Page 208 - kpiebook65022
P. 208

นอกจากปัญหาในเชิงกฎหมายที่มีลักษณะปิดและเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมเป็นบางห้วงบางตอน ประชาชน
               บางกลุ่มยังขาดอ านาจในการเข้าถึงการตัดสินใจเมื่อเทียบกับภาคเอกชนที่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลทางนโยบาย

               ของรัฐได้ อีกทั้งยังขาดความรู้ทางวิชาการและงบประมาณสนับสนุน เช่น กรณีการประเมินผลกระทบ
               สิ่งแวดล้อม ที่เจ้าของโครงการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อด าเนินกระบวนการผลิตงานวิชาการที่สนับสนุนต่อ
               โครงการ แต่ภาคประชาชนขาดองค์ความรู้และงบประมาณดังกล่าว ที่จะสนับสนุนให้ข้อมูลของฝั่งชุมชนได้ถูก
               น าเสนออย่างถูกต้อง

                            สอดคล้องกับนักวิชาการท่านอื่นที่พบว่าภาคประชาชนนั้น มีอ านาจหรือบทบาทในพื้นที่ต่อรอง

               ในการตัดสินใจนโยบายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพราะที่มาของการการก าหนดนโยบายมีเงื่อนไขหลายประการว่า
               ข้อเสนอของประชาชนจะได้ไปสู่การเป็นนโยบายหรือไม่ เช่น การต่อรองผลประโยชน์จากผู้มีอิทธิพลทาง
               การเมือง ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม (Prakash and Bernauer, 2020) เช่นเดียวกับ สุภาวดี แก้วประดับ
               เห็นว่า อุปสรรคในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิชุมชนเพื่อต่อรองเชิงนโยบาย เป็นผลมาจากการใช้อ านาจในการ

               บริหารจัดการทรัพยากร และการพัฒนาในแนวทางแบบเสรีนิยม (สุภาวดี แก้วประดับ, 2546)

                            3) พรรคการเมือง

                            พรรคการเมืองไทยยังคงมีบทบาทน้อยในการเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อมจากภาคประชาชน
               เข้าสู่การเมืองในรัฐสภา ทั้งที่ควรเป็นหนึ่งในกลไกที่จะเป็นตัวแทนความต้องการของประชาชนได้ จึงท าให้ใน
               ประเด็นสิ่งแวดล้อมนี้ พรรคการเมืองเข้ามามีบทบาทไม่มากนักในการก่อตัวและก าหนดนโยบาย (ณัฐณภรณ์

               เอกนราจินดาวัฒน์, 2558) ซึ่ง DeSombre (2020) เห็นว่า นักการเมืองมีความต้องการที่จะได้รับการเลือกตั้ง
               เข้าไปใหม่ จึงมีแนวโน้มที่จะออกนโยบายหรือผลักดันในประเด็นที่ผู้เลือกตั้งสนับสนุนด้วยเช่นกัน จากมุมมอง
               ของ DeSombre นี้เอง วิเคราะห์ได้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (หรือประชาชนไทยโดยทั่วไป) อาจไม่ได้ให้ความส าคัญ
               กับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากนัก เมื่อเทียบกับประเด็นทางเศรษฐกิจสังคม ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านก็ตั้งข้อสังเกต
               ไว้เช่นนี้เหมือนกัน เรื่องสิ่งแวดล้อมจึงเป็นการเคลื่อนไหวและสนับสนุนโดยกลุ่มเฉพาะหรือประชาสังคมที่

               สนใจในประเด็นนี้ เป็นผลให้นโยบายของพรรคการเมืองที่ผ่านมาไม่ได้มีวาระเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าไปสู่การหา
               เสียง ตลอดจนขับเคลื่อนประเด็นนี้ในรัฐสภาเท่าที่ควร

                            4) ภาคประชาสังคม

                            ภาคประชาสังคมไทยถือว่ามีบทบาทในการตัดสินใจทางนโยบายของรัฐ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย
               อื่นด้วย เช่น มีการเคลื่อนไหวของประชาชนทั่วไปร่วมด้วยหรือไม่ กระแสสิ่งแวดล้อมโลกมีแนวโน้มไปใน

               ทิศทางใด ยกตัวอย่าง ความก้าวหน้าของภาคประชาสังคมในช่วงสมัยของ คุณสืบ นาคะเสถียร ที่ปฏิบัติหน้าที่
               เป็นเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้และในช่วงนี้เององค์กรพัฒนาเอกชนเกิดขึ้นหลายองค์กร ท าให้กระแสอนุรักษ์ป่าไม้
               เกิดขึ้นทั่วประเทศ และภาคประชาสังคมนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่น าไปสู่นโยบายปิดป่าทั่วประเทศ การเสียชีวิตของ
               นักพัฒนาอย่างคุณสืบ ยังท าให้กระแสการคัดค้านการสร้างเขื่อนในสมัยนั้นขยายวงกว้างมากขึ้น

                            หรือกรณีการริเริ่มผลักดัน พ.ร.บ.ป่าชุมชนตั้งแต่ พ.ศ.2535 โดยชุมชนและองค์กรพัฒนา

               เอกชนร่วมกันพัฒนาขึ้นมา แต่รัฐบาลในช่วงนี้ยังมองว่าการบริหารจัดการป่าไม้ต้องกันคนออกจากพื้นที่ป่า
               เท่านั้น ในช่วงแรกกฎหมายฉบับนี้ไม่ผ่านทั้งสามวาระ และในภายหลังผ่านกฎหมายฉบับนี้ออกมาในปี พ.ศ.
               2562 ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเห็นว่ากฎหมายนี้ออกมาในช่วงที่ชุมชนเองสามารถบริหารจัดการป่าร่วมกับภาครัฐได้โดย
               ไม่จ าเป็นต้องพึ่งพากฎหมายฉบับนี้ และกฎหมายนี้ยังมีลักษณะไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม

               เท่าที่ควร



                                                           195
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213