Page 211 - kpiebook65022
P. 211
ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐจ าเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพื่อน าไปสู่
ความยั่งยืน (Brettell, 2003; Tienhaara, 2016; Campling and Havice, 2018; Rea, 2019)
จึงกล่าวได้ว่า เครื่องมือเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนเสริม หากโครงสร้าง กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายที่
เหมาะสมยังไร้ประสิทธิภาพ ขณะที่การแทรกแซงทางการเมืองยังไม่ลดน้อยลงไป ดังที่ Milmanda and
Garay พบว่า การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปกป้องผืนป่า Argentine Chaco ในประเทศอาร์เจนตินา
มีการแทรกแซงทางการเมืองจากผู้มีอิทธิพล ทั้งในแง่ของแรงจูงใจ สิ่งจูงใจ และทรัพยากรต่าง ๆ ของระบบ
ราชการ (Milmanda and Garay, 2020) เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้ก็ไม่อาจท าให้รัฐบาลแต่ละประเทศมีการ
บริหารการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ หากปัญหาที่เป็นโครงสร้าง กฎหมาย และการ
บังคับใช้กฎหมายยังไม่ได้รับการแก้ไข ความล้มเหลวซ้ าแล้วซ้ าเล่าของหน่วยงานรัฐที่น านโยบายไปสู่การปฏิบัติ
อาจบั่นทอนความน่าเชื่อถือ และหน่วยงานรัฐยังต้องเพิ่มการก ากับดูแลมากขึ้นไปอีก ดังพบว่า ความไม่
น่าเชื่อถือของรัฐในการด าเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในชิลีท าให้รัฐต้องเผชิญกับการก ากับดูแลที่กว้างขึ้น
(Barandiaran, 2013)
บทบาทหน่วยงานรัฐฝ่ายตุลาการ ส่วนใหญ่พบว่า เป็นบทบาทในการรับเรื่องร้องเรียนโดยผลของค า
พิพากษาของหน่วยงานตุลาการมีผลเป็นบรรทัดฐานทางสังคมต่อไป โดยบทบาทของศาลในการรับเรื่อง
ร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนสามารถใช้ช่องทางฟ้องร้องฝ่านศาลปกครองโดยใช้การรับรองของ
ศาลรัฐธรรมนูญเพื่ออ้างสิทธิในสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างคดีฟ้องร้องคดีมาบตาพุด โครงการโดยใช้ค าวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญที่มีการรับรองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เป็นผลให้ศาลปกครองพิพากษาตามและทั้ง
76 โครงการนั้น ต้องถูกระงับไว้ก่อน ท าให้การฟ้องร้องประเด็นสิ่งแวดล้อมต่อศาลปกครองมากขึ้น ทั้งยังมีการ
ฟ้องร้องเชิงป้องกันมากขึ้น เพื่อให้มีมาตรการป้องกันทางสิ่งแวดล้อม หรือตัวอย่างบทบาทของศาลในการรับ
เรื่องฟ้องร้องกรณีชาวบ้านคลิตี้เกี่ยวกับการปนเปื้อนมลพิษในหลายคดี จนถึงปี พ.ศ.2556 ที่ศาลปกครอง
สูงสุดพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษต้องจัดท าแผนฟื้นฟูและมีการด าเนินการแก้ไขปัญหามลพิษ ศาลฎีกา
พิพากษาให้ผู้ก่อมลพิษต้องชดใช้ค่าเสียหายและฟื้นฟูเยียวยาการปนเปื้อนมลพิษในล าห้วยคลิตี้ ซึ่งถือเป็น
รูปธรรมความส าเร็จในการฟ้องร้องคดีมลพิษ ซึ่งภาครัฐในส่วนของศาลได้ท าให้เกิดบรรทัดฐานการตัดสินที่เป็น
ธรรมมากขึ้น
อย่างไรก็ดี กรณีการท าหน้าที่ของฝ่ายตุลาการไม่อาจเกิดผลต่อการเมืองสิ่งแวดล้อมที่เท่าเทียมและ
เป็นผลดีต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมได้เลยหากขาดกฎหมายที่จ าเป็น ดังผู้ให้สัมภาษณ์ยกตัวอย่าง กฎหมายด้าน
การฟื้นฟูและเยียวยาที่ยังไม่มีการบัญญัติไว้ ท าให้ไม่มีงบประมาณและหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง จึงไม่มี
ความชัดเจนในการรับมือกับปัญหา จึงกลายเป็นว่าแม้มีค าพิพากษาทั้งศาลปกครองและศาลยุติธรรมให้
หน่วยงานรัฐและสถานประกอบการฟื้นฟูในหลายคดี แต่ขาดกฎหมายรองรับจึงไม่ได้มีกฎเกณฑ์และแนวทาง
ฟื้นฟูที่ชัดเจน อีกทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสเกี่ยวกับการด าเนินการเรื่องฟื้นฟูด้วย
ส าหรับ บทบาทฝ่ายนิติบัญญัติ พบว่า มีการท าหน้าที่ในรัฐสภาของสมาชิกฯ เช่น มีการอภิปรายใน
รัฐสภาของสมาชิกรัฐสภาในภาคอีสานที่อภิปรายเรื่องการกู้เงินจ านวนมหาศาลของรัฐบาลเพื่อสร้างเขื่อนใน
ภาคอีสาน ทั้งที่ประชาชนยังมีความยากจน และมีข้อค้นพบที่ส าคัญเกี่ยวกับกฎหมายที่จ าเป็นและทันสมัยใน
การจัดการประเด็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์และผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็นหลายท่านเห็นว่า เป็นปัญหา
ส าคัญต่อการด าเนินงานตามนโยบายสิ่งแวดล้อม เพราะแม้จะมีนโยบายที่ดีเพียงใด หากแต่เจ้าหน้าที่
หน่วยงานรัฐไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ทันสมัยและเหมาะสมมารองรับ ก็ไม่สามารถด าเนินการได้ โดยผู้ให้ข้อมูล
หลายท่านกล่าวว่า กฎหมายบางฉบับล้าสมัย ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง จึงท าให้มีช่องว่างทางกฎหมาย
198