฤตมากขึ้น น ามาสู่การรวมกลุ่มของประชาชนมีการบริหาร
จัดการภายในกลุ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มประมงพื้นบ้านประมงชายฝั่งพื้นที่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน เพื่อปกป้อง
พื้นที่ชายฝั่ง 3 ไมล์ทะเล กับประชาสังคมที่อาจไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงแต่มีบทบาทเคลื่อนไหวเพื่อ
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ อย่างการเคลื่อนไหวของกลุ่มภาคีบางกลอยบางส่วน หรือกลุ่มเพื่อนตะวันออก กลุ่ม
EEC watch มีการท างานหลากหลายและหลายกลุ่มเข้าร่วมเป็นเครือข่าย หรือโครงการจอมป่าของมูลนิธิสืบ
นาคะเสถียรที่เข้าไปขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานรัฐและชุมชน เพื่อให้แต่ละภาคส่วนมีการบริหารจัดการป่าไม้
ร่วมกัน เปลี่ยนคู่ขัดแย้งให้เป็นผู้ร่วมมือกัน ไม่ว่าภาคประชาสังคมในประเทศไทยจะมีที่มาอย่างไร แต่ก็มี
แนวโน้มที่จะมีบทบาทในการด าเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ในช่วง พ.ศ.2540
199