Page 213 - kpiebook65022
P. 213

เป็นต้นไป กลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมมีจ านวนมากในช่วงนี้ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่
               เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นได้จาก

               การเคลื่อนไหวเพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมายสิ่งแวดล้อมหลายฉบับขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้

                       คณะผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าภาคประชาสังคม มีบทบาทในเชิงการสนับสนุนแก่ภาคประชาชนทั่วไปแล้วท า
               ให้เกิดผลในทางที่ดี ดังเช่น Fagan พบว่า องค์กรระหว่างประเทศช่วยให้เกิดผลกระทบทางบวก เช่น การมี
               กองทุนช่วยเหลือและกรอบการให้ทุน (Fagan, 2008) ซึ่งการเมืองภาคพลเมืองมีแนวโน้มขยายตัวด้วยช่องทาง
               ที่หลากหลายมากขึ้น ดัง Brettel พบว่า พลเมืองจีนมีโอกาสและช่องทางในการเคลื่อนไหวที่หลากหลายมากขึ้น

               (Brettell, 2003) โดยกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง NGOs เป็นภาคส่วนที่มีบทบาทส าคัญต่อ
               การเคลื่อนไหวประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ผ่านการขยายเครือข่าย กิจกรรมการประท้วงที่เข้มข้น การเปิดเผย
               ผลกระทบสู่สาธารณะอย่างกว้างขวาง การใช้วาทกรรมสิ่งแวดล้อม (Kim and Chung, 2018) การเคลื่อนไหว
               ผ่านช่องทางออนไลน์ของนักกิจกรรม (Deem, 2019) กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมหรือนักวิชาการยังเข้าไปมี

               อิทธิพลผ่านการใช้ช่องทางเครือข่าย และสื่อสาธารณะ เพื่อมีอิทธิพลต่อผู้จัดท านโยบาย (Kousis et al.,
               2001; Lubitow, 2011) อย่างไรก็ดี การเรียกร้องของ NGOs ส าเร็จได้ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ที่
               ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นผู้น าชุมชน กลุ่มสตรี เครือข่ายสตรี และประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่ (Langford,

               2016)
                       ขณะเดียวกัน มีนักวิชาการหลายท่านเห็นว่าภาคประชาสังคมยังไม่เข้มแข็งพอในการเข้าไปมีบทบาท

               เชิงเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่อาจมีข้อจ ากัดเชิงโครงสร้างการเมือง สอดคล้อง
               ดังที่ Green พบว่า กลุ่ม NGOs ระหว่างประเทศ ยังมีบทบาทน้อยมากในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งขัดต่อการ
               บริหารปกครองที่ดี (Green, 2008) เช่นเดียวกับ Grano ที่ว่าการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของ NGOs บาง

               กลุ่มในการเมืองสีเขียวยังคงมีข้อจ ากัด (Grano, 2012) หรือการมีอิทธิพลของกลุ่มวิชาการ ที่ถือเป็น
               ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่สามารถควบคุมกระบวนการปกครองทางสิ่งแวดล้อมได้ (Wesman and Broto,
               2018)

                       นอกจากนี้ จากข้อค้นพบประชาสังคมไทยมีภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่าการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของ
               ภาคประชาสังคมคือการขัดขวางการพัฒนา เพราะไม่ได้รับความเดือดร้อนอะไรจากโครงการของรัฐแต่กลับ

               เคลื่อนไหวแทนชาวบ้าน จึงเป็นเหตุให้ภาคประชาสังคมถูกมองว่ามีวาระแอบแฝงในการเคลื่อนไหว สอดคล้อง
               กับข้อค้นพบของ Knudsen ที่เห็นว่าบทบาทและอ านาจของกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในตุรกี
               ค่อนข้างจ ากัดในการเคลื่อนไหวประเด็นพลังงาน ท าให้นักเคลื่อนไหวต้องระมัดระวังในการแสดงออก เพราะ
               อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สร้างความแตกแยกให้กับประเทศ (Knudsen, 2015; Knudsen, 2016)

                       การมองว่าการเคลื่อนไหวของประชาสังคมมีวาระแอบแฝง อาจอธิบาย ดังที่ Davis และ Powrie

               พบว่า ภาคประชาสังคมเองบางครั้งอาจเคลื่อนไหวเฉพาะเมื่อผลประโยชน์ถูกกระทบ หรืออาจมีการด าเนินการ
               บางอย่างเพื่อความต้องการของกลุ่มตน การเข้าร่วมของกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเป็นไปตาม
               แนวคิดพหุนิยมในการแบ่งปันผลประโยชน์ (Davis, 1997) เช่น กลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่มในนิวซีแลนด์
               เกิดขึ้นเพื่อการปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา (Powrie, 1997) ซึ่งการมุ่งผลประโยชน์เฉพาะที่กระทบกับ

               ตนเองเท่านั้นอาจไม่ได้ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังที่ คนภายนอกคาดหวังผลการเคลื่อนไหวจากกลุ่ม
               ประชาสังคม ตามที่ Newmark and Witko พบว่า การเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง บางครั้งก็ไม่ได้
               สัมพันธ์กับความคุ้มค่าทางงบประมาณที่เสียไป (Newmark and Witko, 2007) ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจท าให้
               แนวโน้มของประชาสังคมเป็นไปในแนวทางร่วมมือกับรัฐบาล ดังเช่นในจีนพบความร่วมมือที่มากขึ้นของรัฐบาล



                                                           200
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218