Page 206 - kpiebook65022
P. 206

อุดรธานี ที่ได้รับค าแนะน าจากประเทศอเมริกาในการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ าโขงในภาคอีสาน หรือการสร้าง
               เขื่อนผามองที่จังหวัดเลยด้วยเช่นกัน

                            การตัดสินใจทางนโยบายของรัฐแบบมุ่งเน้นเศรษฐกิจเป็นผลให้ประชาชนเกิดการช่วงชิง

               ทรัพยากร อันน าไปสู่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น นโยบายส่งเสริมการเกษตรเชิงเดี่ยวช่วง พ.ศ.2510-2514
               ท าให้เกิดการรุกป่าและจับจองที่ดิน และน ามาสู่การเคลื่อนย้ายของประชากรเพื่อไปยังพื้นที่ที่มีการจ้างงาน
               และเศรษฐกิจดีกว่า ต่อมาช่วง พ.ศ.2535-2540 จัดได้ว่าเป็นช่วงที่พลิกผันของประเด็นสิ่งแวดล้อมในประเทศ
               ไทย อันเป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ก่อนหน้านี้ ประกอบ

               กับวาระสิ่งแวดล้อมโลกที่กรุงริโอเดอจานิโร ท าให้นโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐไทยในช่วงนี้ค่อนข้างเป็นไปในเชิง
               ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนคือการออก พ.ร.บ.
               ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ที่มีเรื่องของการตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมกับการต้อง
               ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมส าหรับโครงการที่อาจมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้ให้สัมภาษณ์มีข้อสังเกต

               ว่ากฎหมายนี้ออกมาในช่วงที่สถานการณ์การเมืองในประเทศไม่เป็นปกติ หากเป็นช่วงเวลาปกติกฎหมายฉบับ
               นี้อาจไม่ถูกออกมาบังคับใช้เพราะอาจมีนายทุนที่เสียประโยชน์เข้าไปมีอิทธิพลต่อการออกกฎหมาย

                            อย่างไรก็ดี ผู้ให้สัมภาษณ์ยังมองว่าการก าหนดนโยบายของรัฐบาลไทยมีลักษณะรวบอ านาจ
               เช่น ร่าง พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษในภาคใต้ที่หากออกมาได้ จะเป็นการรวบการบริหารจัดการทุกอย่าง
               ภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ การเคลื่อนไหวเรื่องมาตรการสิ่งแวดล้อมที่ภาคประชาสังคม ร่วมกับหน่วยงานรัฐท ากัน

               มาก็จะถูกยกเลิกไปเพราะกฎหมายฉบับนี้ ดังเช่น กรณี EEC

                            จากบทบาทหน่วยงานของรัฐในการตัดสินใจทางนโยบาย วิเคราะห์ได้ว่าการเมืองสิ่งแวดล้อม
               ระหว่างประเทศในแบบเดิม ประเทศที่พัฒนาแล้วอาจเข้าไปมีอิทธิพลในการตัดสินใจของประเทศก าลังพัฒนา
               ดังรัฐบาลญี่ปุ่นกับรัฐบาลอเมริกาที่เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอดีต ส่วนในระยะหลังวาระ
               สิ่งแวดล้อมได้รับการค านึงถึงมากขึ้น เห็นได้จากเวทีการเมืองสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ท าให้แต่ละประเทศ

               มีภารกิจที่ต้องน าข้อตกลงนั้นมาด าเนินการให้เป็นนโยบายหรือกฎหมายภายในประเทศ หากแต่ผู้ก าหนด
               นโยบายระดับประเทศ บางครั้งไม่ได้ด าเนินนโยบายทางกฎหมายในประเทศให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่าง
               ประเทศ (Green and Colgan, 2012) ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านเห็นว่า ผู้ปกครองรัฐไทยยังคงเน้นการ

               พัฒนาทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด ไม่ได้พัฒนาไปในทางที่จะท าให้เกิดความยั่งยืน เป็นไปได้ว่าผู้ก าหนด
               นโยบายได้รับอิทธิพลหลายประการ ดังที่ Davis พบว่า ภาครัฐนั้นมีการตัดสินใจทางนโยบายที่โน้มเอียงไป
               ในทางผู้บริโภคและภาคธุรกิจ (Davis, 2005;  Davis, 2007) หรือ Hochstetler พบว่า สายสัมพันธ์ระหว่างผู้
               ก าหนดนโยบายกับตัวแสดงในพื้นที่นโยบายในประเทศบราซิล มีผลให้การแก้ปัญหาท าลายป่าถูกละเลยในช่วง

               เปลี่ยนผ่านประธานาธิบดี โดยนโยบายเปลี่ยนไปในทางส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และพลังงาน
               มากกว่า เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมมีสายสัมพันธ์ไม่มากนักกับกลุ่มนักเคลื่อนไหว จึงท าให้
               นโยบายป่าไม้เปลี่ยนไป (Hochstetler, 2017)

                            นอกจากนี้ จากข้อค้นพบบทบาทของท้องถิ่นในมุมมองของผู้ให้สัมภาษณ์ท าให้เห็นว่าท้องถิ่น
               ยังคงมีบทบาทในเชิงนโยบายและการบริหารจัดการบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการของ

               ประชาชน ซึ่งอาจยังเป็นบทบาทที่ไม่ครบถ้วนเพียงพอ เพราะในความเป็นจริงแล้วท้องถิ่นสามารถมีบทบาทใน
               เชิงนิติบัญญัติได้ด้วย ดังที่ นิยม ยากรณ์, กฤษฎา บุญชัย และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ พบว่า ในการตัดสินใจ
               ระดับท้องถิ่น มีกระบวนการสร้างข้อบัญญัติท้องถิ่นของกรณีศึกษา เพื่อเป็นกลไกการจัดการทรัพยากรร่วมของ





                                                           193
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211